ข้ามไปเนื้อหา

ภาษาชูวัช

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ภาษาชูวาส)
ภาษาชูวัช
Chăvashla
Чӑвашла
ออกเสียง[tɕəʋaʃˈla]
ประเทศที่มีการพูดประเทศรัสเซีย
ภูมิภาคแคว้นวอลกา
ชาติพันธุ์ชาวชูวัช
จำนวนผู้พูด1,042,989 คน  (2010 census)[1]
ตระกูลภาษา
เตอร์กิก
  • Oghur (Lir)
    • ภาษาชูวัช
ระบบการเขียนอักษรซีริลลิก
สถานภาพทางการ
ภาษาทางการ สาธารณรัฐชูวัช (รัสเซีย)
รหัสภาษา
ISO 639-1cv
ISO 639-2chv
ISO 639-3chv
บทความนี้มีสัญลักษณ์สัทอักษรสากล หากระบบของคุณไม่รองรับการแสดงผลที่ถูกต้อง คุณอาจเห็นปรัศนี กล่อง หรือสัญลักษณ์อย่างอื่นแทนที่อักขระยูนิโคด

ภาษาชูวัช (ชูวัช: Чӑвашла, ทับศัพท์ Chăvashla, แม่แบบ:IPA-cv)[a] เป็นภาษากลุ่มเตอร์กิก ใช้พูดในบริเวณเทือกเขายูรัลทางตอนกลางของรัสเซีย เป็นภาษาราชการของสาธารณรัฐชูวัชในประเทศรัสเซีย มีผู้พูดราว 2 ล้านคน ภาษานี้เป็นภาษาเดียวในสาขาOghur ในกลุ่มภาษาเตอร์กิกที่ยังมีผู้พูด[2] ภาษาที่มีอิทธิพลต่อภาษาชูวัชได้แก่ ภาษาตาตาร์ ภาษากลุ่มฟินโน-อูกริก ภาษารัสเซีย ภาษามารี ภาษามองโกเลีย ภาษาอาหรับ และภาษาเปอร์เซีย

แต่โบราณ ภาษาชูวัชเขียนด้วยอักษรออร์คอน เปลี่ยนเป็นอักษรอาหรับเมื่อเข้ารับอิสลาม เมื่อถูกยึดครองโดยมองโกเลีย ระบบการเขียนได้หายไป อักษรแบบใหม่ถูกประดิษฐ์ขึ้นโดย อีวาน ยาคอฟเลวิช ยาคอฟเลฟ ใน พ.ศ. 2416 จน พ.ศ. 2481 จึงเปลี่ยนมาเขียนด้วยอักษรซีริลลิก โดยใช้ตัวอักษรทั้งหมดจากชุดตัวอักษรรัสเซียและเพิ่มอักษรของตนเอง 4 ตัว: Ӑ, Ӗ, Ҫ และ Ӳ

ประวัติ

[แก้]

ภาษาชูวัชเป็นภาษาแตกต่างจากภาษากลุ่มเตอร์กิกอื่นๆมากและไม่สามารถเข้าใจได้กับผู้พูดภาษากลุ่มเตอร์กิกอื่นๆคาดว่าภาษาแม่ของภาษานี้ที่ใช้พูดโดยชาวบุลการ์ในยุคกลางแตกต่างจากภาษากลุ่มเตอร์กิกสมัยใหม่อื่นๆและจัดเป็นภาษาพี่น้องของภาษาเตอร์กิกดั้งเดิมมากกว่าจะเป็นภาษาลูกหลาน ภาษาที่ใกล้เคียงที่สุดคือภาษาฮันนิกที่เป็นภาษาตายไปแล้ว ก่อนหน้านี้มีนักวิจารณ์เสนอว่าภาษาชูวัชไม่ใช่ภาษากลุ่มเตอร์กิกแต่เป็นกลุ่มภาษาฟินโน-ยูกริกที่ถูกทำให้เป็นแบบภาษากลุ่มเตอร์กิก[3]

แสตมป์ของสหภาพโซเวียตแสดงภาพชาวชูวัช

ระบบการเขียน

[แก้]

ปัจจุบัน

[แก้]
А а Ӑ ӑ Б б В в Г г Д д Е е Ё ё
Ӗ ӗ Ж ж З з И и Й й К к Л л М м
Н н О о П п Р р С с Ҫ ҫ Т т У у
Ӳ ӳ Ф ф Х х Ц ц Ч ч Ш ш Щ щ Ъ ъ
Ы ы Ь ь Э э Ю ю Я я

การทับศัพท์อักษรชูวัช [4]

ชื่อ สัทอักษรสากล KNAB [5] 1995 ALA-LC[6] 1997 Edward Allworth[7] 1971 ISO

ระบบ A

ISO

ระบบ B

Turkkălla[8] Ivanof CVLat 1.1

2007 [9]

หมายเหตุ
А а а /a/~/ɑ/ a a a a a a a a
Ӑ ӑ ӑ /ɤ̆/, /ə/, /ɒ/ ä ă ă ă ĭ ah ă/ò a'
Б б бӑ /b/ b b b b b b b b เฉพาะคำยืมจากภาษารัสเซีย
В в вӑ /ʋ/~/w/, /v/ (ในคำยืมที่ไม่ใช่ภาษาชูวัช) v v v v v v v v
Г г гӑ /ɡ/ g g g g g g g g เฉพาะคำยืมจากภาษารัสเซีย
Д д дӑ /d/ d d d d d d d d เฉพาะคำยืมจากภาษารัสเซีย
Е е е /ɛ/ ye-, -e- e e, je e e -e-, ye- je e, je/ye
Ё ё ё /jo/ หรือ /ʲo/ yo ë ë ë yo yo jo jo/yo เฉพาะคำยืมจากภาษารัสเซีย
Ӗ ӗ ӗ /ɘ/ (ɘ~ø) ĕ ĕ ö ĕ ĭ̇ eh ĕ/ö e'
Ж ж жӑ /ʒ/ zh zh ž ž zh j q sh (š) เฉพาะคำยืมจากภาษารัสเซีย
З з зӑ /z/ z z z z z z zh s เฉพาะคำยืมจากภาษารัสเซีย
И и и /i/ i i i i i i i i
Й й йӑ /j/ y ĭ j j j y j j
К к кӑ /k/, /kʲ/ (c), /k̬ʲ/ (gʲ, ɟ) k k k k k k k k
Л л лӑ /l/~/ɫ/, /lʲ/ (ʎ) l l l l l l l l, lĭ/l' l'
М м мӑ /m/ m m m m m m m m
Н н нӑ /n/, /nʲ/ (ɲ) n n n n n n n n, nĭ/n' n'
О о о /o/ o o o o o o o o เฉพาะคำยืมจากภาษารัสเซีย
П п пӑ /p/, /p̬/ (b) p p p p p p p p
Р р рӑ /r/~/ɾ/ r r r r r r r r r'
С с сӑ /s/, /s̬/ (z) s s s s s s s s
Ҫ ҫ ҫӑ /ɕ/, /ɕ̬/ (ʑ) s' ś ś ş ş́ c ş/ś s'
Т т тӑ /t/, /tʲ/, /t̬ʲ/ (dʲ), /t̬/ (d) t t t t t t t t, tĭ/t'
У у у /u/, /̯u/ (o) u u u u u u u u
Ӳ ӳ ӳ /y/ ü ü ű ü uh ü u'
Ф ф фӑ /f/, /̯f̬/ (v) f f f f f f f f เฉพาะคำยืมจากภาษารัสเซีย
Х х хӑ /χ/, /χʲ/, /χ̃/ (ɣ), /χ̃ʲ/ (ɣʲ) kh kh h h x h x h/x
Ц ц цӑ /ts/, /ʦ̬/ (dz) ts t͡s c c cz, c z ts/z เฉพาะคำยืมจากภาษารัสเซีย
Ч ч чӑ /tɕ/, /ʨ̬/ (ʥ) ch ch č č ch ç ch tś/c
Ш ш шӑ /ʃ/, /ʃ̬/ (ʒ) sh sh š š sh ş sh (š)
Щ щ щӑ /ɕː/
/ɕt͡ɕ/
shch shch šč ŝ shh th śç, ş เฉพาะคำยืมจากภาษารัสเซีย
Ъ ъ хытӑлӑх палли " ʺ `` j เฉพาะคำยืมจากภาษารัสเซีย ตั้งหลังพยัญชนะ ทำหน้าที่เป็น "สละหลังเงียบ"; puts a distinct j sound in front of the following iotified: Е, Ё, Ю, Я vowels with no palatalization of the preceding consonant
Ы ы ы /ɯ/ ï y y y y' ı y y เฉพาะตอนต้นของคำ, 1-2 ตัวอักษร
Ь ь ҫемҫелӗх палли /ʲ/ ' ' / j ʹ ` ĭ/' ตั้งหลังพยัญชนะ ทำหน้าที่เป็น "สระหน้าเงียบ", slightly palatalizes the preceding consonant
Э э э /e/ ë ė è, e è e` e e e เฉพาะตัวอักษรแรก
Ю ю ю /ju/ หรือ /ʲu/ ͡iu ju û yu ju ju ju/yu, ‘u
Я я я /ja/ หรือ /ʲa/ ͡ia ja â ya ja ja ja/ya, ‘a

พ.ศ. 2416 - 2481

[แก้]

อักษรสำหรับภาษาชูวัชสมัยใหม่ปรับปรุงขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2416 โดยอีวาน ยาคอฟเลวิช ยาคอฟเลฟ[10]

а е ы и/і у ӳ ӑ ӗ й в к л ԡ м н ԣ п р р́ с ҫ т т̌ х ш

ใน พ.ศ. 2481 จึงปรับเปลี่ยนมาสู่รูปแบบที่ใช้ในปัจจุบัน

ระบบก่อนหน้านี้

[แก้]

ระบบการเขียนที่เก่าแก่ที่สุดคืออักษรออร์คอนซึ่งหายสาบสูญไปเมื่อบริเวณนี้ได้รับอิทธิพลจากศาสนาอิสลามโดยหันมาใช้อักษรอาหรับแทน เมื่อชาวมองโกลรุกรานเข้ามา การเขียนจึงหยุดชะงักจนถึงสมัยซาร์ปีเตอร์มหาราช ชาวชูวัชต้องใช้ภาษารัสเซียในการศึกษา[11][12]

สัทวิทยา

[แก้]

พยัญชนะ

[แก้]
ริมฝีปาก ฟัน/
ปุ่มเหงือก
หลัง-
ปุ่มเหงือก
เพดานแข็ง เพดานแข็งอ่อน
หยุด p (п) t (т) (ч) k (к)
เสียดแทรก s (c) ʃ (ш) ɕ (ҫ) x (x)
นาสิก m (м) n (н)
เปิด ʋ (в) l (л) j (й)
รัว r (p)
  • /x/ สามารถออกเสียงเป็นหน่วยเสียงย่อยของ [ɣ]

สระ

[แก้]

รายงานจาก Krueger (1961) หน่วยเสียงของภาษาชูวัชเป็นไปตามนี้:

หน้า หลัง
ไมห่อ ห่อ ไม่ห่อ ห่อ
สูง i (и) y (ӳ) ɯ (ы) u (у)
ต่ำ e (е) ø̆ (ӗ) a (а) ŏ (ӑ)

András Róna-Tas (1997)[13] ได้เสนอหน่วยเสียงนี้กับข้อมูลเพิ่มเติมจาก Petrov (2001) ไว้ดังนี้

หน้า หลัง
ไม่ห่อ ห่อ ไม่ห่อ ห่อ
สูง i (и) y (ӳ) ɯ (ы) u (у)
กลาง-ปิด ӗ (ĕ) ɤ̆ (ӑ)
กลาง-เปิด ɛ (е)
ต่ำ a (а)

สำเนียง

[แก้]

ภาษาชูวัชมีสองสำเนียงคือสำเนียงวิรยัลหรือสำเนียงบน (มีเสียง o และ u) กับสำเนียงอนาตรีหรือสำเนียงล่าง (ไม่มีเสียง o ใช่เสียง u แทน) ภาษาเขียนขึ้นกับทั้งสำเนียงบนและสำเนียงล่าง ภาษาตาตาร์และกลุ่มภาษาฟินนิกมีอิทธิพลต่อภาษาชูวัชเช่นเดียวกับภาษารัสเซีย ภาษามารี ภาษามองโกเลีย ภาษาอาหรับและภาษาเปอร์เซีย

ไวยากรณ์

[แก้]

ภาษาชูวัชเป็นภาษารูปคำติดต่อ มีปัจจัยจำนวนมากแต่ไม่มีอุปสรรค คำคำหนึ่งอาจมีปัจจัยจำนวนมากและใช้ปัจจัยเพื่อสร้างคำใหม่ได้ หรือใช้เพื่อแสดงหน้าที่ทางไวยากรณ์ของคำคำนั้น

นามและคุณศัพท์

[แก้]

คำนามภาษาชูวัชจะมีการลงท้ายเพื่อบอกบุคคลและความเป็นเจ้าของ มีปัจจัยของนามทั้งสิ้น 6 การก

กริยา

[แก้]

คำกริยาของภาษาชูวัชแสดงบุคคล กาล มาลาและจุดมุ่งหมาย

การเปลี่ยนเสียงสระ

[แก้]

เป็นหลักการที่พบได้ทั่วไปในรากศัพท์ของภาษาชูวัช ภาษาชูวัชแบ่งสระเป็นสองแบบคือสระหน้าและสระหลัง การเปลี่ยนเสียงสระอยู่บนหลักการว่าในคำคำหนึ่งจะไม่มีทั้งสระหลังและสระหน้าอยู่ด้วยกัน

คำประสมถือว่าเป็นคำเอกเทศคำหนึ่งที่ต้องคำนึงถึงการเปลี่ยนเสียงสระ แต่จะไม่ใช้การเปลี่ยนเสียงสระกับคำยืมจากภาษาอื่น และมีคำดั้งเดิมในภาษาชูวัชบางคำไม่เป็นไปตามกฎการเปลี่ยนเสียงสระ

การเรียงคำ

[แก้]

เป็นแบบประธาน-กรรม-กริยา

คำศัพท์

[แก้]

ตัวเลข:

  • 1 – пӗрре pĕrre, пӗр pĕr
  • 2 – иккӗ ikkĕ, икӗ ikĕ, ик ik
  • 3 – виҫҫӗ vişşĕ, виҫӗ vişĕ, виҫ viş
  • 4 – тӑваттӑ tăvattă, тӑватӑ tăvată, тӑват tăvat
  • 5 – пиллӗк pillĕk, пилӗк pilĕk
  • 6 – улттӑ ulttă, แม่แบบ:IPA-cv, ултӑ ultă, แม่แบบ:IPA-cv, улт ult, แม่แบบ:IPA-cv/แม่แบบ:IPA-cv
  • 7 – ҫиччӗ şiccĕ, แม่แบบ:IPA-cv, ҫичӗ şicĕ, แม่แบบ:IPA-cv, ҫич şic, แม่แบบ:IPA-cv
  • 8 – саккӑр sakkăr, แม่แบบ:IPA-cv, сакӑр sakăr, แม่แบบ:IPA-cv
  • 9 – тӑххӑр tăhhăr, тӑхӑр tăhăr
  • 10 – вуннӑ vunnă, вун vun
  • 11 – вун пӗр vun pĕr
  • 12 – вун иккӗ vun ikkĕ, вун икӗ vun ikĕ, вун ик vun ik
  • 13 – вун виҫҫӗ vun vişşĕ, вун виҫӗ vun vişĕ, вун виҫ vun viş
  • 14 – вун тӑваттӑ vun tăvattă, вун тӑватӑ vun tăvată, вун тӑват vun tăvat
  • 15 – вун пиллӗк vun pillĕk, вун пилӗк vun pilĕk
  • 16 – вун улттӑ vun ulttă, вун ултӑ vun ultă, вун улт vun ult
  • 17 – вун ҫиччӗ vun şiccĕ, вун ҫичӗ vun şicĕ
  • 18 – вун саккӑр vun sakkăr, вун сакӑр vun sakăr
  • 19 – вун тӑххӑр vun tăhhăr, вун тӑхӑр vun tăhăr
  • 20 – ҫирӗм şirĕm
  • 30 – вӑтӑр vătăr
  • 40 – хӗрӗх hĕrĕh
  • 50 – аллӑ allă, алӑ ală, ал al
  • 60 – утмӑл utmăl
  • 70 – ҫитмӗл şitmĕl
  • 80 – сакӑрвуннӑ sakărvunnă, сакӑрвун sakărvun
  • 90 – тӑхӑрвуннӑ tăhărvunnă, тӑхӑрвун tăhărvun
  • 100 – ҫӗр şĕr
  • 1000 – пин pin
  • 834236 - сакӑр ҫӗр вӑтӑр тӑватӑ пин те ик ҫӗр вӑтӑр улттӑ sakăr şĕr vătăr tăvată pin te ik şĕr vătăr ulttă, แม่แบบ:IPA-cv, сакӑр ҫӗр вӑтӑр тӑватӑ пин те ик ҫӗр вӑтӑр ултӑ sakăr şĕr vătăr tăvată pin te ik şĕr vătăr ultă

หมายเหตุ

[แก้]
  1. อาจสะกดเป็น Chăvash, Chuwash, Chovash, Chavash, Çovaş, Çuvaş หรือ Çuwaş

อ้างอิง

[แก้]
เฉพาะ
  1. "Population of the Russian Federation by Languages (in Russian)" (PDF). gks.ru. Russian Bureau of Statistics. คลังข้อมูลเก่าเก็บจาก[Перепись-2010 แหล่งเดิม]เมื่อ 2019-12-10. สืบค้นเมื่อ 1 November 2017. {{cite web}}: ตรวจสอบค่า |url= (help)
  2. [1] Chuvash is the sole living representative of the Bulgharic branch, one of the two principal branches of the Turkic family.
  3. Encyclopædia Britannica (1997)
  4. Transliteration of Chuvash writing system (2006-10-19). "Wayback Machine" (PDF). เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 19 October 2006. สืบค้นเมื่อ 2021-08-04.
  5. "KNAB: kohanimeandmebaasi avaleht". www.eki.ee. สืบค้นเมื่อ 2021-08-04.
  6. "ALA-LC Romanization Tables". www.loc.gov. สืบค้นเมื่อ 2021-08-04.
  7. Allworth, Edward (1971-12-31). Nationalities of the Soviet East Publications and Writing Systems. doi:10.7312/allw92088. ISBN 9780231886963.
  8. "cvlat2 - СVLat". sites.google.com. สืบค้นเมื่อ 2021-08-04.
  9. "Chuvash Latin Script". chuvash.org.
  10. "Telegram to the Chairman of the Simbirsk Soviet". สืบค้นเมื่อ 30 August 2010.
  11. "Древнечувашская руническая письменность". Трофимов А.А. Национальная библиотека Чувашской Республики.
  12. "Язык – основа национальной культуры". Национальная библиотека Чувашской Республики.
  13. András Róna-Tas. "Nutshell Chuvash" (PDF). Erasmus Mundus Intensive Program Turkic languages and cultures in Europe (TLCE). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 7 August 2011. สืบค้นเมื่อ 31 August 2010.
ทั่วไป
  • Čaušević, Ekrem (2002). "Tschuwaschisch. in: M. Okuka (ed.)" (PDF). Lexikon der Sprachen des Europäischen Ostens. Klagenfurt: Wieser. Enzyklopädie des europäischen Ostens 10: 811–815. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 9 March 2006. สืบค้นเมื่อ 31 August 2010.
  • Dobrovolsky, Michael (1999). "The phonetics of Chuvash stress: implications for phonology". Proceedings of the XIV International Congress of Phonetic Sciences, 539–542. Berkeley: University of California.
  • Johanson, Lars & Éva Agnes Csató, ed. (1998). The Turkic languages. London: Routledge.
  • Lars Johansen (1998). "The history of Turkic". Johanson & Csató. Encyclopædia Britannica Online CD 98. pp. 81–125. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-04-08. สืบค้นเมื่อ 5 September 2007.
  • Lars Johanson (1998). "Turkic languages".
  • Lars Johanson (2000). "Linguistic convergence in the Volga area". Gilbers, Dicky & Nerbonne, John & Jos Schaeken (ed.). Languages in contact Amsterdam & Atlanta: Rodopi. pp. 165–178 (Studies in Slavic and General linguistics 28.).
  • Johanson, Lars (2007). Chuvash. Encyclopedia of Language and Linguistics. Oxford: Elsevier.
  • Krueger, John (1961). Chuvash Manual. Indiana University Publications.
  • Paasonen, Heikki (1949). Gebräuche und Volksdichtung der Tschuwassen. edited by E. Karabka and M. Räsänen (Mémoires de la Société Finno-ougrinenne XCIV), Helsinki.
  • Петров, Н. П (2001). "Чувашская письменность новая". Краткая чувашская энциклопедия. – Чебоксары. pp. С. 475–476. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-03-11. สืบค้นเมื่อ 2022-03-08.
  • Алос-и-Фонт, Эктор (2015). Преподавание чувашского языка и проблема языкового поведения родителей. Чувашский государственный институт гуманитарных наук.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]