สารโปรคิเนติก
สารโปรคิเนติก (อังกฤษ: prokinetic agent, gastroprokinetic agent, gastrokinetic agent) เป็นยาที่เพิ่มการบีบตัว (motility) ของทางเดินอาหารโดยเพิ่มความถี่ของการหดเกร็งหรือเพิ่มแรงบีบของกล้ามเนื้อเรียบในลำไส้เล็ก โดยไม่เปลี่ยนจังหวะการบีบตัว เป็นยาที่ใช้บรรเทาอาการต่าง ๆ ในทางเดินอาหาร เช่น ปวดท้อง ท้องพอง (bloating) ท้องผูก แสบร้อนกลางหน้าอก คลื่นไส้ และอาเจียน และใช้รักษาโรคทางเดินอาหารหลายอย่าง รวมทั้งกลุ่มอาการลำไส้ไวเกินต่อการกระตุ้น (IBS) กระเพาะอาหารอักเสบ[1] อัมพฤกษ์กระเพาะอาหาร (gastroparesis) และอาหารไม่ย่อยตามหน้าที่ (functional dyspepsia)
ในระบบจำแนกประเภทยาตามการรักษาทางกายวิภาคศาสตร์ ยาเหล่านี้โดยมากอยู่ในกลุ่ม ATC code A03F
Pharmacodynamics
[แก้]การก่อกัมมันต์ต่อหน่วยรับเซโรโทนิน (serotonin receptor) ไม่ว่าจะด้วยเซโรโทนินเอง หรือด้วยยาโปรคิเนติกบางชนิด จะมีผลเพิ่มการบีบตัว/การเคลื่อนไหวเอง (motility) ของทางเดินอาหาร[2]
ส่วนยาโปรคิเนเติกอย่างอื่นอาจกระตุ้นหน่วยรับ M1 ซึ่งทำให้เกิดการหลั่งสารสื่อประสาท acetylcholine หรือยับยั้งเอนไซม์ acetylcholinesterase ซึ่งเร่งการสลาย acetylcholine ดังนั้น จึงเพิ่มความเข้มข้นของ acetylcholine ซึ่งก็จะเพิ่มการบีบรูด (peristalsis) ของทางเดินอาหารและเพิ่มแรงดันที่หูรูดหลอดอาหารส่วนล่าง (LES) แล้วกระตุ้นการบีบตัวของทางเดินอาหาร ทำให้กระเพาะว่างเร็วขึ้น และปรับปรุงการประสานงานระหว่างกระเพาะอาหารกับลำไส้เล็กส่วนต้น[ต้องการอ้างอิง]
หน่วยรับ 5-HT4 (5-HT4 receptor) คือหน่วยรับเซโรโทนิน เชื่อว่ามีบทบาทสำคัญต่อการบีบตัวของทางเดินอาหารในทั้งทางด้านสรีรวิทยาและพยาธิสรีรวิทยา[3] ดังนั้น หน่วยรับ 5-HT4 จึงเป็นเป้าหมายการรักษาโรคที่เกี่ยวกับการบีบตัวผิดปกติของทางเดินอาหาร เช่น ท้องผูกเรื้อรัง
ยาโปรคิเนติกบางอย่าง เช่น mosapride, cisapride, และ benzamides มีสัมพรรคภาพ (affinity) กับหน่วยรับ 5-HT4 ในระดับปานกลางเท่านั้น และในปัจจุบัน มันชัดเจนแล้วว่า ลักษณะการเลือกสรรออกฤทธิ์โดยเฉพาะ ๆ เป็นตัวกำหนดสำคัญในเรื่องความเสี่ยงเทียบกับประโยชน์ของยากลุ่มนี้ ยกตัวอย่างเช่น การออกฤทธิ์ของ cisapride อย่างไม่เลือกสรรต่อหน่วยรับอื่น ๆ (โดยเฉพาะ hERG channels ) ทำให้มันมีโอกาสก่อภาวะหัวใจเสียจังหวะ ส่วนยา prucalopride ซึ่งเป็นยาที่สร้างขึ้นมาตัวแรกในกลุ่ม benzofuran มีสัมพรรคภาพสูงที่ทำการอย่างเฉพาะเจาะจงกับหน่วยรับ 5-HT4 ซึ่งกระตุ้นการเคลื่อนไหวของลำไส้ และให้แรงดันในการขับถ่าย[4][5]
ยากลุ่ม SSRI ซึ่งปกติใช้รักษาโรคซึมเศร้า ก็พบว่ามีฤทธิ์เพิ่มการบีบตัวของลำไส้เล็กด้วยเหมือนกัน[6] โมเลกุลแบบอื่น ๆ รวมทั้งสารกลุ่ม macrolides เช่น mitemcinal และอิริโทรมัยซินเป็นตัวทำการ (agonist) ต่อ motilin receptor จึงมีผลให้ทางเดินอาหารบีบตัว[7][8][9]
งานวิจัย
[แก้]งานวิจัยในสัตว์ได้พบว่า การให้สารเสริมชีวนะ (probiotic) คือ Lactobacillus rhamnosus และ Bifidobacterium lactis จะเพิ่มความเร็วและกำลังของ migrating motor complex ระยะ III ในลำไส้เล็ก ซึ่งมีผลลดการมีแบคทีเรียมากเกินและลดการย้ายที่ของแบคทีเรีย[10]
งานวิจัยในหนูได้พบว่าการให้อาหารเสริมเป็น Lactobacillus rhamnosus และ Bifidobacterium lactis จะเพิ่มการบีบตัวของลำไส้เล็ก ซึ่งลดระยะเวลาของรอบ migrating motor complex อย่างวัดได้ ส่วนอีกงานหนึ่งพบว่า หนูที่ได้อาหารเสริมเช่นเดียวกัน จะเพิ่มจำนวนและความเร็วของ migrating motor complex ในระยะ III ซึ่งทำให้ลำไส้เล็กมีประสิทธิภาพมากขึ้นในการไล่อาหาร แบคทีเรีย และสารคัดหลั่งเข้าไปในลำไส้ใหญ่[10] อีกงานหนึ่งพบว่า อาหารเสริมเช่นเดียวกับเร่งการขับอาหารในลำไส้เล็กของหนู[11]
ยังมีงานวิจัยผลของสารเสริมชีวนะต่อการบีบตัวของทางเดินอาหารในมนุษย์อีกด้วย คือพบว่า Lactobacillus reuteri ในทารก และ Lactobacillus casei และ Bifidobacterium breve ในเด็ก มีประสิทธิผลในการรักษาท้องผูก ส่วน Lactobacillus plantarum ในผู้ใหญ่พบว่าเพิ่มความถี่การถ่ายอุจจาระ[12]
ตัวอย่าง
[แก้]- Benzamide
- Cisapride
- Domperidone
- อิริโทรมัยซิน
- Itopride
- Mosapride[13]
- Metoclopramide
- Prucalopride[13]
- Renzapride
- Tegaserod
- Mitemcinal
- Levosulpiride
- Cinitapride
- Linaclotide
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Acid Reflux Symptoms". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 June 2011. สืบค้นเมื่อ 23 June 2011.
- ↑ Dickson, EJ.; Heredia, DJ.; Smith, TK. (July 2010). "Critical role of 5-HT1A, 5-HT3, and 5-HT7 receptor subtypes in the initiation, generation, and propagation of the murine colonic migrating motor complex". Am J Physiol Gastrointest Liver Physiol. 299 (1): G144-57. doi:10.1152/ajpgi.00496.2009. PMC 2904117. PMID 20413719. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-07-06. สืบค้นเมื่อ 2018-09-14.
- ↑ Gershon, MD; Tack, J (2007). "The serotonin signaling system: from basic understanding to drug development for functional GI disorders". Gastroenterology. 132 (1): 397–414. doi:10.1053/j.gastro.2006.11.002. PMID 17241888.
- ↑
Shire Pharmaceuticals Limited (27 May 2015). "Resolor 1mg film-coated tablets". eMC. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 September 2018. สืบค้นเมื่อ 14 September 2018.
{{cite web}}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์) - ↑
Bouras, EP; Camilleri, M; Burton, DD; McKinzie, S (May 1999). "Selective stimulation of colonic transit by the benzofuran 5HT4 agonist, prucalopride, in healthy humans". Gut. 44 (5): 682–686.
{{cite journal}}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์) - ↑ "5-Hydroxytryptamine and human small intestinal motility: effect of inhibiting 5-hydroxytryptamine reuptake". April 1994. PMID 8174987.
{{cite journal}}
: Cite journal ต้องการ|journal=
(help) - ↑
"Motilides: a long and winding road: lessons from mitemcinal (GM-611) on diabetic gastroparesis". 2009. PMID 19345243.
{{cite journal}}
: Cite journal ต้องการ|journal=
(help) - ↑
"Erythromycin as a prokinetic agent: risk factors". 2010. PMID 20655290.
{{cite journal}}
: Cite journal ต้องการ|journal=
(help) - ↑
"Motilin and motilin receptors: characterization and functional significance". 2001. PMID 11813507.
{{cite journal}}
: Cite journal ต้องการ|journal=
(help) - ↑ 10.0 10.1 Lesniewska, V.; Rowland, I.; Laerke, HN.; Grant, G.; Naughton, PJ. (January 2006). "Relationship between dietary-induced changes in intestinal commensal microflora and duodenojejunal myoelectric activity monitored by radiotelemetry in the rat in vivo". Exp Physiol. 91 (1): 229–37. doi:10.1113/expphysiol.2005.031708. PMID 16263800.
- ↑ Husebye, E.; Hellström, PM.; Sundler, F.; Chen, J.; Midtvedt, T. (March 2001). "Influence of microbial species on small intestinal myoelectric activity and transit in germ-free rats". Am J Physiol Gastrointest Liver Physiol. 280 (3): G368-80. PMID 11171619.
- ↑ Wu, RY.; Pasyk, N.; Wang, B.; Forsythe, F.; Bienenstock, J.; Mao, YK.; Sharma, F.; Stanisz, AN.; Kunze, WA. (March 2013). "Spatiotemporal maps reveal regional differences in the effects on gut motility for Lactobacillus reuteri and rhamnosus strains". Neurogastroenterol Motil. 25 (3): e205-14. doi:10.1111/nmo.12072. PMID 23316914.
- ↑ 13.0 13.1 Mozaffari, S.; Nikfar, S.; Abdollahi, M. (April 2013). "Metabolic and toxicological considerations for the latest drugs used to treat irritable bowel syndrome". Expert Opin Drug Metab Toxicol. 9 (4): 403–21. doi:10.1517/17425255.2013.759558. PMID 23330973.