ข้ามไปเนื้อหา

เขามาฉาปุจฉเร

พิกัด: 28°29′42″N 83°56′57″E / 28.49500°N 83.94917°E / 28.49500; 83.94917
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก มาฉาปุจฉเร)
เขามาฉาปุจฉเร
เขามัจฉาปุจฉเร, เขาหางปลา
จุดสูงสุด
ความสูง
เหนือระดับน้ำทะเล
6,993 เมตร (22,943 ฟุต) [1]
ความสูง
ส่วนยื่นจากฐาน
1,233 เมตร (4,045 ฟุต) [1]
พิกัด28°29′42″N 83°56′57″E / 28.49500°N 83.94917°E / 28.49500; 83.94917
ข้อมูลทางภูมิศาสตร์
เขามาฉาปุจฉเรตั้งอยู่ในประเทศเนปาล
เขามาฉาปุจฉเร
เขามาฉาปุจฉเร
เทือกเขาอันนปูรณะ
การพิชิต
พิชิตครั้งแรกไม่เคยถูกพิชิต (ห้ามปีนโดยเด็ดขาด)

มาฉาปุจฉเร (เนปาล: माछापुच्छ्रे, แปลว่า หางปลา; ตามู: कतासुँ क्लिको) เป็นภูเขาในมวลเขาสูงอันนปูรณะ รัฐคัณฑกี ประเทศเนปาล จุดสูงสุดของภูเขายังไม่เคยถูกพิชิตเนื่องจากรัฐบาลเนปาลปฏิเสธการให้ใบอนุญาตปีนเขาลูกนี้ ชื่อของภูเขาแปลว่า "หางปลา" ในภาษาเนปาล และได้รับการเรียกขานว่าเป็น "มัทเทอร์ฮอร์นแห่งเนปาล"

เขามาฉาปุจฉเรถือเป็นเขาศักดิ์สิทธิ์สำหรับชาวกูรุงและชาวชอมรอง (Chomrong)[2]

มีความพยายามพิชิตเขามาฉาปุจฉเรเพียงครั้งเดียวที่มีการบันทึกไว้ คือในปี 1957 โดยทีมไต่เขาชาวอังกฤษที่นำโดยจิมมี รอเบิตส์ นักปีนเขาวิลฟรีด นอยส์ และเอ. ดี. เอ็ม. คอกซ์ (A. D. M. Cox) ได้ไต่ไปถึงความสูงอีก 150 m (492 ft) ถึงยอดเขา ผ่านทางเหนือ ที่ความสูง 22,793 ft (6,947 m) จากระดับน้ำทะเล สมเด็จพระเจ้ามเหนทระแห่งเนปาลทรงชื่นชมการพิชิตครั้งนี้ นอกจากนี้ คณะไต่เขายังลงจากเขาโดยไม่ได้เหยียบขึ้นไปบนยอดเขา[3] นับจากนั้นก็ไม่ได้มีการออกใบอนุญาตให้ไต่เขานี้อีก เขานี้ถือกันว่าเป็นเขาศักดิ์สิทธิ์ และมีความเชื่อว่าเป็นที่ประทับของพระศิวะ[4][5]

เคยมีรายงานว่าบิล เดนซ์ นักไต่เขาชาวนิวซีแลนด์ ได้พิชิตยอดเขาสำเร็จโดยไม่ถูกต้องตามกฎหมายในคริสต์ทศวรรษ 1980[6]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 "Machapuchare". Peakbagger.com.
  2. Vallangi, Neelima. "The Himalayan peak off limits to climbers". www.bbc.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-02-22.
  3. Noyce, Wilfrid (1998) [1958]. Climbing the fish's tail (ภาษาอังกฤษ). Pilgrims Book House. ISBN 978-8173031007. OCLC 857085947.
  4. Porter, John (2014). One day as a tiger : Alex Macintyre and the birth of light and fast alpinism. Sheffield: Vertebrate Publishing. p. 238. ISBN 978-1-910240-09-0. OCLC 893387833.
  5. "Mt. Machhapuchhre: Should it be opened for climbing?". HoneyGuide (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2015-07-30. สืบค้นเมื่อ 2019-10-30.
  6. AnOther (2016-07-22). "The Untouched Holy Mountain of Nepal". AnOther (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2019-10-30.

บรรณานุกรม

[แก้]
  • Fanshawe, Andy; Venables, Stephen (1995). Himalaya Alpine Style. Hodder and Stoughton.
  • Ohmori, Koichiro (1994). Over The Himalaya. Cloudcap Press/The Mountaineers.


แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]