ข้ามไปเนื้อหา

มาตราประเมินความซึมเศร้า

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ระยะครึ่งชีวิต)

มาตราประเมินความซึมเศร้า (อังกฤษ: depression rating scale) เป็นวิธีวัดทางจิตเวชที่ใช้คำและวลีเพื่อบ่งความรุนแรงของอารมณ์ซึมเศร้าในช่วงระยะเวลาหนึ่ง[1] เมื่อใช้ คนสังเกตการณ์อาจจะตัดสินให้คะแนนบุคคลในแต่ละลักษณะ ๆ ที่กำหนด โดยไม่ได้ใช้เป็นวิธีวินิจฉัยความซึมเศร้า มาตราอาจจะใช้เพื่อกำหนดระดับพฤติกรรมของบุคคล และระดับที่ว่านั้นสามารถกำหนดว่า บุคคลควรจะรับการตรวจสอบต่อไปว่ามีโรคซึมเศร้าหรือไม่[1] มีมาตราหลายอย่างที่ใช้เพื่อการนี้[1]

มาตราที่ทำโดยนักวิจัย

[แก้]

มาตราวัดความซึมเศร้าบางอย่างทำโดยนักวิจัย ยกตัวอย่างเช่น Hamilton Depression Rating Scale มีคำถาม 21 คำถามโดยแต่ละถามสามารถมีคำตอบที่เป็นไปได้ 3-5 อย่างตามลำดับความรุนแรง ผู้ตรวจสอบต้องเลือกคำตอบต่อคำถามแต่ละคำถามโดยสัมภาษณ์คนไข้และโดยสังเกตอาการ จิตแพทย์ชาวอังกฤษ ศ. นพ. แม็กซ์ แฮมิลตัน ออกแบบชุดคำถามนี้ในปี พ.ศ. 2503 โดยเป็นแบบวัดความซึมเศร้าอย่างหนึ่งในบรรดาสองอย่างที่ใช้มากที่สุดโดยนักวิจัยเพื่อประเมินผลการรักษาด้วยยา[2][3] อีกอย่างที่ใช้มากก็คือ Montgomery-Åsberg Depression Rating Scale ซึ่งเป็นรายการคำถาม 10 คำถามที่ทำโดยนักวิจัยเพื่อประเมินผลการรักษาด้วยยา[2][4] มาตราอื่นรวมทั้ง Raskin Depression Rating Scale ซึ่งวัดความรุนแรงของอาการคนไข้ในเรื่อง 3 เรื่อง คือ รายงานปาก พฤติกรรม และอาการทุติยภูมิของความซึมเศร้า[5]

มาตราที่ทำโดยคนไข้

[แก้]

คำถาม 2 อย่างใน Patient Health Questionnaire-2 (PHQ-2)[6]


(1) During the past month, have you often been bothered by feeling down, depressed, or hopeless?


(1) ในเดือนที่ผ่านมา บ่อยครั้งมีอาการไม่สบายใจ ซึมเศร้า หรือสิ้นหวังหรือไม่


(2) During the past month, have you often been bothered by little interest or pleasure in doing things?


(2) ในเดือนที่ผ่านมา บ่อยครั้งมีอาการเบื่อ ทำอะไร ๆ ก็ไม่เพลิดเพลินหรือไม่

มาตราวัดความซึมเศร้าบางอย่างทำโดยคนไข้ ยกตัวอย่างเช่น Beck Depression Inventory เป็นชุดคำถามที่คนไข้แจ้งเอง (self-report) ที่ถามถึงอาการเช่น ฉุนเฉียวง่าย อ่อนล้า น้ำหนักลด ไม่สนใจทางเพศ รู้สึกผิด สิ้นหวัง หรือกลัวถูกลงโทษ[7] เป็นมาตราวัดที่ทำโดยคนไข้เพื่อกำหนดการมีและความรุนแรงของอาการที่เข้ากับเกณฑ์วินิจฉัยโรคซึมเศร้าของคู่มือการวินิจฉัยและสถิติสำหรับความผิดปกติทางจิต (DSM-IV)[8] จิตแพทย์ชาวอเมริกัน ศ. นพ. อารอน ที. เบ็ก ออกแบบชุดคำถามนี้ในปี 2504[7]

มาตรา Geriatric Depression Scale (GDS) เป็นเครื่องวัดที่ทำโดยคนไข้อีกอย่างหนึ่ง แต่ในกรณีนี้ใช้กับคนสูงอายุ และสำหรับผู้ที่มีภาวะสมองเสื่อมระดับอ่อนจนถึงปานกลาง แต่แทนคำตอบที่เลือกได้ 5 อย่าง GDS มีเพียงคำตอบว่า ใช่ หรือไม่ใช่ เท่านั้น[9][10]

ส่วนมาตรา Zung Self-Rating Depression Scale คล้ายกับ GDS ตรงที่ว่า มีชุดคำตอบเหมือนกันทุกข้อ มาตรานี้ มีคำถาม 20 คำถาม 10 คำถามใช้คำเชิงบวก และ 10 คำถามเป็นคำเชิงลบ แต่ละคำถามมีคะแนน 1-4 ขึ้นอยู่กับคำตอบ 4 คำตอบคือ "a little of the time (น้อยครั้ง)", "some of the time (บางครั้ง)", "good part of the time (มากครั้ง)", and "most of the time (โดยมาก)"[11]

เซตคำถาม Patient Health Questionnaire เป็นมาตราวัดความซึมเศร้าที่แจ้งเอง ยกตัวอย่างเช่น Patient Health Questionnaire-9 (PHQ-9) เป็นรูปแบบย่อยหนึ่งของ Primary Care Evaluation of Mental Disorders (PRIME-MD) ที่มีคำถาม 9 คำถามโดยคนไข้แจ้งเอง[12] ส่วน Patient Health Questionnaire-2 (PHQ-2) เป็น PHQ-9 แบบย่อโดยมีเพียงแค่ 2 คำถามเพื่อใช้คัดกรองว่า คนไข้มีอารมณ์ซึมเศร้าและการสูญความสนใจหรือความสุขในกิจกรรมปกติหรือไม่ คำตอบว่ามีสำหรับคำถามใดคำถามหนึ่งล้วนชี้ว่าต้องตรวจสอบเพิ่มขึ้น[6]

แนวทางการจัดการโรคซึมเศร้าสำหรับแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไปในสถานบริการระดับปฐมภูมิและทุติยภูมิ (CPG-MDD-GP) ปี 2553 แสดงว่ากรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข ได้ใช้คำถามแบบ 2Q เพื่อคัดกรองโรคซึมเศร้า และคำถามแบบ 9Q เพื่อประเมินโรคซึมเศร้า โดยที่คำตอบว่า "มี" ในข้อใดข้อหนึ่งใน 2Q และคะแนน 7 ขึ้นใน 9Q จะมีผลเป็นการพิจารณาของแพทย์เพื่อการวินิจฉัย[13]

มาตราที่ทำโดยทั้งคนไข้และนักวิจัย

[แก้]

Primary Care Evaluation of Mental Disorders (PRIME-MD) เป็นมาตราที่ทำโดยทั้งคนไข้และนักวิจัย โดยมีคำถามตรวจคัดโรค 27 คำถามตามด้วยการสัมภาษณ์ของผู้รักษา และออกแบบเพื่ออำนวยการวินิจฉัยความผิดปกติทางจิตที่สามัญในสถานพยาบาลขั้นปฐมภูมิ แต่ว่า มาตราใช้เวลามากทำให้ได้ประโยชน์น้อย แล้วต่อมาจึงใช้ Patient Health Questionnaire แทน[12]

ประโยชน์

[แก้]

มีการเสนอให้ตรวจคัดโรคซึมเศร้าโดยใช้มาตราวัดต่าง ๆ เพื่อสืบหาคนที่จำเป็นต้องตรวจสอบมากขึ้นเพื่อเพิ่มการตรวจจับความซึมเศร้า แต่ว่ามีหลักฐานที่แสดงว่าไม่ได้ช่วยเพิ่มอัตราการตรวจจับ ปรับปรุงการรักษาหรือผลที่ได้[14] และก็มีหลักฐานด้วยว่า ไม่มีมติเกี่ยวกับการตีความคะแนนที่ได้ โดยเฉพาะจาก Hamilton Rating Scale for Depression ซึ่งอาจทำให้วินิจฉัยความรุนแรงของโรคอย่างผิด ๆ[15] แต่ว่า มีหลักฐานที่แสดงว่า บางส่วนของมาตราวัด เช่น ส่วนที่วัดอาการทางกายของ PHQ-9 อาจจะมีประโยชน์ในการพยากรณ์ผลที่ได้จากคนไข้กลุ่มย่อย เช่น คนไข้ที่มีโรคหัวใจขาดเลือด (coronary heart disease)[16]

ลิขสิทธิ์หรือสาธารณสมบัติ

[แก้]

Beck Depression Inventory (BDI) เป็นมาตราที่มีลิขสิทธิ์ ดังนั้น แต่ละก๊อปปี้ที่ใช้จะต้องจ่ายค่าลิขสิทธิ์ และการถ่ายเอกสารเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ แต่ก็ไม่มีหลักฐานว่า BDI-II สมเหตุผลหรือเชื่อถือได้กว่ามาตราวัดอื่น ๆ[17] และมาตราที่เป็นสาธารณสมบัติ เช่น Patient Health Questionnaire คือ PHQ-9 ที่มีคำถาม 9 คำถาม ก็มีหลักฐานว่าเป็นวิธีวัดที่มีประโยชน์[18] มาตราสาธารณสมบัติอื่น ๆ รวมทั้ง Clinically Useful Depression Outcome Scale (CUDOS)[19][20] และ Quick Inventory of Depressive Symptoms - Self Report 16 Item (QIDS-SR16)[21][22]

แบบวัดภาษาไทย

[แก้]
  • Hamilton Rating Scale for Depression-Thai (HAM-D-T), Khon Kaen University Depression Inventory (KKU-DI), Montgomery-Åsberg Depression Rating Scale (MADRS) "แบบประเมินอาการซึมเศร้าชนิด Hamilton Rating Scale for Depression-Thai, แบบคัดกรองภาวะซึมเศร้าชื่อ KKU-DI, MADRS ฉบับภาษาไทย". มหาวิทยาลัยขอนแก่น. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 September 2016. สืบค้นเมื่อ 1 September 2016. {{cite web}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |deadurl= ถูกละเว้น แนะนำ (|url-status=) (help)
  • Patient Health Questionnaire-2 (PHQ-2), Patient Health Questionnaire-9 (PHQ-9) "แบบคัดกรองโรคซึมเศร้า 2 คำถาม (2Q), แบบประเมินโรคซึมเศร้า 9 คำถาม (9Q)" (PDF). กรมสุขภาพจิต. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 1 September 2016. สืบค้นเมื่อ 1 September 2016.
  • "แบบสอบถามสุขภาพผูปวย PHQ-9" (PDF). มหาวิทยาลัยมหิดล. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 1 September 2016. สืบค้นเมื่อ 1 September 2016.

เชิงอรรถและอ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 Sharp, LK; Lipsky, MS (September 2002). "Screening for depression across the lifespan: a review of measures for use in primary care settings". American Family Physician. 66 (6): 1001–8. PMID 12358212.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  2. 2.0 2.1 Demyttenaere, K; De Fruyt, J (2003). "Getting what you ask for: on the selectivity of depression rating scales". Psychotherapy and psychosomatics. 72 (2): 61–70. doi:10.1159/000068690. PMID 12601223.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  3. Hamilton, M (1960). "A RATING SCALE FOR DEPRESSION". Journal of Neurology, Neurosurgery and Psychiatry. 23 (1): 56–62. doi:10.1136/jnnp.23.1.56. PMC 495331. PMID 14399272.
  4. Montgomery, SA; Asberg, M (April 1979). "A new depression scale designed to be sensitive to change". British Journal of Psychiatry. 134 (4): 382–9. doi:10.1192/bjp.134.4.382. PMID 444788.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  5. Raskin, A; Schulterbrandt, J; Reatig, N; McKeon, JJ (January 1969). "Replication of factors of psychopathology in interview, ward behavior and self-report ratings of hospitalized depressives". J. Nerv. Ment. Dis. 148 (1): 87–98. doi:10.1097/00005053-196901000-00010. PMID 5768895.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  6. 6.0 6.1 Whooley, MA; Avins, AL; Miranda, J; Browner, WS (July 1997). "Case-Finding Instruments for Depression: Two Questions Are as Good as Many". J Gen Intern Med. 12 (7): 439–45. doi:10.1046/j.1525-1497.1997.00076.x. PMC 1497134. PMID 9229283.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  7. 7.0 7.1 Beck, AT (1972). Depression: Causes and treatment. Philadelphia: University of Pennsylvania Press. p. 333. ISBN 0-8122-1032-8.
  8. "Beck Depression Inventory — 2nd Edition". Nova Southeastern University Center for Center for Psychological Studies. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 October 2008. สืบค้นเมื่อ 17 October 2008.
  9. Yesavage, JA (1988). "Geriatric Depression Scale". Psychopharmacology Bulletin. 24 (4): 709–11. PMID 3249773.
  10. Katz, IR (1998). "Diagnosis and treatment of depression in patients with Alzheimer's disease and other dementias". The Journal of Clinical Psychiatry. 59 Suppl 9: 38–44. PMID 9720486.
  11. Zung, WW (January 1965). "A self-rating depression scale". Arch. Gen. Psychiatry. 12: 63–70. doi:10.1001/archpsyc.1965.01720310065008. PMID 14221692.
  12. 12.0 12.1 Spitzer, RL; Kroenke, K; Williams, JB (November 1999). "Validation and utility of a self-report version of PRIME-MD: The PHQ primary care study. Primary care evaluation of mental disorders. Patient Health Questionnaire". Journal of the American Medical Association. 282 (18): 1737–44. doi:10.1001/jama.282.18.1737. PMID 10568646.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  13. แนวทางการจัดการโรคซึมเศร้าสำหรับแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป (CPG-MDD-GP), "ALGORITHM 1 ASSESSMENT OF MAJOR DEPRESSIVE DISORDER", หน้า 15
  14. Gilbody, S; House, AO; Sheldon, TA (2005). Gilbody, Simon (บ.ก.). "Screening and case finding instruments for depression". Cochrane Database of Systematic Reviews (4): CD002792. doi:10.1002/14651858.CD002792.pub2. PMID 16235301.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  15. Kriston, L.; Von Wolff, A. (2011). "Not as golden as standards should be: Interpretation of the Hamilton Rating Scale for Depression". Journal of Affective Disorders. 128 (1–2): 175–177. doi:10.1016/j.jad.2010.07.011. PMID 20696481.
  16. De Jonge, P.; Mangano, D.; Whooley, M. A. (2007). "Differential Association of Cognitive and Somatic Depressive Symptoms with Heart Rate Variability in Patients with Stable Coronary Heart Disease: Findings from the Heart and Soul Study". Psychosomatic Medicine. 69 (8): 735–739. doi:10.1097/PSY.0b013e31815743ca. PMC 2776660. PMID 17942844.
  17. Zimmerman, M (2011). Using scales to monitor symptoms and treatment of depression (measurement-based care). UpToDate. Waltham, MA: UpToDate. {{cite book}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |editors= ถูกละเว้น แนะนำ (|editor=) (help)CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  18. Kroenke, K; Spitzer, RL; Williams, JB (September 2001). "The PHQ-9: validity of a brief depression severity measure". J Gen Intern Med. 16 (9): 606–13. doi:10.1046/j.1525-1497.2001.016009606.x. PMC 1495268. PMID 11556941.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  19. Zimmerman, M; Chelminski, I; McGlinchey, JB; Posternak, MA (2008). "A clinically useful depression outcome scale". Compr Psychiatry. 49 (2): 131–40. doi:10.1016/j.comppsych.2007.10.006. PMID 18243884.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  20. "Clinically Useful Depression Outcome Scale (CUDOS) official website". OutcomeTracker. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 September 2016. สืบค้นเมื่อ 1 September 2016.
  21. Bernstein, IH; Wendt, B; Nasr, SJ; Rush, AJ (March 2009). "Screening for major depression in private practice". J Psychiatr Pract. 15 (2): 87–94. doi:10.1097/01.pra.0000348361.03925.b3. PMC 2756171. PMID 19339842.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  22. "Inventory of Depressive Symptomatology (IDS) and Quick Inventory of Depressive Symptomatology (QIDS)". (official website)

อ้างอิงอื่น ๆ

[แก้]