วิญญาณนิยม
วิญญาณนิยม หรือ คติการนับถือผี[1] (อังกฤษ: animism จาก ละติน: anima, "ลมหายใจ, ชีวิต")[2][3] คือ ความเชื่อทางศาสนาที่ว่า วัตถุสิ่งของ สถานที่ หรือสัตว์ทั้งหลายต่างมีสารัตถะทางจิตวิญญาณ (spiritual essence) ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตน[4][5][6][7]
ลัทธิวิญญาณนิยมเชื่อว่าสรรพวัตถุและสรรพสัตว์ (ซึ่งรวมถึง ต้นไม้ ก้อนหิน ลำธาร สภาพอากาศ งานหัตถกรรมของมนุษย์ และแม้แต่คำพูด) ล้วนแต่มีวิญญาณ มีชีวิต หรือมีเจตจำนง (agency) เป็นของตัวเอง ลัทธิวิญญาณนิยมเป็นศาสนาที่เก่าแก่ที่สุดในโลก โดยมีอยู่ก่อนศาสนาจัดตั้งทุกรูปแบบ และถือกันว่าเป็นมุมมอง/ทัศนคติทางจิตวิญญาณ หรือของความเชื่อเหนือธรรมชาติอย่างแรกที่เกิดขึ้นในโลก ซึ่งพบหลักฐานเกี่ยวกับความเชื่อนี้ย้อนหลังไปถึงยุคหินเก่า ซึ่งเป็นสมัยมนุษย์ยังท่องเที่ยวไปตามพื้นที่ต่าง ๆ เพื่อล่าสัตว์ หรือเก็บรวบรวมของป่า และสื่อสารกับจิตวิญญาณของธรรมชาติ[8] ในแง่นี้ความเชื่อแบบศาสนาเชมัน (shaman) หรือลัทธิที่นับถือพ่อมดหมอผีว่าเป็นผู้ที่สื่อสารกับธรรมชาติได้ จึงมีความเกี่ยวข้องและเป็นส่วนหนึ่งของระบบความเชื่อแบบวิญญาณนิยม ในวิชามานุษยวิทยาว่าด้วยศาสนาวิญญาณนิยม เป็นคำที่ใช้เพื่อสื่อถึงระบบความเชื่อดั้งเดิมของชาวพื้นเมือง[9] โดยเฉพาะเวลาที่นำไปเปรียบเทียบกับระบบความเชื่อทางจิตวิญญาณ หรือศาสนาจัดตั้งที่เกิดขึ้นภายหลัง[10] เนื่องจากแต่ละวัฒนธรรมจะมีตำนานความเชื่อ นิทานเทพปกรณัม และพิธีกรรมที่แตกต่างกันไป แนวคิด "วิญญาณนิยม" จึงใช้สื่อถึงสายใยความต่อเนื่องในระดับรากฐานของทัศนคติทางจิตวิญญาณ หรือในเรื่องเหนือธรรมชาติของชนพื้นเมือง ที่ไม่ได้รับอิทธิพลจากความคิดความเชื่อ หรือคำสอนของลัทธิที่มาจากภายนอก จนถึงขนาดว่าบางครั้งทัศนคติทางวิญญาณดังกล่าวอาจจะฝังรากลึกลงไปในระบบความเชื่อของชนพื้นเมืองนั้นมาแต่ปฐมกาล จนทำให้ชนพื้นเมืองดังกล่าวไม่มีคำที่ใช้เรียกระบบความเชื่อนั้นในภาษาของตน[11]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. พจนานุกรมศัพท์มานุษยวิทยา ฉบับราชบัณฑิตยสภา. กรุงเทพฯ : สำนักงานราชบัณฑิตยสภา, 2561, หน้า 20.
- ↑ EB (1878).
- ↑ Segal 2004, p. 14 .
- ↑ "Religion and Nature" (PDF).
- ↑ Stringer, Martin D. (1999). "Rethinking Animism: Thoughts from the Infancy of our Discipline". Journal of the Royal Anthropological Institute. 5 (4): 541–56. doi:10.2307/2661147. JSTOR 2661147.
- ↑ Hornborg, Alf (2006). "Animism, fetishism, and objectivism as strategies for knowing (or not knowing) the world". Ethnos: Journal of Anthropology. 71 (1): 21–32. doi:10.1080/00141840600603129.
- ↑ Haught, John F. What Is Religion? An Introduction. Paulist Press. p. 19.
- ↑ "Animism – The World's Oldest Belief System". The Minds Journal Editorial.
- ↑ Hicks, David (2010). Ritual and Belief: Readings in the Anthropology of Religion (3 ed.). Rowman Altamira. p. 359.
Tylor's notion of animism—for him the first religion—included the assumption that early Homo sapiens had invested animals and plants with souls ...
- ↑ "Animism". Contributed by Helen James; coordinated by Dr. Elliott Shaw with assistance from Ian Favell. ELMAR Project (University of Cumbria). 1998–99.
{{cite web}}
: CS1 maint: others (ลิงก์) - ↑ "Native American Religious and Cultural Freedom: An Introductory Essay". The Pluralism Project. President and Fellows of Harvard College and Diana Eck. 2005. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 December 2014. สืบค้นเมื่อ 2018-05-14.
บรรณานุกรม
[แก้]- Abram, David. 2010. Becoming Animal: An Earthly Cosmology (New York: Pantheon Books)
- Badenberg, Robert. 2007. "How about 'Animism'? An Inquiry beyond Label and Legacy." In Mission als Kommunikation: Festschrift für Ursula Wiesemann zu ihrem 75, Geburtstag, edited by K. W. Müller. Nürnberg: VTR (ISBN 978-3-937965-75-8) and Bonn: VKW (ISBN 978-3-938116-33-3).
- Hallowell, Alfred Irving. 1960. "Ojibwa ontology, behavior, and world view." In Culture in History, edited by S. Diamond. (New York: Columbia University Press).
- Reprint: 2002. Pp. 17–49 in Readings in Indigenous Religions, edited by G. Harvey. London: Continuum.
- Harvey, Graham. 2005. Animism: Respecting the Living World. London: Hurst & Co.
- Ingold, Tim. 2006. "Rethinking the animate, re-animating thought." Ethnos 71(1):9–20.
- Käser, Lothar. 2004. Animismus. Eine Einführung in die begrifflichen Grundlagen des Welt- und Menschenbildes traditionaler (ethnischer) Gesellschaften für Entwicklungshelfer und kirchliche Mitarbeiter in Übersee. Bad Liebenzell: Liebenzeller Mission. ISBN 3-921113-61-X.
- mit dem verkürzten Untertitel Einführung in seine begrifflichen Grundlagen auch bei: Erlanger Verlag für Mission und Okumene, Neuendettelsau 2004, ISBN 3-87214-609-2
- Quinn, Daniel. [1996] 1997. The Story of B: An Adventure of the Mind and Spirit. New York: Bantam Books.
- Thomas, Northcote Whitridge (1911). . ใน Chisholm, Hugh (บ.ก.). สารานุกรมบริตานิกา ค.ศ. 1911. Vol. 2 (11 ed.). สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์. pp. 53–55.
- Wundt, Wilhelm. 1906. Mythus und Religion, Teil II. Leipzig 1906 (Völkerpsychologie II)