ข้ามไปเนื้อหา

มาซาโกะ เซ็ง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก มะซะโกะ เซ็ง)
มาซาโกะ เซ็ง
เกิดเจ้าหญิงมาซาโกะแห่งมิกาซะ
23 ตุลาคม พ.ศ. 2494 (73 ปี)
โตเกียว ประเทศญี่ปุ่น
การศึกษามหาวิทยาลัยกากูชูอิง (อ.บ.)
คู่สมรสโซชิตสึ เซ็งที่ 16 (พ.ศ. 2526–ปัจจุบัน)
บุตรอากิฟูมิ คิกูจิ
มากิโกะ ซากาตะ
ทากาฟูมิ เซ็ง
บิดามารดาเจ้าชายทากาฮิโตะ มิกาซะโนะมิยะ
เจ้าหญิงยูริโกะ พระชายาฯ

มาซาโกะ เซ็ง (ญี่ปุ่น: 千容子โรมาจิSen Masako; ประสูติ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2494) หรือพระนามเดิม เจ้าหญิงมาซาโกะแห่งมิกาซะ (ญี่ปุ่น: 容子内親王โรมาจิMasako Naishinnō) เป็นพระธิดาในเจ้าชายทากาฮิโตะ มิกาซะโนะมิยะ กับเจ้าหญิงยูริโกะ พระชายาฯ ต่อมาทรงลาออกจากฐานันดรศักดิ์แห่งพระราชวงศ์เพื่อเสกสมรสกับโซชิตสึ เซ็งที่ 16 เมื่อ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2526

พระประวัติ

[แก้]

มาซาโกะ เซ็ง มีพระนามเดิมว่า เจ้าหญิงมาซาโกะแห่งมิกาซะ ประสูติเมื่อวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2494 เป็นพระธิดาในเจ้าชายทากาฮิโตะ มิกาซะโนะมิยะ กับเจ้าหญิงยูริโกะ พระชายาฯ สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนกากูชูอิงทั้งแผนกประถมและมัธยมศึกษา และสำเร็จการศึกษาอักษรศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวรรณคดีและภาษาญีปุ่น คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยกากูชูอิง หลังทรงสำเร็จการศึกษาได้สามปี พระองค์ถูกส่งไปโรงเรียนประจำที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ก่อนย้ายไปศึกษาที่มหาวิทยาลัยเซอร์บอน กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส

เจ้าหญิงมาซาโกะเสกสมรสกับมาซายูกิ เซ็ง บุตรชายของโซชิตสึ เซ็งที่ 15 (นามเดิม มาซาโอกิ เซ็ง) เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2526[1] พระองค์ต้องลาออกจากฐานันดรศักดิ์แห่งพระราชวงศ์ตามกฎมนเทียรบาล[2] พระภัสดาของพระองค์สืบตำแหน่งจากบิดา ได้ชื่อเป็น โซชิตสึ เซ็งที่ 16 เป็นปรมาจารย์ผู้สืบทอดตระกูลลำดับที่ 16 ของสำนักพิธีชงชาแบบญี่ปุ่นอูราเซ็งเกะเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2545[3]

มาซาโกะและพระภัสดามีบุตรด้วยกันสามคน คือ

  1. อากิฟูมิ คิกูจิ (10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2527 – 20 สิงหาคม พ.ศ. 2567) เปลี่ยนนามสกุลจาก "เซ็ง" เป็น "คิกูจิ" เมื่อ พ.ศ. 2557[4]
  2. มากิโกะ ซากาตะ (เกิด 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2530) สมรสกับมูเนฮิโระ ซากาตะ เมื่อ พ.ศ. 2560[5]
  3. ทากาฟูมิ เซ็ง (เกิด 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2533)

กิจกรรม

[แก้]

มาซาโกะทรงงานในสโมสรโสโรปโตมิสต์อินเตอร์เนชั่นแนลในประเทศญี่ปุ่น เคยดำรงตำแหน่งเป็นประธานของสมาคมโสโรปโตมิสต์อินเตอร์เนชั่นแนลเกียวโตเมื่อ พ.ศ. 2549 และ 2559 โดยใน พ.ศ. 2555 มาซาโกะถูกเลือกให้เป็นผู้ว่าการสโมสรโสโรปโตมิสต์อินเตอร์เนชั่นแนลอเมริกาประจำประเทศญี่ปุ่น พื้นที่ชูโอ เป็นลำดับที่ 14[6] และเดือนมีนาคม พ.ศ. 2561 มาซาโกะถูกเลือกเป็นประธานมูลนิธิโสโรปโตมิสต์ญี่ปุ่น[7]

พระเกียรติยศ

[แก้]

พระอิสริยยศ

[แก้]
  • 23 ตุลาคม พ.ศ. 2494 — 14 ตุลาคม พ.ศ. 2526 : เจ้าหญิงมาซาโกะแห่งมิกาซะ
  • 14 ตุลาคม พ.ศ. 2526 — ปัจจุบัน : นางมาซาโกะ เซ็ง

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

ลำดับสาแหรก

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Princess Masako of Mikasa and Masayuki Sen pose for photographs with".
  2. The Imperial House Law, Article 12, https://www.kunaicho.go.jp/e-kunaicho/hourei-01.html,
  3. "The Urasenke Konnichian Web Site".
  4. "Archived copy". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-02-05. สืบค้นเมื่อ 2015-02-05.{{cite web}}: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์)
  5. "千 万紀子様、結納の儀". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-12-18. สืบค้นเมื่อ 2021-12-18.
  6. "クラブの歩み | 国際ソロプチミスト京都 Soroptimist International of Kyoto".
  7. "財団の歴史 - ソロプチミスト日本財団について | 公益財団法人 ソロプチミスト日本財団".