ข้ามไปเนื้อหา

มหาลัญจกรของสหรัฐ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก มหาลัญจกรสหรัฐ)
มหาลัญจกรสหรัฐ
ด้านหลัง
รายละเอียด
ผู้ใช้ตราสหรัฐ
เริ่มใช้ค.ศ. 1782; 243 ปีที่แล้ว (1782)
เครื่องยอดผืนฟ้าสีน้ำเงิน มีดาวสีเงิน 13 ดวงลอยเด่น เปล่งรัศมีสีทองผ่านหมู่เมฆ
ประคองข้างอินทรีหัวขาวสยายปีก ตีนข้างหนึ่งคีบกิ่งมะกอก อีกข้างหนึ่งคีบเกาทัณฑ์ ส่วนจะงอยปากนั้นคาบม้วนกระดาษเขียนคำขวัญ
คำขวัญด้านหน้า: E pluribus unum
ด้านหลัง: Annuit cœptis และ Novus ordo seclorum
ส่วนประกอบอื่นด้านหลังเป็นรูปพีระมิดที่สร้างไม่เสร็จ มีดวงตาในสามเหลี่ยมเปล่งประกายลอยบนยอด
การใช้ในสนธิสัญญา ตราตั้ง และอื่น ๆ

มหาลัญจกรสหรัฐ (อังกฤษ: Great Seal of the United States) เป็นตราที่ใช้รับรองเอกสารบางประเภทที่รัฐบาลกลางสหรัฐออก ใช้งานต่อสาธารณะเป็นครั้งแรกเมื่อ ค.ศ. 1782

ด้านหน้าของลัญจกรใช้เป็นตราอาร์มประจำชาติสหรัฐ[1] ส่วนตัวลัญจกรเองนั้นใช้ในเอกสารอย่างหนังสือเดินทาง, เครื่องยศทหาร, ป้ายสถานทูต, และธงหลายแบบ เมื่อใช้เป็นตราอาร์ม ลัญจกรดวงนี้มีสีตามที่กำหนดไว้อย่างเป็นทางการ แต่เมื่อใช้ในเอกสาร มักเป็นขาวดำ

นับแต่ ค.ศ. 1935 เป็นต้นมา มีการใช้รูปด้านหน้าด้านหลังลัญจกรบนธนบัตรหนึ่งดอลลาร์สหรัฐ ทั้งตราประธานาธิบดีสหรัฐก็ออกแบบโดยอ้างอิงลัญจกรดวงนี้ และองค์ประกอบหลายอย่างของลัญจกรก็ปรากฏในตราหน่วยงานราชการหลายแห่ง

ประวัติ

[แก้]

วันที่ 4 กรกฎาคม ค.ศ. 1776 วันเดียวกับที่อาณานิคมทั้ง 13 แห่งประกาศเอกราชจากบริเตนใหญ่ สภาภาคพื้นทวีปตั้งคณะกรรการชุดแรกมาออกแบบมหาลัญจรหรือตราแผ่นดินสำหรับประเทศ สหรัฐก็เหมือนกับชาติอื่น ๆ ที่จำเป็นต้องมีสัญลักษณ์อย่างเป็นทางการของอำนาจอธิปไตยไว้ใช้กระทำตามแบบพิธีหรือประทับในสนธิสัญญาและธุรกรรมระหว่างประเทศ ในการนี้ ต้องใช้เวลา 6 ปี คณะกรรมการ 3 ชุด และผู้มีส่วนร่วม 14 คน ก่อนที่สภาสมาพันธรัฐจะอนุมัติแบบ (ซึ่งรวมถึงองค์ประกอบตามที่คณะกรรมการทั้ง 3 ชุดต่างเสนอมา) ในวันที่ 20 มิถุนายน ค.ศ. 1782[2]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "The Arms of the United States: Criticisms and Rebuttals". The American Heraldry Society. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-08-16. สืบค้นเมื่อ September 30, 2017.
  2. Bureau of Public Affairs. "The Great Seal of the United States" (PDF). U.S. Department of State. สืบค้นเมื่อ February 3, 2009.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]