ข้ามไปเนื้อหา

เลือดมีออกซิเจนน้อย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Hypoxemia
ชื่ออื่นHypoxaemia
เลือดที่มีปริมาณออกซิเจนน้อยจะมีสีแดงคล้ำ
สาขาวิชาPulmonology

ภาวะเลือดมีออกซิเจนน้อย (อังกฤษ: hypoxemia) หมายถึงการที่ในเลือด (โดยเฉพาะเลือดในหลอดเลือดแดง[1]) มีปริมาณออกซิเจนน้อยกว่าปกติ[2][3] เกิดได้จากหลายสาเหตุ และมักทำให้เกิดภาวะพร่องออกซิเจนได้ เนื่องจากเลือดที่มีปริมาณออกซิเจนน้อยย่อมไม่สามารถส่งออกซิเจนให้เนื้อเยื่อได้เพียงพอต่อความต้องการ

นิยาม

[แก้]

ภาวะเลือดมีออกซิเจนน้อยคือการที่มีออกซิเจนในเลือดน้อย ส่วนภาวะพร่องออกซิเจนจะกินความหมายกว้างกว่าคือการมีออกซิเจนน้อยในเลือด หรือในเนื้อเยื่อ หรือในร่างกาย[3] ภาวะเลือดมีออกซิเจนน้อยสามารถทำให้เกิดภาวะพร่องออกซิเจนได้ เรียกว่า ภาวะพร่องออกซิเจนเหตุเลือดมีออกซิเจนน้อย (hypoxemic hypoxia) แต่ภาวะพร่องออกซิเจนยังสามารถเกิดได้จากสาเหตุอื่นๆ อีก เช่น ภาวะเลือดจาง เป็นต้น[4]

นิยามของภาวะเลือดมีออกซิเจนน้อยโดยทั่วไปแล้วจะอ้างอิงกับการลดลงของความดันย่อยของออกซิเจนในเลือดแดง (หน่วยเป็นมิลลิเมตรปรอท) นิยามอื่นๆ อาจอ้างอิงกับปริมาตรออกซิเจนที่ลดลง (มิลลิลิตรของออกซิเจนต่อเดซิลิตรของเลือด) หรือร้อยละความอิ่มตัวของฮีโมโกลบินที่จับกับออกซิเจน โดยทั้งหมดนี้อาจพบร่วมกันหรือพบแยกกันก็ได้[3][5]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Eckman, Margaret (2010). Professional guide to pathophysiology (3rd ed.). Philadelphia: Wolters Kluwer/Lippincott Williams & Wilkins. p. 208. ISBN 978-1605477664.
  2. Pollak, Charles P.; Thorpy, Michael J.; Yager, Jan (2010). The encyclopedia of sleep and sleep disorders (3rd ed.). New York, NY. p. 104. ISBN 9780816068333.
  3. 3.0 3.1 3.2 Martin, Lawrence (1999). All you really need to know to interpret arterial blood gases (2nd ed.). Philadelphia: Lippincott Williams & Wilkins. p. xxvi. ISBN 978-0683306040.
  4. Robert J. Mason, V. Courtney Broaddus, Thomas R. Martin, Talmadge E. King, Dean E. Schraufnagel, John F. Murray and Jay A. Nadel (eds.) (2010) Murray & Nadel's Textbook of Respiratory Medicine, 5th ed. Philadelphia: Saunders Elsevier. ISBN 1-4160-4710-7.
  5. Morris, Alan; Kanner, Richard; Crapo, Robert; Gardner, Reed. (1984) Clinical Pulmonary Function Testing. A manual of uniform laboratory procedures, 2nd ed.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
การจำแนกโรค