มาเซราตี เอ็มซี12
Maserati MC12 | |
---|---|
ภาพรวม | |
เริ่มผลิตเมื่อ | 2004-2005 (ผลิต 50+12 คัน) |
ผู้ออกแบบ | แฟรงค์ สตีเวนสัน |
ตัวถังและช่วงล่าง | |
ประเภท | รถยนต์นั่งสมรรถนะสูง รถแข่ง |
รูปแบบตัวถัง | คูเป้ |
โครงสร้าง | เครื่องวางกลางหลังคนขับ ขับเคลื่อนล้อหลัง |
รุ่นที่คล้ายกัน | เฟอร์รารี่ เอ็นโซ |
ระบบส่งกำลัง | |
เครื่องยนต์ | 6.0L เอฟ140 V12 |
ระบบเกียร์ | Maserati Cambiocorsa เกียร์กึ่งอัตโนมัติ 6 จังหวะ[1] |
มิติ | |
ระยะฐานล้อ | 2,800 mm (110.2 in)[2] |
ความยาว | 5,143 mm (202.5 in)[2] |
ความกว้าง | 2,096 mm (82.5 in)[2] |
ความสูง | 1,205 mm (47.4 in)[2] |
น้ำหนัก | 1,335 kg (2,943 lb) (dry) 1,497 kg (3,300 lb) (kerb)[3] |
ระยะเหตุการณ์ | |
รุ่นก่อนหน้า | มาเซราติ บอร่า |
รุ่นต่อไป | มาเซราติ เอ็มซี20 |
มาเซราติ เอ็มซี12 (อังกฤษ: Maserati MC12) เป็นรถยนต์นั่งสมรรถนะสูง เครื่องยนต์กลางลำหลัง ขับเคลื่อนสองล้อท้าย (RMR) 2 ประตู 2 ที่นั่ง ผลิตโดยบริษัทมาเซราติ บริษัทสัญชาติอิตาลี เริ่มผลิตตั้งแต่ปี 2004 จำนวนทั้งหมด 25 คัน และอีก 25 คัน ในปี 2005 ทำให้มี เอ็มซี12 ที่จำหน่ายทั่วไปเพียง 50 คัน[1][4] และมีรถที่ผลิตเพื่อการแข่งขันเพิ่มอีก 12 คัน จึงมีการผลิตทั้งหมดเพียง 62 คันในโลกเท่านั้น[5] โดยเปิดให้จองในราคา €600,000 (23 ล้านบาท)
มาเซราติออกแบบและสร้างบนโครงของ เฟอร์รารี่ เอ็นโซ แต่ในท้ายที่สุดรถคันนี้ใหญ่กว่า และมีสัมประสิทธิการต้านอากาศที่ต่ำกว่า[4] เอ็มซี12 ยาวกว่า กว้างกว่า สูงกว่าและมีความโค้งมากกว่า ขณะที่เฟอร์รารี่ เอ็นโซมีอัตราการเร่งที่เร็วกว่า เบรกที่มีประสิทธิภาพมากกว่า (เบรกในระยะที่สั้นกว่า) ความเร็วของเอ็มซี12 อยู่ที่ 330 กม./ชม. ส่วนของเฟอร์รารี่ เอ็นโซ อยู่ที่ 350 กม./ชม.[4][6]
ภาพรวม
[แก้]เอมซี12 เป็นรถสองประตู คูเป้ ที่สามารถอดหลังคาได้ แต่ไม่สามารถนำหลังคาเก็บไว้ในรถได้[7] เครื่องยนต์วางกลางลำหลัง (เครื่องยนต์อยู่ระหว่างเพลา แต่อยู่หลังห้องโดยสาร) ช่วยให้จุดศูนย์ถ่วงของรถอยู่ตรงกลางซึ่งจะเพิ่มความเสถียรและเพิ่มความสามารถในการเข้าโค้งของรถ การกระจายน้ำหนักอยู่ที่ ด้านหน้า 41% และด้านหลัง 59% อย่างไรก็ตามความเร็วที่เกิดจากแรงเสียดทานของสปอยเลอร์หลังจะส่งผลกระทบต่อไปในระยะที่ 200 กม./ชม. แรงกดที่ 34% อยู่ที่ด้านหน้าและ 66% ที่ด้านหลัง[7]
ภายใน
[แก้]ถึงแม้รถจะถูกออกแบบมาเพื่อเป็นการดัดแปลงเพื่อเป็นรถแข่ง แต่การตกแต่งภายในก็เพื่อความหรูหรา ภายในเป็นส่วนวัสดุคาร์บอนไฟเบอร์เคลือบด้วยเจล หนังสีฟ้าและเงิน "Brightex" ซึ่งเป็นวัสดุสังเคราะห์ที่พบว่า "แพงเกินไปสำหรับอุตสาหกรรมแฟชั่น"[6] คอนโซลกลางมีลักษณะคล้ายนาฬิการูปไข่มาเซราตีและปุ่มสตาร์ทสีน้ำเงิน แต่ได้รับการวิจารณ์ว่าไม่มีวิทยุเครื่องเสียง หรือพื้นที่ติดตั้งเพิ่ม[8][9]
ภายนอก
[แก้]โครงของรถที่ทำจากคาร์บอนไฟเบอร์ได้รับการทดสอบในอุโมงค์ลมเพื่อให้ได้แรงกดสูงสุดทั่วทุกพื้นผิว ดังนั้นสปอยเลอร์หลังจึงมีความกว้าง 2 เมตร (79 นิ้ว) แต่หนาเพียง 30 มิลลิเมตร (1.2 นิ้ว) ด้านล่างของรถเรียบและกันชนด้านหลังมีตัวกระจายแรง[1] อากาศจะถูกดูดเข้าไปในห้องเครื่องยนต์ผ่านช่องดักอากาศด้านบน ทำให้ตำแหน่งบนด้านบนของห้องโดยสารทำให้รถสูงกว่า เฟอร์รารี่ เอ็นโซ ด้านนอกมีให้เลือกเฉพาะในรูปแบบสีขาวและสีฟ้าซึ่งเป็นเกียรติแก่ทีมแข่งรถ "America Camoradi" ซึ่งขับรถมาเซราติ Tipo Birdcages ในช่วงต้นคริสต์ทศวรรษ 1960[10][11] รถคันให้ความรู้สึกอึดอัดที่เกิดจากขนาดของมันซึ่งยาวและกว้างกว่า ฮัมเมอร์ เอช2[9] รวมกับการที่รถคันนี้ไม่มีกระจกด้านหลัง ทำให้การจอดรถคันนี้เป็นเรื่องท้าทาย[9]
เครื่องยนต์
[แก้]เอ็มซี12 ใช้เครื่องยนต์ V12 น้ำหนัก 232 กิโลกรัม ความจุ 5,998 ซีซี ซึ่งกระบอกสูบทำมุม 65 องศา[12] แต่ละกระบอกสูบมีวาล์วสี่ตัว ใช้การหล่อลื่นแบบอ่างแห้ง อัตราส่วนการอัดเท่ากับ 11.2: 1[13] ให้แรงบิดสูงสุด 652 นิวตันเมตร (481 ลูกบาศก์ฟุต) ที่ 5,500 รอบต่อนาที[13]
เอ็มซี12 สามารถเร่งความเร็วจาก 0–100 กม./ชม. ใน 3.8 วินาที (แม้ว่า Motor Trend Magazine จะระบุเวลา 3.7 วินาที) และ 0–200 กม./ชม. ใน 9.9 วินาที[7][1][2] สามารถทำเวลา 1/4 ไมล์ใน 11.3 วินาที โดยมีความเร็วปลายทาง 200 กิโลเมตรต่อชั่วโมง หรือหนึ่งกิโลเมตรใน 20.1 วินาที[7][2] ความเร็วสูงสุดของ มาเซราติ เอมซี12 ทำได้ที่ 330 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (205 ไมล์ต่อชั่วโมง)[2]
กำลังขับเคลื่อนไปยังล้อ ผ่านชุดเกียร์กึ่งอัตโนมัติแบบหกจังหวะด้านหลัง[14] กระปุกเกียร์จะเหมือนกับชุดเกียร์ของ เฟอร์รารี่ เอ็นโซ (ปรับอัตราส่วนให้ต่างกัน) ซึ่งเปลี่ยนชื่อเป็น "Maserati Cambiocorsa" ให้เวลาในการเปลี่ยนเพียง 150 มิลลิวินาที และเป็นกลไกที่มีคลัทช์แบบคู่ขนาด 215 มม.[1][4][15]
เกียร์ | 1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | Final drive |
---|---|---|---|---|---|---|---|
อัตราส่วน |
3.15:1 | 2.18:1 | 1.57:1 | 1.19:1 | 0.94:1 | 0.71:1 | 4.10:1 |
แซสซี
[แก้]แชสซีของ MC12 เป็นโครงสร้างตัวถังแบบไร้โครง (monocoque) ที่ใช้วัสดุทำจากคาร์บอนและ nomex โดยมีโครงตัวถังย่อยทำจากอลูมิเนียมที่ด้านหน้าและด้านหลัง มีโรล์บาร์เพื่อเพิ่มความแข็งแรงความสะดวกสบายและความปลอดภัย[7][10] ปีกนกคู่กับสปริงม้วนแบบ push-rod ช่วยให้รถเสถียร และช่วยให้ผู้โดยสารนั่งได้อย่างราบรื่น[16] ด้านหน้าของรถสามารถยกขึ้นสำหรับการผ่านลูกระนาดและเนินเขาโดยการกดปุ่มยกชุดกันสะเทือนหน้า[8] มีสองโหมดสำหรับการปรับแต่งแชสซี ซึ่งสามารถเปลี่ยนได้ด้วยปุ่มในห้องโดยสารโดยโหมด "สปอร์ต" เป็นการตั้งค่ามาตรฐาน และโหมด "Race" จะมีคุณสมบัติระบบควบคุมการยึดเกาะ "Bosch ASR" (anti-slip regulation) ทำงานน้อยกว่า การเปลี่ยนเกียร์เร็วขึ้น และระบบกันสะเทือนที่แข็งขึ้น[1][17]
ล้อ
[แก้]MC12 มีล้อขนาด 480 มม. (19 นิ้ว) ที่มีความกว้าง 230 มิลลิเมตร (9 นิ้ว) ที่ด้านหน้า และ 330 มม. (13 นิ้ว) ที่ด้านหลัง ยางเป็นรุ่น "Pirelli P Zero Corsas" รหัส 245/35 ZR 19 สำหรับยางหน้า และ 345/35 ZR 19 สำหรับด้านหลัง[11] เบรคเป็นดิสก์เบรก Brembo พร้อมระบบเบรกป้องกันล้อล็อกของ Bosch (ABS)[16] เบรคหน้ามีเส้นผ่านศูนย์กลาง 380 มิลลิเมตร (15 นิ้ว) ที่มีปากกาจับลูกสูบเบรค 6 ตัว มีเบรคหลังมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 335 มิลลิเมตร (13.2 นิ้ว) มีปากกาจับลูกสูบเบรค 4 ตัว[16] น็อตล็อคล้อที่ดุมกลางซึ่งยึดล้อเข้ากับแชสซีจะมีรหัสสี โดยสีแดงเป็นทางซ้ายของรถ สีน้ำเงินเป็นทางด้านขวา[7]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 "Maserati Indy: MC12". Maserati Indy. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 กันยายน 2015. สืบค้นเมื่อ 29 กันยายน 2006.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 2.6 "Carfolio: Maserati MC12". Carfolio. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 กันยายน 2015. สืบค้นเมื่อ 28 กันยายน 2006.
- ↑ "Car and Driver Maserati MC12 First Drive". Car and Driver. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 มีนาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 16 มีนาคม 2016.
- ↑ 4.0 4.1 4.2 4.3 Hall, Nick. "World Car Fans test drive MC12". World Car Fans. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 กันยายน 2015. สืบค้นเมื่อ 28 กันยายน 2006.
- ↑ "The Top 10 Maserati Car Models Of All-Time". Money Inc (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 6 มิถุนายน 2016. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 พฤศจิกายน 2018. สืบค้นเมื่อ 2 พฤศจิกายน 2018.
- ↑ 6.0 6.1 Dron, Peter (16 เมษายน 2005). "Telegraph: It costs how much?". The Daily Telegraph. London. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 เมษายน 2006. สืบค้นเมื่อ 6 ตุลาคม 2006.
- ↑ 7.0 7.1 7.2 7.3 7.4 7.5 Markus, Frank. "Motor Trend Road Test". Motor Trend. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 กันยายน 2015. สืบค้นเมื่อ 2 ตุลาคม 2006.
- ↑ 8.0 8.1 "Maserati MC12". Cool Supercars. 26 พฤศจิกายน 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 กุมภาพันธ์ 2007. สืบค้นเมื่อ 2 ธันวาคม 2006.
- ↑ 9.0 9.1 9.2 Frank Mountain (2004). Fifth Gear: Maserati MC12 (Tv Series). Cadwell Park: Five.
- ↑ 10.0 10.1 "2004 Maserati MC12". RSsportscars. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 กันยายน 2015. สืบค้นเมื่อ 19 กุมภาพันธ์ 2015.
- ↑ 11.0 11.1 "Road and Track road tests: MC12". Road and Track. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 กันยายน 2007. สืบค้นเมื่อ 2 ตุลาคม 2006.
- ↑ "MC 12". vitaphone-racing.de. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 ตุลาคม 2007. สืบค้นเมื่อ 10 เมษายน 2010.
- ↑ 13.0 13.1 "Technical Data: 2004 Maserati MC12". Global Car Locator. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 เมษายน 2005. สืบค้นเมื่อ 7 พฤศจิกายน 2006.
- ↑ "Maserati MC12". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2020. สืบค้นเมื่อ 3 มีนาคม 2020.
- ↑ Tan, Paul. "VW phases out automatics". Paul Tan. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 พฤศจิกายน 2007. สืบค้นเมื่อ 2 ธันวาคม 2006.
- ↑ 16.0 16.1 16.2 "Maserati MC12". supercars.net. สืบค้นเมื่อ 2 ธันวาคม 2006.
- ↑ "Cars: Maserati MC12". FIA GT. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 ธันวาคม 2006. สืบค้นเมื่อ 3 ธันวาคม 2006.