ข้ามไปเนื้อหา

มิล เอ็มไอ-17

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก มิล เอ็มเอ-17)
มิล เอ็มเอ-17
ข้อมูลทั่วไป
บทบาทเฮลิคอปเตอร์ลำเลียง
ชาติกำเนิด รัสเซีย
บริษัทผู้ผลิตคาซาน เฮลิคอปเตอร์
จำนวนที่ผลิตประมาณ 12,000 ลำ ในปี พ.ศ. 2550[1]
ประวัติ
สร้างเมื่อพ.ศ. 2518–ปัจจุบัน
เที่ยวบินแรกพ.ศ. 2518

มิล เอ็มไอ-17 (Mil Mi-17, รหัสขานเนโท: Hip) เป็นเฮลิคอปเตอร์สัญชาติรัสเซียที่ผลิตในโรงงานในคาซานและอูลัน-อูเด มีอีกชื่อหนึ่งว่า Mi-8M ในกองทัพรัสเซีย ประจำการเป็นเฮลิคอปเตอร์ลำเลียงขนาดกลาง มีบางรุ่นที่เป็นแบบติดอาวุธ

การพัฒนา

[แก้]

Mi-17 พัฒนามาจาก Mi-8 และใช้เครื่องยนต์ Klimov TV3-117MT 2 เครื่องยนต์และปรับปรุงลำตัวให้รับน้ำหนักได้มากขึ้น และสามารถใช้เครื่องยนต์ Isotov TV3-117VM สำหรับการใช้งานในพื้นที่สูงและร้อน ล่าสุดได้ถูกส่งมอบให้ประเทศจีน และเวเนซุเอลาเพื่อใช้ในเขตภูเขาสูง และใช้เครื่องยนต์ Klimov VK-2500 ที่มีการควบคุมเครื่องยนต์แบบดิจิทัล

Mi-17 เป็นชื่อรุ่นส่งออก ส่วนในกองทัพรัสเซียเรียกว่า Mi-8MT เฮลิคอปเตอร์ Mi-17 มีจุดสังเกตที่แตกต่างจาก Mi-8 เช่นใบพัดด้านหลังของ Mi-17 จะติดอยู่ทางด้านซ้าย ต่างจาก Mi-8 ที่จะติดทางด้านขวา มีแผ่นกันฝุ่นหน้าช่องรับอากาศ ฝาครอบช่องรับอากาศของ Mi-17 นั้นสั้นว่าของ Mi-8

Mi-17 ของอียิปต์สองลำในการฝึกในปี พ.ศ. 2544

รุ่นของ Mi-17 นั้นมีหลากหลายเนื่องจากอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ไม่เหมือนกัน เช่น Mi-17 ที่ผลิตในอูลาน-อูเด และส่งมอบใช้ในกองทัพอากาศสาธารณรัฐเช็กในปี พ.ศ. 2548 ที่ใช้เครื่องยนต์ของรุ่น -VM และถูกเรียกว่า Mi-8AMTSh ซึ่งมีประตูขนาดใหญ่ติดตั้งที่ด้านขวา มีการปรับปรุง APU และติดตั้งเกราะเคฟลาร์รอบห้องนักบินและเครื่องยนต์ โดย 8 เครื่องใช้ประตูทางลาดแทนแบบเปลือกหอย และสามารถบรรทุกยานพาหนะที่มีขนาดเท่า SUV

ในปี พ.ศ. 2551 มีการผลิตภายใต้ลิขสิทธิ์ในประเทศจีน นำโดย Mil Moscow Helicopter Plant JSC และ Sichuan Lantian Helicopter Company Limited ในเมืองเฉิงตู มณฑลเสฉวน โรงงานผลิตเฮลิคอปเตอร์เป็นจำนวน 20 ลำ ในปี พ.ศ. 2551 โดยใช้วัสดุจากอูลาน-อูเด มีการคาดการณ์ว่ามีการผลิตถึง 80 ลำต่อปี และมีการผลิตรุ่นย่อยอย่าง Mi-171, Mi-17V-5 และ Mi-17V7

ผู้ใช้งาน

[แก้]

ผู้ใช้งานในอดีต

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Russia denies supplying arms to Iraq −1 RIA Novosti
  2. 2.00 2.01 2.02 2.03 2.04 2.05 2.06 2.07 2.08 2.09 2.10 2.11 2.12 2.13 2.14 2.15 2.16 2.17 2.18 2.19 2.20 2.21 2.22 2.23 2.24 2.25 2.26 2.27 2.28 2.29 2.30 2.31 2.32 2.33 2.34 2.35 2.36 2.37 2.38 2.39 2.40 2.41 2.42 2.43 2.44 2.45 2.46 2.47 2.48 2.49 2.50 2.51 2.52 2.53 2.54 2.55 2.56 2.57 2.58 2.59 2.60 "World Air Forces 2013" (PDF). Flightglobal Insight. 2013. สืบค้นเมื่อ 20 March 2013.
  3. "Canadian Air Force – Mil CH-178 – Mil Mi-17-V5 – Leased Helicopter – MHLH Project – Air Command – CASR – Canadian American Strategic Review – Medium Lift Helicopter – Transport Helicopter – Russian Helicopter – Mil Mi-8 – Mil Mi-17(V5) – Mil Kazan – Government Military Contracts – Boeing Chinook – CH-147D Chinook – Canadian Forces – Department of National Defence – Succession Planning". Casr.ca. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 October 2013. สืบค้นเมื่อ 4 October 2013.
  4. https://beegeagle.wordpress.com/2014/12/24/cameroon-take-delivery-of-chinese-built-patrol-craft-russian-built-mi-17-helicopters
  5. "Jabatan Bomba dan Penyelamat Malaysia Mi-8/17". สืบค้นเมื่อ 20 March 2013.
  6. Secretaría de Marina – Unidades Aeronavales – Helicopteros. Retrieved 11 May 2013.
  7. "Hevilift Group Fleet". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 เมษายน 2014. สืบค้นเมื่อ 10 เมษายน 2014.
  8. 200억짜리 러시아 대형헬기 'MI-172' 타보니…. yes (ภาษาเกาหลี). National Police Agency (South Korea). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 April 2017. สืบค้นเมื่อ 5 April 2017.
  9. "World's Air Forces 2004 pg.84". flightglobal.com. สืบค้นเมื่อ 20 March 2013.
  10. «Вертолеты России» совместно с АО «Рособоронэкспорт» впервые поставили вертолетную технику в Сербию (ภาษารัสเซีย). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 กันยายน 2016. สืบค้นเมื่อ 3 กรกฎาคม 2016.
  11. "Turk Jandarma Teskilati Mi-8/17". สืบค้นเมื่อ 20 March 2013.
  12. "UK showcases Mi-17 training". flightglobal.com. สืบค้นเมื่อ 20 March 2013.
  13. "Army gets two more Russian helicopters". huntsville times.com. สืบค้นเมื่อ 20 March 2013.
  14. "Ceskoslovenske VoJenske Letectvo Mi-17". สืบค้นเมื่อ 20 March 2013.