ข้ามไปเนื้อหา

ฟริทซ์ ล็อนด็อน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ฟริตซ์ ลอนดอน)
ฟริทซ์ ล็อนด็อน
ล็อนด็อนในปี ค.ศ. 1928
เกิดฟริทซ์ ว็อล์ฟกัง ล็อนด็อน
7 มีนาคม ค.ศ. 1900(1900-03-07)
เบร็สเลา จังหวัดไซลีเชีย เยอรมนี
เสียชีวิตมีนาคม 30, 1954(1954-03-30) (54 ปี)
เดอแรม รัฐนอร์ทแคโรไลนา สหรัฐอเมริกา
สัญชาติเยอรมัน
ศิษย์เก่า
มีชื่อเสียงจาก
รางวัลเหรียญโลเรินตส์ (ค.ศ. 1953)
อาชีพทางวิทยาศาสตร์
สาขาฟิสิกส์ทฤษฎี
สถาบันที่ทำงาน
อาจารย์ที่ปรึกษามัคซ์ ฟ็อน เลาเออ

ฟริทซ์ ว็อล์ฟกัง ล็อนด็อน (เยอรมัน: Fritz Wolfgang London; 7 มีนาคม ค.ศ. 190030 มีนาคม ค.ศ. 1954) เป็นนักฟิสิกส์ชาวเยอรมัน เกิดที่เมืองเบร็สเลา (ปัจจุบันคือเมืองวรอตสวัฟ ประเทศโปแลนด์) เป็นบุตรของฟรันซ์ ล็อนด็อนและลุยส์ ฮัมบัวร์เกอร์ มีน้องชายที่เป็นนักฟิสิกส์เช่นกันคือ ไฮนทซ์ ล็อนด็อน เรียนระดับมหาวิทยาลัยที่เมืองบ็อน แฟรงค์เฟิร์ตและมิวนิก[2] ในปี ค.ศ. 1933 ล็อนด็อนซึ่งเป็นชาวยิวถูกไล่ออกจากตำแหน่งอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยเบอร์ลินเนื่องจากกฎหมายที่ผ่านโดยรัฐบาลนาซี ต่อมาล็อนด็อนย้ายไปอยู่ที่อังกฤษและฝรั่งเศส ก่อนจะย้ายไปที่สหรัฐอเมริกาในปี ค.ศ. 1939 ล็อนด็อนดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ที่มหาวิทยาลัยดุ๊กและได้รับเหรียญโลเรินตส์ในปี ค.ศ. 1953

ด้านชีวิตส่วนตัว ล็อนด็อนแต่งงานกับอีดิธ แคสพารีในปี ค.ศ. 1929 มีบุตรด้วยกัน 2 คน เขาเสียชีวิตที่เมืองเดอแรมในปี ค.ศ. 1954[3]

ผลงาน

[แก้]

ล็อนด็อนเริ่มต้นการทำงานในด้านปรัชญา แต่ต่อมาสนใจในด้านฟิสิกส์ ล็อนด็อนมีผลงานที่สำคัญหลายอย่าง เช่น ร่วมกับวอลเตอร์ ไฮต์เลอร์ศึกษาพันธะเคมี[4], ศึกษาแรงระหว่างโมเลกุลและนิยามคำว่า "แรงแผ่กระจาย" เพื่ออธิบายแรงดึงดูดระหว่างอะตอมของแก๊สมีสกุล (ปัจจุบันแรงดังกล่าวเรียกว่าแรงล็อนด็อน), ศึกษาของไหลยวดยิ่งซึ่งเกี่ยวข้องกับของเหลวผลควบแน่นโบส–ไอน์สไตน์, ร่วมกับน้องชาย ไฮนทซ์ ล็อนด็อนศึกษาตัวนำยวดยิ่งจนค้นพบสมการของล็อนด็อนและโมเมนต์ล็อนด็อน

สิ่งสืบเนื่อง

[แก้]

ในปี ค.ศ. 1972 จอห์น บาร์ดีน นักฟิสิกส์ผู้ได้รับรางวัลโนเบล 2 ครั้ง จัดตั้งมูลนิธิรางวัลเพื่อระลึกถึงฟริทซ์ ล็อนด็อน[5]

อ้างอิง

[แก้]
  1. London, F.; London, H. (1935). "The Electromagnetic Equations of the Supraconductor". Proceedings of the Royal Society A: Mathematical, Physical and Engineering Sciences. 149 (866): 71. Bibcode:1935RSPSA.149...71L. doi:10.1098/rspa.1935.0048.
  2. Fritz London - Encyclopedia
  3. Fritz Wolfgang London - NCpedia
  4. Heitler, W.; London, F. (1927). "Wechselwirkung neutraler Atome und homöopolare Bindung nach der Quantenmechanik". Zeitschrift für Physik. 44 (6–7): 455. Bibcode:1927ZPhy...44..455H. doi:10.1007/BF01397394.
  5. Fritz London Memorial Prize | Duke Physics

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]