ข้ามไปเนื้อหา

มิเกล เด เซร์บันเตส

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก มิเกล เด เทรบานเตส)
มิเกล เด เซร์บันเตส
ภาพเหมือนบุคคลนี้ เชื่อว่าเป็นของ Juan de Jáuregui,[a] ไม่ผ่านการรับรองความถูกต้อง ไม่มีรูปภาพของเซร์บันเตสภาพใดที่ได้รับการรับรองความถูกต้อง[1][2]
ภาพเหมือนบุคคลนี้ เชื่อว่าเป็นของ Juan de Jáuregui,[a] ไม่ผ่านการรับรองความถูกต้อง ไม่มีรูปภาพของเซร์บันเตสภาพใดที่ได้รับการรับรองความถูกต้อง[1][2]
เกิด29 กันยายน ค.ศ. 1547 (สันนิษฐาน)
อัลกาลาเดเอนาเรส ราชบัลลังก์กัสติยา
เสียชีวิต22 เมษายน ค.ศ. 1616(1616-04-22) (68 ปี)[3]
มาดริด ราชบัลลังก์กัสติยา
ที่ฝังศพConvent of the Barefoot Trinitarians, มาดริด
อาชีพทหาร, ผู้เก็บภาษี, นักการบัญชี, ตัวแทนจัดซื้อกองทัพเรือ
(การแต่งเรื่องเขียนเป็นอาชีพที่ผลิตรายได้ไม่มากพอ)
ภาษาสเปน
ผลงานที่สำคัญดอนกิโฆเต้ แห่งลามันช่า ขุนนางต่ำศักดิ์นักฝัน
Entremeses
Novelas ejemplares
คู่สมรสกาตาลินา เด ซาลาซาร์ อี ปาลาซิโอส
บุตรIsabel ป. 1584 (นอกสมรส) [4]

ลายมือชื่อ

มิเกล เด เซร์บันเตส ซาอาเบดรา (สเปน: Miguel de Cervantes Saavedra; 29 กันยายน ค.ศ. 1547 (สันนิษฐาน) - 23 เมษายน ค.ศ. 1616 ตามการนับแบบใหม่)[5] เป็นนักเขียนชาวสเปน มีผลงานที่เป็นที่รู้จักกันดีคือ ดอนกิโฆเต้ แห่งลามันช่า ขุนนางต่ำศักดิ์นักฝัน

ประวัติ

[แก้]

มิเกล เด เซร์บันเตสเกิดในตระกูลชนชั้นกลางในปี ค.ศ. 1547 ที่เมืองอัลกาลาเดเอนาเรส ประเทศสเปน (ในขณะปกครองโดยราชบัลลังก์กัสติยา) และไม่เคยเรียนระดับมหาวิทยาลัย ใน ค.ศ. 1569 เขาได้ย้ายไปประเทศอิตาลี ซึ่งบทกลอนของเขาได้รับการตีพิมพ์ที่นั่น เขาเข้าร่วมกับกองทหารสเปนที่อิตาลีและได้รับบาดเจ็บในการรบที่เลปันโต ใน ค.ศ. 1571 ทำให้มือซ้ายของเขาพิการ จากนั้นมา เขาก็ได้รับการเรียกขานว่า มือเดียวแห่งเลปันโต (el manco de Lepanto)

ใน ค.ศ. 1575 ระหว่างเดินทางกลับสเปนจากเนเธอร์แลนด์ เขาถูกจับโดยกองโจรสลัดบาร์บารีซึ่งมีฐานอยู่ที่กรุงแอลเจียร์ เมืองหลวงของประเทศแอลจีเรีย เขาถูกขังอยู่ที่นั่นจนกระทั่งกองโจรได้รับค่าไถ่และปล่อยเขาเป็นอิสระในปี ค.ศ. 1580

พอเดินทางกลับมาสเปน เขาก็ได้แต่งงานกับกาตาลินา เด ซาลาซาร์ อี ปาลาซิโอส ใน ค.ศ. 1584 และตีพิมพ์ La Galatea ในอีกหนึ่งปีให้หลัง เขาได้ทำงานเป็น supplier และคนเก็บภาษีอยู่ระยะเวลาหนึ่ง

เซร์บันเตสเริ่มเขียน ดอนกิโฆเต้ แห่งลามันช่า ขุนนางต่ำศักดิ์นักฝัน ใน ค.ศ. 1597 ขณะที่ถูกขังที่เมืองเซบิยาเนื่องจากปัญหาหนี้สิน และตีพิมพ์ส่วนแรกของเรื่องเมื่อ ค.ศ. 1605 ด้วยชื่อทางการว่า สุภาพบุรุษเจ้าปัญญา ดอนกิโฆเต้ แห่งลามันช่า (El ingenioso hidalgo don Quixote de la Mancha) ส่วนส่วนที่สองออกมาใน ค.ศ. 1615 ระหว่างส่วนแรกกับส่วนที่สองของ ดอนกิโฆเต้ แห่งลามันช่า ขุนนางต่ำศักดิ์นักฝัน นั้น เขาได้ตีพิมพ์ Novelas Ejemplares ซึ่งเป็นเรื่องสั้น 12 เรื่อง ใน ค.ศ. 1615 เขาได้ตีพิมพ์ Ocho Comedias y Ocho Entremeses Nuevos Nunca Representias ถึงแม้ว่าจะเป็นเรื่องแสดงที่มีชื่อเสียงที่สุดทุกวันนี้ ในชื่อ ลานูมันเซีย (La Numancia) งานชิ้นนี้ของเขานั้น หลังจากตีพิมพ์ก็ไม่ได้รับการตรวจแก้อีกเลย จนกระทั่งคริสต์ศตวรรษที่ 18

นวนิยาย Los Trabajos de Persiles y Sigismunda เป็นผลงานชิ้นสุดท้าย เซร์บันเตสเขียนเรื่องนี้เสร็จก่อนจะเสียชีวิตเพียง 3 วัน นวนิยายเรื่องนี้ได้ตีพิมพ์ 2 ปีหลังจากที่เขาเสียชีวิตไปแล้ว ใน ค.ศ. 1617[6] สิ่งที่น่าสนใจสำหรับงานชิ้นนี้คือ เซร์บันเตสถือว่างานชิ้นนี้นั้นเป็นงานชิ้นเอกของเขาและเป็นงานที่เหนือชั้นกว่า ดอนกิโฆเต้ แห่งลามันช่า ขุนนางต่ำศักดิ์นักฝัน มาก

อิทธิพลของเซร์บันเตสนั้น ถึงขนาดที่ว่าภาษาสเปนได้ถูกอ้างอิงถึงเป็นสำนวนในภาษาฝรั่งเศสและภาษาสเปนว่า "ภาษาของเซร์บันเตส" (ฝรั่งเศส: la langue de Cervantes; สเปน: la lengua de Cervantes)

ผลงาน

[แก้]
หน้าแรกของเรื่อง La Galatea (1585)

รายการนี้ปรากฏใน Complete Works of Miguel de Cervantes:[7]

  • La Galatea (1585);
  • El ingenioso hidalgo Don Quixote de la Mancha (1605): ดอนกิโฆเต้ เล่มแรก
  • Novelas ejemplares (1613): ชุดสะสมเรื่องสั้น 12 เรื่องในประเภทต่าง ๆ ทั้งปัญหาสังคม การเมือง และประวัติศาสตร์ในสเปนสมัยเซร์บันเตส:
    • "La gitanilla" ("The Gypsy Girl")
    • "El amante liberal" ("The Generous Lover")
    • "Rinconete y Cortadillo" ("Rinconete & Cortadillo")
    • "La española inglesa" ("The English Spanish Lady")
    • "El licenciado Vidriera" ("The Lawyer of Glass")
    • "La fuerza de la sangre" ("The Power of Blood")
    • "El celoso extremeño" ("The Jealous Man From Extremadura")[8]
    • "La ilustre fregona" ("The Illustrious Kitchen-Maid")
    • "Novela de las dos doncellas" ("The Novel of the Two Damsels")
    • "Novela de la señora Cornelia" ("The Novel of Lady Cornelia")
    • "Novela del casamiento engañoso" ("The Novel of the Deceitful Marriage")
    • "El coloquio de los perros" ("The Dialogue of the Dogs")
  • Segunda Parte del Ingenioso Cavallero [sic] Don Quixote de la Mancha (1615): ดอนกิโฆเต้ เล่มที่สอง
  • Los trabajos de Persiles y Sigismunda (1617).

ผลงานที่แปลเป็นภาษาไทย

[แก้]

หมายเหตุ

[แก้]
  1. แม้ว่าเซร์บันเตสกล่าวอ้างในคำนำของ นวนิยายตัวอย่าง ว่า Jáuregui วาดภาพของผู้ประพันธ์: "el cual amigo bien pudiera, como es uso y costubre, grabarme y esculpirme en la primera hoja de este libro, pues le diera mi retrato el famoso D. Juan de Jauregui".

อ้างอิง

[แก้]
  1. Chacón y Calvo, José María (1947–1948). "Retratos de Cervantes". Anales de la Academia Nacional de Artes y Letras (ภาษาสเปน). 27: 5–17.
  2. Ferrari, Enrique Lafuente (1948). La novela ejemplar de los retratos de Cervantes (ภาษาสเปน). Madrid.
  3. Armstrong, Richard. "Time Out of Joint". Engines of Our Ingenuity. Lienhard, John (host, producer). สืบค้นเมื่อ 9 December 2019 – โดยทาง UH.edu.
  4. McCrory 2006, p. 112.
  5. de Riquer Morera, Martín. "Miguel de Cervantes Saavedra". Diccionario biográfico España (ภาษาสเปน). Real Academia de la Historia.
  6. "Miguel de CERVANTES (1547-1616): Life and Portrait". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-10-22. สืบค้นเมื่อ 2014-11-15.
  7. Sevilla Arroyo, Florencio; Rey Hazas, Antonio, บ.ก. (1995). OBRAS COMPLETAS de Miguel de Cervantes [Complete Works of Miguel de Cervantes]. Centro de Estudios Cervantinos – โดยทาง Proyecto Cervantes, Texas A&M University.
  8. มิเกล เด เซร์บันเตส ที่สารานุกรมบริตานิกา

ข้อมูล

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]