ฟีเซอเลอร์ ฟี 103
ฟีเซอเลอร์ ฟี 103 Fieseler Fi 103 | |
---|---|
ฟีเซอเลอร์ ฟี 103 ในพิพิธภัณฑ์ที่เมืองเพเนอมึนเดอ | |
ชนิด | อาวุธปล่อยครูซ |
แหล่งกำเนิด | ไรช์เยอรมัน |
บทบาท | |
ประจำการ | 1944–1945 |
ผู้ใช้งาน | กองทัพอากาศเยอรมัน |
สงคราม | สงครามโลกครั้งที่สอง |
ประวัติการผลิต | |
ผู้ออกแบบ | Robert Lusser |
บริษัทผู้ผลิต | ฟีเซอเลอร์ |
มูลค่าต่อหน่วย | 5,090 ไรชส์มาร์ค[1] |
ข้อมูลจำเพาะ | |
มวล | 2,150 kg (4,740 lb) |
ความยาว | 8.32 m (27.3 ft) |
ความกว้าง | 5.37 m (17.6 ft) |
ความสูง | 1.42 m (4 ft 8 in) |
หัวรบ | Amatol-39, later Trialen |
น้ำหนักหัวรบ | 850 kg (1,870 lb) |
เครื่องยนต์ | Argus As 109-014 Pulsejet |
พิสัยปฏิบัติการ | 250 km (160 mi)[2] |
ความเร็วสูงสุด | 640 km/h (400 mph) บินระหว่าง 600 ถึง 900 m (2,000 ถึง 3,000 ft) |
ระบบนำวิถี | Gyrocompass based autopilot |
อาวุธแก้แค้น 1 (เยอรมัน: Vergeltungswaffe 1) หรือชื่อตามเอกสารของกระทรวงเดินอากาศคือ ฟีเซอเลอร์ ฟี 103 (Fieseler Fi 103)[3] หรือชื่อที่สัมพันธมิตรใช้เรียกคือ ระเบิดบิน วี-1 (flying bomb V-1) คือมิสไซล์ในสมัยบุกเบิก สร้างโดยบริษัทฟีเซอเลอร์ของนาซีเยอรมนี และใช้งานในสงครามโลกครั้งที่สอง
ฟีเซอเลอร์ ฟี 103 เป็นมิสไซล์รุ่นที่ 1 ในตระกูล "อาวุธแก้แค้น" (Vergeltungswaffe) ซึ่งถูกออกแบบเพื่อการทิ้งใส่กรุงลอนดอน มันถูกพัฒนาขึ้นที่ศูนย์วิจัยทหารบกเพเนอมึนเดอ ในปี 1939 โดยลุฟท์วัฟเฟอ ในช่วงต้นสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งในช่วงต้นของการพัฒนา มันมีชื่อรหัสโครงการว่า เคียร์ชแคร์น (Kirschkern)
เนื่องจากมีพิสัยจำกัดเพียง 250 กิโลเมตร วีหนึ่งจึงถูกยิงเข้าสู่อังกฤษจากฐานยิงบนแนวชายฝั่งฝรั่งเศส (บริเวณจังหวัดปาดกาแล) และชายฝั่งเนเธอร์แลนด์ มันถูกยิงเข้าสู่ลอนดอนเป็นครั้งแรกเมื่อ 13 มิถุนายน 1944 หนึ่งสัปดาห์หลังทหารสัมพันธมิตรสามารถการยกพลขึ้นบกที่นอร์ม็องดี ทั้งนี้ในบางสัปดาห์มีการยิงจรวดวี-1 กว่าหนึ่งร้อยลูกต่อวันไปยังทางตะวันออกเฉียงใต้ของอังกฤษ (รวมจำนวนทั้งหมด 9,521 ลูก)
หลังการยกพลขึ้นบกที่นอร์ม็องดี การยิงจรวดวีหนึ่งโดยทหารเยอรมันก็ลดลงตามลำดับ เนื่องจากฐานยิงทยอยถูกทหารสัมพันธมิตรบุกยึด และแล้วในเดือนตุลาคม 1944 ฐานยิงแห่งสุดท้ายที่สามารถยิงถึงอังกฤษก็ถูกบุกยึดโดยทหารสัมพันธมิตร หลังจากนั้น วีหนึ่งถูกทหารเยอรมันนำไปใช้ป้องกันท่าเรือแอนต์เวิร์ป และเป้าหมายอื่นๆในเบลเยียม เป็นจำนวน 2,448 ลูก การโจมตีด้วยวีหนึ่งหยุดลงเพียงหนึ่งเดือนก่อนที่สงครามในยุโรปจะสิ้นสุดลง เมื่อฐานยิงแห่งสุดท้ายในกลุ่มประเทศแผ่นดินต่ำได้ถูกบุกยึด เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 1945
ฝ่ายอังกฤษได้ปฏิบัติการเตรียมความพร้อมในการป้องกันทางอากาศ รวมทั้งปืนต่อต้านอากาศยาน และเครื่องบินรบขับไล่ เพื่อสกัดกั้นระเบิดก่อนที่จะไปถึงเป้าหมายซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของปฏิบัติการหน้าไม้ ในขณะที่ฐานยิงและโรงคลังเก็บจรวดวี-1 ในใต้ดินได้ตกเป็นเป้าหมายของการทิ้งระเบิดทางยุทธศาสตร์
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Zaloga 2005, p. 11.
- ↑ Werrell 1985, p. 53.
- ↑ Christopher 2013, p. 108.