ฟรานซิส เบคอน (ศิลปิน)
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
บทความนี้อาจต้องการตรวจสอบต้นฉบับ ในด้านไวยากรณ์ รูปแบบการเขียน การเรียบเรียง คุณภาพ หรือการสะกด คุณสามารถช่วยพัฒนาบทความได้ |
มีข้อสงสัยว่าบทความนี้อาจละเมิดลิขสิทธิ์ แต่ระบุไม่ได้ชัดเจนเพราะขาดแหล่งที่มา หรืออ้างถึงสิ่งพิมพ์ที่ยังตรวจสอบไม่ได้ หากแสดงได้ว่าบทความนี้ละเมิดลิขสิทธิ์ ให้แทนป้ายนี้ด้วย {{ละเมิดลิขสิทธิ์}} หากคุณมั่นใจว่าบทความนี้ไม่ได้ละเมิดลิขสิทธิ์ ให้แสดงหลักฐานในหน้าอภิปราย โปรดอย่านำป้ายนี้ออกก่อนมีข้อสรุป |
ฟรานซิส เบคอน | |
---|---|
เกิด | 28 ตุลาคม ค.ศ. 1909 ดับลิน, ไอร์แลนด์ |
เสียชีวิต | เมษายน 28, 1992 มาดริด, สเปน | (82 ปี)
มีชื่อเสียงจาก | การออกแบบ, จิตรกรรม |
ขบวนการ | คิวบิสม์, ลัทธิเหนือจริง, ลัทธิแสดงพลังอารมณ์ |
ฟรานซิส เบคอน (อังกฤษ: Francis Bacon) เป็นศิลปินชาวอังกฤษในยุคสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง ที่สร้างสรรค์ผลงานในลัทธิสำแดงพลังอารมณ์ หรือลัทธิแสดงพลังอารมณ์(expressionism) ลัทธิแสดงพลังอารมณ์ถือเป็นความเคลื่อนไหวในช่วงต้นคริสศตวรรษที่ 20 งานเหล่านี้มักแสดงถึงความเป็นจริงที่บิดเบือนและอารมณ์อันรุนแรง ดังจะเห็นได้ในผลงานของเบคอนที่มักจะใช้ลายเส้นแสดงความบิดเบี้ยว และอารมณ์ความรู้สึกเร่าร้อนรุนแรง โดยศิลปินมักสะท้อนแนวคิดด้านร้ายของสังคม การเมือง หรือเรื่องทางเพศผ่านผลงานของตน ช่วงชีวิตของฟรานซิส เบคอนมีโอกาสได้เดินทางไปยังสถานที่ต่าง ๆ และได้รับแรงบันดาลใจจนเกิดผลงานที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ซึ่งนับได้ว่าฟรานซิส เบคอนเป็นศิลปินคนหนึ่งที่ถ่ายทอดเรื่องราวต่าง ๆ รอบตัวผ่านผลงานไว้อย่างมากมาย
ชีวประวัติ
[แก้]ชีวิตในวัยเด็กและจุดเริ่มต้นในวงการศิลปะ
[แก้]ฟรานซิส เบคอน เกิดวันที่ 28 ตุลาคม ค.ศ. 1909 ในครอบครัวชาวอังกฤษที่เมืองดับลิน ประเทศไอร์แลนด์[1] โดยเขาได้รับการตั้งชื่อตามฟรานซิส เบคอน บรรพบุรุษที่เป็นนักปราชญ์และนักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ[2] บิดาของเบคอนมีชื่อว่า แอนโทนี เอ็ดวาร์ด มอร์ติเมอร์ เบคอน (Anthony Edward Mortimer Bacon) เป็นอดีตนายกัปตันกองทัพทหาร ปัจจุบันมีอาชีพผสมพันธุ์และฝึกม้าที่ใช้ในการแข่งขัน ส่วนมารดาชื่อ คริสติน่า วินิเฟร็ด ลอคเล่ เบคอน (Christina Winifred Loxley Bacon) มาจากครอบครัวเชฟฟีลด์ ตระกูลการทำธุรกิจเหล็กกล้า[3] ในช่วงแรกครอบครัวเบคอนอาศัยอยู่ในประเทศไอร์แลนด์ แล้วก็ย้ายกลับมายังลอนดอนในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง เพราะเอ็ดวาร์ดผู้เป็นพ่อต้องเข้าร่วมรบกับกองทัพ หลังจบสงครามพวกเขาก็ย้ายกลับมายังประเทศไอร์แลนด์อีกในปี ค.ศ. 1916 จากนั้นก็มีการโยกย้ายไปมาหลายเมือง ช่วงปี ค.ศ. 1924-1926 ฟรานซิส เบคอนมีประสบการณ์ในการศึกษาอย่างยาวนานที่ The Dean Close School ในเมืองเชลต์นัม ประเทศอังกฤษ การใช้ชีวิตในบ้านเต็มไปด้วยความเย็นชา พ่อเป็นคนหัวรุนแรง แม่เป็นคนชอบเข้าสังคม ซึ่งมักจะหมกมุ่นอยู่กับตัวเอง[4] และในวัยเด็กเบคอนเป็นโรคหอบหืดเรื้อรัง ทำให้มีผลต่อการศึกษาซึ่งเขาจะต้องเรียนหนังสืออยู่ที่บ้าน[5] ภายในบ้านเบคอนมีความสนิทสนมกับพี่เลี้ยงคือ เจสซี่ ไลท์ฟุท (Jessie Lightfoot) มากที่สุด ซึ่งต่อมาทั้งสองก็จะเดินทางไปยังลอนดอนด้วยกัน[6]
ความสัมพันธ์ในครอบครัวของเบคอนย่ำแย่ลง เนื่องจากฟรานซิส เบคอนเป็นพวกรักร่วมเพศ (homosexual) เขาจึงถูกไล่ออกจากบ้านในปี ค.ศ. 1926 ตอนอายุ 16 ปี หลังจากที่พ่อจับได้ว่าเขากำลังลองสวมชุดของแม่[7] เขาเดินทางไปยังลอนดอน และหลังจากนั้นก็ได้เดินทางไปยังกรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี โดยเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในสถานที่ยามค่ำคืนของกลุ่มคนรักเพศเดียวกัน ซึ่งได้พิสูจน์สภาวะทางจิตใจของเขาว่าเป็นเช่นนั้นจริง จากนั้นก็ได้เดินทางไปยังกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ซึ่งเป็นสถานที่ที่ทำให้ฟรานซิส เบคอนเริ่มสนใจการเข้าชมแกลอรี่ศิลปะ[8] เมื่อเขากลับมายังลอนดอนในปี ค.ศ. 1920 ก็เริ่มทำงานการออกแบบตกแต่งภายใน ทั้งออกแบบเฟอร์นิเจอร์และพรม ซึ่งหนึ่งในลูกค้าของเขาคือรอย เดอ ไมสทีย์ (Roy de Maistre) ศิลปินคนหนึ่งซึ่งต่อมาได้กลายมาเป็นที่ปรึกษา และได้สนับสนุนให้เบคอนวาดภาพสีน้ำมัน[9] โดยเบคอนเริ่มวาดภาพผลงานชิ้นแรกของเขา Crucifixion 1933 ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากปาโบล ปีกัสโซ ในแนวบาศกนิยม ซึ่งจะกลายเป็นต้นแบบให้กับงานของเขาในยุคหลังด้วย ภาพนี้ถูกตีพิมพ์พร้อมกันลงในหนังสือของเฮอร์เบิร์ต รี้ด (Herbert Read) และอาร์ท นาว (Art Now) และผลงานของเขาก็ถูกซื้อไปอย่างรวดเร็วโดยไมเคิล แซดเลอร์ (Michael Sadler) จากความสำเร็จของเขา ในปีต่อมาเบคอนก็จัดนิทรรศการของตัวเองขึ้น แต่ไม่ได้รับผลตอบรับเท่าที่ควร ต่อมาในภายหลังเบคอนเริ่มทำงานในแนวลัทธิเหนือจริง (Surrealism) และเฮอร์เบิร์ต รี้ดก็ได้ส่งภาพวาดของเขาเข้าร่วมในนิทรรศการ The International Surrealist Exhibition อีกด้วย แต่ได้รับการปฏิเสธว่าผลงานของเบคอนยังมีความเหนือจริงไม่พอ เบคอนจึงกลับไปใช้ชีวิตพเนจรและทำงานวาดภาพอยู่บ้างในช่วงปี ค.ศ. 1936-1944[10] และในปี ค.ศ. 1937 ได้เข้าร่วมกลุ่มจัดแสดงนิทรรศการภายใต้ชื่อ Young British Painters อีกด้วย[11]
ช่วงการสร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรมในปี ค.ศ. 1940 และ 1950
[แก้]ก่อนที่จะเกิดรูปแบบงานที่เป็นเอกลัษณ์ของตนเอง ฟรานซิส เบคอนได้พัฒนารูปแบบการสร้างสรรค์ผลงานในแนวลัทธิเหนือจริง (surrealism) ไปสู่รูปแบบลัทธิการแสดงพลังอารมณ์ (expressionism) โดยหยิบยืมการเคลื่อนไหวของบุคคลจากภาพยนตร์และภาพถ่าย เขาเรียนรู้ลักษณะท่าทางของมนุษย์จากภาพถ่าย โดยเฉพาะจากภาพถ่ายของช่างภาพที่มีชื่อว่า เอ็ดเวิร์ด มายบริดจ์ จึงไม่เป็นเพียงการที่เบคอนเริ่มค้นพบวิธีการเคลื่อนไหวในภาพวาด แต่เป็นการนำภาพวาดและภาพถ่ายมาใช้อย่างสอดคล้องกัน[12]
ฟรานซิส เบคอนประสบความสำเร็จและเข้าสู่การเป็นจิตรกรเต็มตัวในปี ค.ศ. 1944 โดยเป็นช่วงเวลาที่เบคอนได้อุทิศตนเพื่อการวาดภาพและสร้างสรรค์ผลงาน ผลงานเหล่านี้คือ ภาพวาดบุคคลขนาดใหญ่บนผืนผ้าใบ (canvas) โดยส่วนมากมักจะเป็นรูปบุคคลเพียงคนเดียว อยู่ในห้องที่ว่างเปล่า ในกรงหรืออยู่กับพื้นหลังสีดำ[13] และเป็นช่วงที่เกรแฮม ซูเธอร์แลนด์ (Graham Sutherland) เพื่อนที่ร่วมจัดแสดงงานศิลปะได้แนะนำให้เขารู้จักกับผู้อำนวยการของ Hanover Gallery ซึ่งต่อมาสถานที่นี้จะกลายเป็นสถานที่ที่เขาได้จัดแสดงนิทรรศการเดี่ยวเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1949 การจัดแสดงในครั้งนี้เบคอนได้วาดภาพภายใต้ชื่อชุด Heads ซึ่งเป็นงานที่มีนัยยะสำคัญสื่อถึงผลงาน 2 แบบของเบคอน ได้แก่ แบบแรก "The Scream" ที่รับมาจากภาพยนตร์เรื่อง บรอเนโอเซตเปอมกิน ของเซียร์เกย์ ไอเซนสไตน์ (Sergei Eisenstein) ซึ่งแสดงฉากกรีดร้องของครูที่ได้รับบาดเจ็บ[14] แบบที่สองคือ ภาพวาดที่ได้รับแรงบันดาลใจจากภาพวาดสมเด็จพระสันตะปาปาอินโนเซนต์ที่ 10 (portrait of Pope Innocent X) ผลงานของดีเอโก เวลาสเควส (Diego Velázquez) ซึ่งเบคอนไม่ได้เห็นภาพจริงเห็นเพียงสำเนาของภาพนี้เท่านั้น[15] โดยเบคอนได้สร้างสรรค์ผลงานตามสไตล์ของตนเอง ด้วยการใช้สีโทนมืด ใช้ฝีแปรงแบบหยาบ ๆ และวาดใบหน้าของบุคคลที่นั่งอยู่ให้บิดเบือน ซึ่งผลงานเหล่านี้ของเบคอนกลายมาเป็นที่รู้จักว่าเป็นภาพวาดพระสันตะปาปากรีดร้อง (screaming pope)[16] ในปี ค.ศ. 1953 Hanover นำผลงานของเบคอนมาจัดแสดงรวมไปถึงภาพ Two Figure ซึ่งเป็นภาพผู้ชาย 2 คนนอนกอดกันบนเตียง ทำให้กลายเป็นที่อื้อฉาวเป็นอย่างมาก
นอกจากนี้ช่วงปี ค.ศ. 1940-1950 ยังมีผลงานอื่น ๆ อีก เช่น ภาพวาดบุคคลที่ยืนอยู่ข้างซากสัตว์ที่ถูกถลกเนื้อหนัง และภาพวาดอื่น ๆ ที่ได้รับแรงบันดาลใจจากอิทธิพลในเรื่องขนบธรรมเนียมประเพณีทางศาสนาเช่น ภาพการตรึงกางเขนของพระเยซู ภาพวาดผลงานของเบคอนทุกภาพจะเน้นย้ำประสบการณ์ความทุกทรมานและความแปลกแยกทั่วทั้งโลกที่เขาได้ประสบพบเจอมา[17]
ช่วงการสร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรมหลังปี ค.ศ. 1960 และช่วงสุดท้ายของชีวิต
[แก้]ในช่วงระยะเวลาการสร้างสรรค์ศิลปะสมัยใหม่ของเบคอน ภายใต้แนวคิดลัทธินามธรรม (abstract art) เบคอนยังคงวาดภาพเกี่ยวกับร่างกายและใบหน้าของบุคคล การแสดงอารมณ์ผ่านพู่กันและสี เช่นเดียวกันกับรูปแบบลักษณะที่เกินจริงของเบคอน ทำให้เขาได้รับการขนานนามว่าเป็นจิตรกรในลัทธิสำแดงพลังอารมณ์ หรือแสดงพลังอารมณ์ (expressionism)[18]
ผลงานบางส่วนของเบคอนในช่วงปี ค.ศ. 1960 วาดภาพผู้ชายที่สวมชุดสูทคล้ายชุดทำงานของนักธุรกิจอยู่เพียงผู้เดียวในภาพ ส่วนภาพอื่น ๆ ที่แสดงลักษณะเปลือยกายก็มักจะถูกปรับเปลี่ยนลักษณะและสัดส่วนให้ดูพิลึกกึกกือ เบคอนมักจะวาดภาพบุคคลที่เขารู้จักอยู่บ่อยครั้ง ทั้งลูเซียน ฟรอยด์ (Lucian Freud) และจอร์จ ไดเออร์ (George Dyer) เพื่อนสนิทของเขาโดยใช้สีสันที่สดใส[19] และในช่วงนี้เขาก็หันมาวาดภาพตัวเอง (self-portrait) มากขึ้น โดยอ้างว่า “ผู้คนรอบ ๆ ตัวเขาเหมือนแมลงวันที่กำลังจะตาย ไม่เห็นมีอะไรที่น่าจะนำมาสร้างสรรค์เป็นผลงานเลย” และยังคงสร้างสรรค์ผลงานเรื่อยมา โดยเบคอนได้วาดภาพจำนวนหนึ่งเพื่อเป็นความทรงจำถึงจอร์จ ไดเออร์ ซึ่งภาพทั้งหลายเหล่านี้อยู่ในรูปแบบสามตอน (triptych) ขนาดใหญ่ ทั้งผลงานชุด Black Triptych ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นผลงานที่ดี โดยเล่ารายละเอียดที่ผ่านมาของจอร์จ ไดเออร์ด้วย[20] แต่อย่างไรก็ตามลักษณะแนวคิดหลักในการสร้างสรรค์ผลงานของเบคอนก็คือ ความรุนแรงและความตาย[21]
ช่วงกลางปี ค.ศ. 1970 เบคอนได้พบกับจอห์น เอ็ดเวิดส์ (John Edwards) ซึ่งเข้ามาแทนที่ไดเออร์กับดีกิน โดยเป็นช่างภาพและเพื่อนสนิทกับเบคอน ปี ค.ศ. 1973 เบคอนกลายเป็นจิตรกรศิลปะร่วมสมัยชาวอังกฤษคนแรกที่ได้จัดแสดงนิทรรศการขนาดใหญ่ที่พิพิธภัณฑ์ศิลปะเมโทรโพลิทัน (The Metropolitan Museum of Art) ในนิวยอร์ก ซึ่งผลงานของเขาได้รับการจัดแสดงในระดับนานาชาติมาตลอดในช่วงปีสุดท้ายของชีวิต รวมไปถึงการจัดนิทรรศการรำลึกถึงเบคอนที่ The Hirshhorn Gallery และ The Tate Gallery ด้วย[22] และฟรานซิส เบคอนยังคงเก็บรักษาบ้านและสตูดิโอรกอันฉาวโฉ่ในกรุงลอนดอนไว้ และเขาก็ยังสร้างสรรค์ผลงานของตนเองเรื่อยมาจนกระทั่งถึงบั้นปลายของชีวิต ฟรานซิส เบคอนได้เสียชีวิตในวันที่ 28 เมษายน ค.ศ. 1992 ที่เมืองมาดริด ประเทศสเปน ด้วยอายุ 82 ปี[23]
แนวคิดในการสร้างสรรค์ผลงาน
[แก้]ศิลปินชาวอังกฤษ ฟรานซิส เบคอน คือนิยามสำหรับงานสมัยช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ด้วยการแสดงภาพใบหน้าของมนุษย์และตัวบุคคลที่ผ่านการแสดงออก ส่วนมากเป็นรูปแบบที่พิลึกและดูประหลาด[24] ในช่วงแรก เขาเริ่มวาดภาพสีน้ำมันในรูปแบบคิวบิสม์(Cubism) และรูปแบบสัจจะนิยม (surrealism ) แต่ผลงานในช่วงนั้นไม่ได้รับการยอมรับเท่าที่ควร จนในช่วงหลังที่เขาได้พัฒนารูปแบบสัจจะนิยมไปสู่งานที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง นั่นคือ ลัทธิสำแดงพลังอารมณ์ หรือ expressionism โดยศึกษาการเคลื่อนไหวของบุคคลจากภาพถ่ายและภาพยนตร์ หลังจากนั้นผลงานของฟรานซิส เบคอน จึงเป็นที่รู้จักกันในการแสดงออกถึงอารมณ์ที่ใส่ไว้ในผลงาน ซึ่งงานโดยรวมมักมีนัยยะที่สำคัญหลักๆ 2 เรื่อง คือการตรึงกางเขน และเสียงกรีดร้อง
การตรึงกางเขน
[แก้]เบคอนค่อนข้างให้ความสำคัญกับการตรึงกางเขนในผลงานของเขา เขายอมรับว่าเขาเห็นสิ่งเหล่านี้เป็นเกราะอันงดงามที่คุณสามารถแขวนทุกอารมณ์และความรู้สึก เขาเชื่อว่าภาพการตรึงกางเขนนั้นยินยอมให้เขาตรวจสอบพื้นที่บางส่วนของพฤติกรรมมนุษย์ในลักษณะพิเศษ ราวกับเป็นเกราะของชุดรูปแบบที่เป็นของสะสมของเจ้านายเก่าแก่จำนวนมาก[25] ฉากตรึงกางเขนพบได้ในงานที่เก่าแก่สุดของเบคอน คือในปี 1933 ภาพวาดในช่วงต้นได้รับอิทธิพลจากเหล่าศิลปินผู้เชี่ยวชาญ เช่น มัทธีอัส กรีเนวัลด์ , เดียโก เบลัซเกซ และแรมบรันต์ แต่ยังคงได้อิทธิพลปิกัสโซช่วงปลาย 1920 รวมถึงงานชีวะรูปและผลงานสัจจะนิยมช่วงต้น 1930[26]
เสียงกรีดร้อง
[แก้]แรงบันดาลใจสำหรับบรรทัดฐานของปากที่ส่งเสียงกรีดร้องในหลายๆผลงานของเบคอนช่วงปลาย 1940 และช่วงต้น 1950 ถูกดึงมาจากหลายแหล่ง ไม่ว่าจะเป็นตำราการแพทย์ , ผลงานของมัทธีอัส กรีเนวัลด์ และภาพถ่ายของพยาบาลในฉาก Odessa Steps ในหนังเงียบเรื่อง The Battleship Potemkin ปี 1925[27] ตัวอย่างผลงานที่เป็นลักษณะเสียงกรีดร้อง เช่น งาน Head VI ที่วาดในปี 1949 ซึ่งถือเป็นภาพแรกๆที่เบคอนวาดเกี่ยวกับพระสันตะปาปา
ลำดับเหตุการณ์ในชีวิต
[แก้]ช่วงปี1909-1940
[แก้]ปี1909 ฟรานซิส เบคอนเกิดวันที่ 28 ตุลาคม ที่ดับลิน ประเทศไอร์แลนด์ ในครอบครัวชาวอังกฤษ เป็นลูกคนที่ 2จากทั้งหมด 5คน พ่อประกอบอาชีพผสมพันธุ์และฝึกสอนม้าสำหรับใช้ลงแข่งขัน
ปี1914 ช่วงการเกิดสงครามครอบครัวเบคอนย้ายมายังลอนดอนและพ่อของเขาได้เข้าร่วมกับหน่วยรบ หลังจากนั้นพวกเขาก็ย้ายกลับไปยังไอร์แลนด์ และย้ายกลับไปมาระหว่างอังกฤษกับไอร์แลนด์ทุกๆ 1หรือ2ปี ไม่เคยมีที่อยู่ถาวร
ปี1925 ในวัยเด็กฟรานซิส เบคอนทุกข์ทรมานจากโรคหอบหืดและเรียนหนังสือที่บ้าน และเขาย้ายออกจากบ้านไปยังลอนดอนตอนอายุ 16ปี โดยไปทำงานเป็นลูกจ้างอยู่ระยะหนึ่ง แล้วก็ไปทำงานบริษัทอยู่หลายเดือน
ปี1927-1928 ฟรานซิส เบคอนไปท่องเที่ยวที่เบอร์ลินและพักอาศัยอยู่ที่นั่นเป็นเวลา 2เดือน แล้วก็ไปยังปารีส สถานที่ที่เขาได้รับการว่าจ้างให้ทำการออกแบบตกแต่งภายในเป็นครั้งคราว และได้ไปชมนิทรรศการปิกัสโซ(Picasso)ที่พอล โรเซนเบิร์ก แกลลอรี่(Paul Rosenberg Gallery) ซึ่งเป็นนิทรรศการที่เขาประทับใจมากจนกลายเป็นแรงบันดาลใจให้เขาเริ่มวาดภาพสเก็ชและภาพสีน้ำ
ปี1929 กลับมายังลอนดอนและจัดแสดงผลงานการออกแบบพรมและเฟอร์นิเจอร์ในควีนบูรี่ มิว สตูดิโอของเขาเอง(Queensbury Mews Studio) และเริ่มวาดภาพสีน้ำมัน(ด้วยตัวเอง)
ปี1930 จัดนิทรรศการร่วมกับรอย เดอ ไมสทีย์(Roy de Maistre)ในสตูดิโอของเขา โดยจัดแสดงเฟอร์นิเจอร์รวมไปถึงภาพวาดและgouaches ซึ่งนิตยสารThe Studi ได้เขียนบทความเกี่ยวกับสตูดิโอของเขาที่หน้ากลาง(หน้าคู่) ในหัวข้อ“The 1930 Look in British Decoration”
ปี1931 ย้ายไปยังถนนฟัลเฮม(Fulham road) และค่อยๆละทิ้งงานออกแบบ เพื่อทำงานวาดภาพ โดยหาเลี้ยงชีพด้วยการทำงานเรื่อยเปื่อยไม่เข้าร่วมกับกลุ่มศิลปะใดๆ
ปี1933 วาดภาพ Crucifixion1933
ปี1936 นำผลงานเข้าร่วมจัดแสดงกับนิทรรศการThe International Surrealist แต่กลับถูกปฏิเสธว่าผลงานของเขายังไม่มีความเป็นสัจนิยม(Surrealism)พอ
ปี1937 ฟรานซิส เบคอน เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในกลุ่มการจัดนิทรรศการที่มีความสำคัญอย่าง“Young British Painters” ที่Agnews ในลอนดอน ซึ่งถูกรวบรวมโดยอีริค ฮออล์(Eric Hall)เพื่อนของเขานั่นเอง รวมไปถึงศิลปินคนอื่นๆ ทั้ง รอย เดอ ไมสทีย์(Roy de Maistre) เกรเฮม ซูเธอแลนด์(Graham Sutherland) วิคเตอร์ เพสมอร์(Victor Pasmore) และไอออน ฮิทเชน(Ivon Hitchens) เป็นต้น
ช่วงปี1940-1960
[แก้]ปี1941-1944 ย้ายไปที่ปีเตอร์ฟีลด์(Petersfield) เมืองแฮมปเชียร์(Hampshire)ในประเทศอังกฤษ แล้วก็ย้ายกลับมายังลอนดอน และพักอยู่ที่สตูดิโอเก่าๆ ของมิลาย(Millais)ในเคนซิงตัน(Kensington) โดยทำลายผลงานในช่วงแรกของตัวเองจนเกือบหมด(มีภาพวาดบนผืนผ้าใบ 10 ภาพหลงเหลืออยู่จากในช่วงปี 1929-1944) และเบคอนยังได้รับการยกเว้นการเข้ารับราชการทหาร เนื่องจากมีโรคประจำตัวคือ โรคหอบหืดนั่นเอง
ปี1944-1945 เริ่มวาดภาพThree Studies for figures at the Base of a Crucifixtion อย่างจริงจังและประสบความสำเร็จ โดยนำไปจัดแสดงที่Lefevre Gallery ในช่วงเดือนเมษายน ปี1945 และก็ได้มาจัดแสดงในThe Tate Gallery ในปี1953อีกด้วย
1945-1946 จัดแสดงผลงานชื่อFigure in a Landscape และFigure Study IIกับกลุ่มจัดแสดงนิทรรศการที่จัดขึ้นที่the Lefevre Gallery กับ Redfern Gallery ร่วมกับจิตรกรคนอื่นๆ ทั้งแมทธิว สมิธ(Matthew Smith) เฮนรี่ มรูว์(Henry Moore) และเกรเฮม ซูเธอแลนด์(Graham Sutherland)
ปี1946-1950 อาศัยอยู่ที่เมืองMonte Carlo ประเทศฝรั่งเศสเป็นส่วนใหญ่ จนมีความสนิทสนมกับเกรเฮม ซูเธอแลนด์(Graham Sutherland)
ปี1948 อัลเฟรด เอช. บาร์(Alfred H. Barr) ซื้อผลงานชื่อPainting 1946 ซึ่งเป็นหนึ่งในผลงานที่สำคัญของฟรานซิส เบคอน ที่จัดแสดงอยู่ใน Museum of Modern Art ในนิวยอร์ค
ปี1949 มีงานโชว์เดี่ยวของชายคนหนึ่งที่ Hanover Gallery ในลอนดอน ที่กลายมาเป็นที่ปรึกษาซึ่งจะทำงานร่วมกันไปอีก 10ปี และฟรานซิส เบคอนยังเริ่มวาดภาพชุดHead (ทั้ง Head VI ซึ่งถือได้ว่าเป็นงานแรกที่เกี่ยวกับพระสันตะปาปา(Pope) วาดภาพ Head IV(คนกับลิง)) โดยมีการนำภาพถ่ายของEadweard Muybridge มาศึกษาการเคลื่อนไหวของสัตว์(Animal Locomotion) และการเคลื่อนไหวของร่างกายมนุษย์ และใช้เป็นแหล่งอ้างอิงในการวาดภาพคนและสัตว์ของเขา
ปี1950 ทำการสอนศิลปะที่the Royal College of Art ในช่วงสั้นๆ และได้ไปเยี่ยมแม่ที่แอฟริกาใต้ โดยใช้เวลาอยู่ที่ เมืองไคโร(Cairo) ประเทศอียิปต์เพียงไม่กี่วัน
ปี1951 วาดภาพเหมือนของลูเซียน เฟรด(Lucian Freud)เป็นครั้งแรก
ปี1953 มีงานโชว์เดี่ยวนอกสหราชอาณาจักรที่Durlacher Brothers ในนิวยอร์คเป็นครั้งแรก และวาดภาพTwo Figure (นักมวยปล้ำ) ซึ่งถือว่าเป็นผลงานที่ยอดเยี่ยมที่สุดผลงานหนึ่ง
ปี1954 วาดภาพชุดThe Man in Blue เป็นตัวแทนร่วมกับเบน นิโคลสัน(Ben Nicholson) และลูเซียน เฟรด(Lucian Freud)แสดงงานGreat Britain ที่the XXVII Venice Biennal และมีโอกาสได้ไปเมืองOstia และ Rome แต่ไม่ได้ไปดูผลงานภาพวาดThe Velazquez portrait of Pope Innocent X ซึ่งต่อมาเขาจะได้รับแรงบันดาลใจไปสร้างสรรค์ผลงานชุดPopes ของตน
ปี1955 จัดนิทรรศการย้อนรำลึกเป็นครั้งแรกที่the Institute of Contemporary Arts ในลอนดอน และวาดภาพเหมือนของนักสะสมที่มีชื่อว่า โรเบิร์ต และลิซ่า เซนบูรี(Robert and Risa Sainsbury) ซึ่งกลายมาเป็นลูกค้าประจำของฟรานซิส เบคอน
ปี1956 ไปพบปีเตอร์ ลาซี(Peter Lacey)เพื่อนของเขาที่เมืองtangier ประเทศโมรอคโค อาศัยอยู่ที่แฟลตและในช่วงระยะเวลาอีก 3ปีต่อไป เขาก็ย้อนไป-มาที่นี่เป็นประจำ
ปี1957 จัดแสดงนิทรรศการครั้งแรกในปารีส ประเทศฝรั่งเศสที่the Galerie Rive Droite และจัดแสดงผลงานชุดแวน โกะ (The Van Gogh Series) ที่the Hanover Gallery ในลอนดอน
ปี1958 จัดนิทรรศการโชว์เดี่ยวครั้งแรกในอิตาลี ทั้งในเมืองทูริน(Turin) มิลาน(Milan) และโรม(Rome) โดยเซ็นสัญญากับMarlborough Fine Art LTd. ของลอนดอน
ปี1959 จัดแสดงนิทรรศการที่the V Sao Paulo Biennale และวาดภาพในSt. Ives เมืองcornwall ประเทศอังกฤษอยู่ช่วงหนึ่ง
ปี1960 จัดแสดงนิทรรศการที่Marlborough Fine Art ในลอนดอนเป็นครั้งแรก
ช่วงปี1960-1992(ช่วงสุดท้ายของชีวิต)
[แก้]ปี1962 วาดภาพThree Studies for a Crucifixion ขนาดใหญ่เป็นครั้งแรก ซึ่งถูกซื้อโดยพิพิธภัณฑ์the Solomon R. Guggenheim ในนิวยอร์ค และมีการจัดนิทรรศการย้อนรำลึกครั้งใหญ่ที่the Tata Gallery ในลอนดอน โดยยังถูกนำไปดัดแปลงและจัดแสดงในเมืองมัมไฮน์ (Mannheim) ประเทศเยอรมนี เมืองทูริน(Turin) และเมืองซูริค(Zurich)(ปี1963)ด้วย และยังเป็นปีที่ปีเตอร์ ลาซี(Peter Lacey)เสียชีวิตอีกด้วย
ปี1963-1964 จัดนิทรรศการย้อนรำลึกที่the Solomon R. Guggenheim Museum ในนิวยอร์ค และต่อมาที่ the Art Institute of Chicago
ปี1964 รู้จักกับGeorge Dyer ซึ่งกลายมาเป็นนายแบบบนงานจิตรกรรมหลายๆ งานของฟรานซิส เบคอน และวาดภาพ3 Figures in a Room ซึ่งเป็นภาพวาดสามตอน(Triptych)ขนาดใหญ่ โดยขายให้กับthe Musée National d’Art Moderne ในปารีส ประเทศฝรั่งเศส
ปี1965 วาดภาพ Crucifixion ขนาดใหญ่สามตอน(Triptych) ซึ่งถูกซื้อโดยMunich Museum
ปี1966 ได้รับรางวัลRubens Prize โดยthe City of Siegen จัดแสดงอยู่ที่Galerie Maeght ในกรุงปารีส และได้รับการเปิดตัวเป็นจิตรกร
ปี1967 ได้รับรางวัลthe Painting Prize ที่the 1967 Pittsburgh International
ปี1968 เดินทางไปนิวยอร์ค เพื่อชมผลงานภาพวาดที่ผ่านมาของตนเองที่the Marlborough-Gerson Gallery
ปี1971-1972 จัดการแสดงนิทรรศการย้อนรำลึกครั้งสำคัญที่Grand Palais ในปารีส ซึ่งต่อมาภายหลังไปจัดแสดงที่the Kunsthalle เมืองดึซเซลดอร์ฟ(Dusseldorf) ประเทศเยอรมนี และนายแบบจอร์จ ไดย์(George Dyer) เพื่อนของเบคอนได้เสียชีวิตลงที่ปารีส และมีการวาดภาพTriptych 1971 ด้วย
ปี1975 ได้รับเชิญไปนิวยอร์ค เพื่อเปิดการจัดแสดงนิทรรศการครั้งใหญ่ของเขาที่the Metropolitan Museum of Art
ปี1977 ไปชมการจัดแสดงนิทรรศการของตัวเองที่Galerie Claude อย่างเงียบๆ(ส่วนตัว)
ปี1978 พบกับBalthus ที่the Villa Medici ที่กรุงโรม
ปี1980 The Tate Gallery ซื้อภาพTriptych – August 1972
ปี1985-1986 จัดการแสดงนิทรรศการย้อนรำลึกเป็นครั้งที่สองที่the Tate Gallery(แสดงผลงานทั้งสิ้น 125ชิ้น) และไปยังStaatsgalerie เมืองStuttgart และNationalgalerie ในกรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี และได้พบกับJohn Edwards ที่เบอร์ลิน แล้วยังวาดภาพเหมือนของตัวเองแบบสามตอน(Triptych)ด้วย
ปี1987 ฟรานซิส เบคอน อาศัยและทำงานอยู่ในกรุงลอนดอน และไปฝรั่งเศสบ้างเป็นครั้งคราว
ปี1992 ฟรานซิส เบคอน เสียชีวิตที่เมืองมาดริด(Madrid) ประเทศสเปน
(อ้างอิง : Michel leiris. Francis Bacon: Chronology. (New York: Rizzoli), 1988. Page20 ISBN 08847809048. : James Hyman Gallery. Francis Bacon. เข้าถึงเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2557, เข้าถึงได้จาก http://www.jameshymangallery.com/artists/79/biography/francis-bacon)
ผลงานศิลปะ
[แก้]ผลงานที่สำคัญ
[แก้]Three study for a figure at base of a crucifixion (1943-1944)
[แก้]Three study for a figure at base of a crucifixion เป็นภาพที่แบ่งเป็น3ภาพซึ่งถูกวาดในปี 1944 ผลงานชิ้นนี้อยู่ภายใต้พื้นฐานของEumenides หรือ Furies ของAeschylus' The Oresteia และเป็นการวาดภาพพรรณนาการเขียนแบบมานุษยรูปนิยม 3 รูปเป็นเหมือนสัตว์ประหลาดและมีพื้นหลังราบเรียบสีส้ม ผลงานชิ้นนี้วาดงานด้วยสีน้ำมันและดินสอสีบนกระดานSundeala อีกทั้งภาพนี้วาดเสร็จภายในสองอาทิตย์ ภาพ 3ภาพนี้ เป็นการสรุปรวบยอดการดำเนินงานการวาดภาพของเบคอนในก่อนหน้านี้รวมถึงการทดสอบงานศิลปะของปิกัสโซ การตีความในเรื่องการตรึงกางเขน(The Crucifixion) และthe Greek Furies ที่เป็น 3รูปนี้นั้นหมายถึง เทพเจ้า 3องค์ของการแก้แค้นในตำนานกรีก นั่นก็คือ [Alecto], [Megaera] and[Tisiphone] เบคอนไม่ได้เข้าใจหรือตระหนักถึงความตั้งใจเดิมที่วาดภาดภาพการตรึงกางเขนขนาดใหญ่และตำแหน่งของรูปภาพตรงกากบาท ผลงานชิ้นนี้เป็นผลงานแรกที่แสดงพัฒนาการของเขา Three study for a figure at base of a crucifixionถูกจัดแสดงขึ้นในปี1945 ซึ่งมันทำให้เขารู้สึกตื่นเต้นมากที่จะได้เป็นศิลปินPost-warแนวหน้า นักวิจารณ์John Russell ได้แสดงข้อคิดเห็นทางศิลปะที่สำคัญของThree study ในปี1971 ไว้ด้วย Three study for a figure at base of a crucifixion ปัจจุบันอยู่ที่the Tate Gallery ในลอนดอน the Crucifixionเป็นการสื่อว่ามีแนวโน้มที่เบคอนจะต้องเผชิญหน้ากับความเป็นจริงที่ร้ายกาจที่สุดของการดำรงชีวิตของมนุษย์ ซึ่งผลงานทั้งหมดนั้นเบคอนได้รับอิทธิพลมาจากปิกัสโซ เบคอนถูกปลุกใจให้วาดภาพthe Crucifixion โดยเพื่อนของเขาคือEric Hall ในปี1937 รวมถึงภาพทั้งสามภาพของเบคอนในงานแสดงที่Agnew’s of works โดยหัวหน้าศิลปินหนุ่มชาวอังกฤษกับGraham Sutherland ขณะที่ในปี1933 เบคอนได้รับความสนใจมากขึ้นกว่าเดิม ในปี1944 Tate triptych รูปร่างมนุษย์ที่ถูกแบ่งเป็น 3ส่วน ได้กลายมาเป็นความเครียดหนักตึง และthe Crucifixion ได้กลายมาเป็นสัญลักษณ์ของเบคอน หลังจากนั้น 30ปีถัดมา เบคอนไม่ยอมรับในเรื่องที่ทุกคนให้ความสนใจก่อนหน้านี้ เขาได้อธิบายว่าเขาถูกทำให้ลุ่มหลงโดยบางคนที่อยู่ในระดับที่สูงกว่า[28]
Painting 1946
[แก้]Painting 1946 เป็นชิ้นงานใหญ่ชิ้นหนึ่งที่เข้ามาเป็นผลงานชิ้นเอกซึ่งเป็นที่จดจำชิ้นหนึ่งของฟรานซิส เบคอน โดยมีเนื้อเป็นองค์ประกอบหลักของภาพที่จะกลายมาเป็นธีมหลักสำคัญตลอดช่วงเวลาที่เหลืออยู่ในอาชีพของเขา ถึงแม้ว่าภาพคนของเขาจะปรากฎเนื้อที่แล่แล้วเหมือนกับพร้อมที่จะแขวนขายตามที่ขายเนื้อ เบคอนพยายามที่จะวาดนกที่กำลังบินลงสู่ผืนนา เขาอธิบายถึงงานชิ้นนี้ราวกับคนที่ขาดสติ กล่าวได้ว่าเป็นรูปแบบการวาดที่ขาดความตั้งใจของเขา ในบทสัมภาษณ์ของเดวิด ซิลเวสเตอร์ ในปี1962 เบคอนได้ให้คำสัมภาษณ์ว่า
เบคอน : ในบรรดารูปทั้งหมดที่ฉันได้วาดในปี1946 ซึ่งมันอยู่ในพิพิธภัณฑ์ของศิลปะสมัยใหม่
เดวิด : รูปคนขายเนื้อ
เบคอน : ใช่ มันกลับมาหาฉันเหมือนกับเรื่องบังเอิญ ฉันพยายามที่จะสร้างนกที่กำลังบินลงบนทุ่งหญ้า และมันอาจจะเคยบินโลดแล่นในบางที่ก่อนหน้านี้ แต่ลายเส้นที่ฉันได้วาดนั้นมันทำให้นึกถึงอะไรบางอย่างที่แตกต่างและออกจากข้อชวนคิดที่เกิดขึ้นในภาพนี้ ฉันไม่มีความตั้งใจที่จะวาดภาพนี้ ฉันไม่เคยคิดถึงมัน มันเหมือนกับเหตุการณ์ที่ต่อเนื่องที่นำไปสู่จุดสูงสุดของภาพอื่นๆ
ปีก่อนหน้านี้ Poussin's Adoration of the Golden Calf ถูกจัดขึ้นในNational Gallery collection และแน่นอนว่าภาพของเบคอนนี้นั้นอยู่ในจิตใจในส่วนที่เกี่ยวกับพวงมาลัย ลูกวัว(การฆ่าสัตว์) การตั้งค่ายที่พักของพวกชาวยิวหรืออิสราเอลซึ่งได้เปลี่ยนเป็นร่ม Graham Sutherlandเห็นภาพวาดpainting 1946 ในCromwell Place studio และกระตุ้นพ่อค้านั่นคือErica Brausen หลังจากนั้นเขาได้ไปที่Redfern gallery เพื่อไปซื้อผลงานชิ้นนั้น เบราเซนได้เขียนจดหมายติดต่อเบคอนอยู่หลายครั้งและไปเยี่ยมเขาที่สตูดิโอในช่วงต้นฤดูใบไม้ร่วง ปี1946 หลังจากนั้นก็ได้ทำการซื้อผลงานของเบคอนอย่างทันทีในราคา 200ปอนด์(ผลงานชิ้นนี้ได้ถูกนำไปแสดงในหลายๆกลุ่ม รวมถึงกลุ่มของชาวอังกฤษ Exposition internationale d'arte moderne คือในวันที่ 18 พฤศจิกายน–28 ธันวาคม 1946 จัดขึ้นที่Musée National d'Art Moderne ซึ่งเป็นช่วงที่เบคอนไปเที่ยวที่ปารีส)
ในคืนนั้นที่ขายงานpainting 1946 ที่Hanover gallery เบคอนได้ออกจากลอนดอนไปMonte Carlo หลังจากนั้นก็ได้อาศัยอยู่ที่นั่นอย่างต่อเนื่องทั้งโรงพยาบาลและแฟลตรวมถึงHôtel de Ré อีกทั้งเบคอนได้มาอาศัยอยู่ในหมู่บ้านใหญ่La Frontalière ซึ่งอยู่บนเขาไกลจากตัวเมือง Eric Hall และNanny Lightfoot ได้เข้ามาอาศัยด้วย เบคอนได้ใช้ช่วงเวลายาวนานในที่นี่และได้ติดต่อกับGraham Sutherland และ Erica Brausen จดหมายของเขาได้แสดงว่าเขายังคงวาดรูปอยู่ที่Monte Carlo แต่ไม่มีใครสามารถรู้ได้ว่าผลงานพวกนั้นอยู่ที่ไหน
ในปี1948 ผลงานpainting 1946 ของเขาได้ถูกขายให้กับAlfred Barr เพื่อไว้แสดงที่พิพิธภัณฑ์สมัยใหม่ในนิวยอร์ก เบคอนได้เขียนจดหมายไปยังSutherland ถามเกี่ยวกับการซ่อมแซมโดยนำสีที่มาแปะติดภาพก่อนที่จะถูกนำไปที่นิวยอร์ก ปัจจุบันผลงานชิ้นนี้เปราะบางและแตกง่ายมากเกินกว่าที่จะเคลื่อนย้ายออกจากพิพิธภัณฑ์นี้หรือที่อื่น ๆ[29]
Study after Velazquez's Portrait of Pope Innocent X 1953
[แก้]ภาพนี้แสดงความบิดเบือนของร่างกายรวมถึงใบหน้าของVelázquez ซึ่งเบคอนได้ถูกดำเนินการทางกฎหมายตั้งแต่ช่วงปี1950-ต้นปี1960 รูปนี้ได้ถูกบรรยายโดยGilles Deleuze ว่าเป็นตัวอย่างของการสร้างสรรค์การตีความใหม่ของรูปแบบเดิม ภาพสันตะปาปาVelázquez ในปี1650 ถึงแม้ว่าเบคอนจะหลีกเลี่ยงการมองแบบดั้งเดิม แต่มันก็เป็นการย้ำอิทธิพลของการวาดภาพของเขา และมันเป็นงานที่ดีที่สุดงานหนึ่งในช่วงปลายปี1940-ต้นปี1960
เมื่อถามว่าทำไมเขาถึงถูกบังคับให้กลับมาเยี่ยมบ่อยๆ เบคอนได้ตอบว่าเขาไม่ได้เป็นอะไรหรือมีอะไร ไม่ได้เป็นศัตรูอะไรกับสันตะปาปา เขาแค่หาเหตุผลที่จะใช้สีเหล่านั้นก็เท่านั้น ในผลงานชิ้นเอกชิ้นนี้ของเบคอน พระสันตะปาปาแสดงถึงสีหน้าที่กำลังกรีดร้องแบบเงียบๆ ซึ่งถูกปิดประดับด้วยสีเข้ม พื้นหลังสีเข้มนี้นั้นทำให้มันดูพิสดารและดูเป็นฝันร้าย รอยจีบ รอยพับม่านที่อยู่ฉากหลังนั้นถูกทำให้โปร่งใสมองเห็นทะลุผ่าน และลายเส้นนี้ถูกวาดตวัดลงมาผ่านหน้าและตัวของพระสันตะปาปา[30]
Two Figures (1953)
[แก้]ฟรานซิส เบคอนเป็นศิลปินที่เป็นรักร่วมเพศ ซึ่งบางครั้งก็วาดภาพออกมาแบบชายรักชายหรือมีความสัมพันธ์ทางเพศของชายกับชาย “การดำเนินงานที่สร้างสรรค์ คืออาหารเรียกน้ำย่อยของสัญชาตญาณ ทักษะ วัฒนธรรม สิ่งที่ตื่นเต้นเร้าใจสูงสุด มันไม่ใช่ยา แต่มันคือสถานภาพที่พิเศษเมื่อทุกอย่างเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว การผสมผสานกันของความมีจิตสำนึกและไม่มีจิตสำนึก ความกลัว ความพอใจ มันคือสิ่งเล็กๆ ที่ถูกทำให้กลายเป็นความรัก เป็นความรักที่แสดงออกทางกาย” เป็นประโยคที่อ้างอิงจากฟรานซิส เบคอน[31]
Study for a Portrait of Van Gogh IV (1957)
[แก้]เบคอนได้วาดภาพนี้โดยนำมาจากการวาดภาพบุคคลของวินเซน แวนโก๊ะ ซึ่งเขาเคยเห็นมาจากรูปภาพ เพราะวาดภาพจริงๆ ของแวนโก๊ะนั้นได้ถูกทำลายไปตอนช่วงที่มีสงคราม ซึ่งเงาดำๆ ของภาพนี้เป็นการสื่อถึงอารมณ์ความเศร้า แวนโก๊ะสรุปความคิดนี้จากการตีความผิดของศิลปินโดยแยกจากหลักทางสังคม
เบคอนอาจจะเคยถูกกระตุ้นจากภาพยนต์Lust for Life นำโดยKirk Douglas แทนแวนโก๊ะซึ่งถูกฉายในเวลาต่อมา ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นการเพิ่มความแข็งแรงของแนวคิดแวนโก๊ะที่เป็นอัจฉริยะโดดเดี่ยว[32]
แกลลอรี่
[แก้]ช่วง 1930-1950
[แก้]
|
|
ช่วง 1960-1980
[แก้]
|
|
เชิงอรรถ
[แก้]- ↑ Francis Bacon: Biography, [ออนไลน์], เข้าถึงเมื่อ 13 พฤศจิกายน 2557, แหล่งที่มาhttp://www.biography.com/people/francis-bacon-21415553#synopsis
- ↑ Francis Bacon, [ออนไลน์], เข้าถึงเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2557, แหล่งที่มา http://www.theartstory.org/artist-bacon-francis.htm
- ↑ The official site of The Estate of Francis Bacon, Biography 1909-1926, [ออนไลน์], เข้าถึงเมื่อ 13 พฤศจิกายน 2557, แหล่งที่มา http://www.francis-bacon.com/biography/?c=1909-26
- ↑ เว็บไซต์เดียวกัน
- ↑ Francis Bacon Biography, [ออนไลน์], เข้าถึงเมื่อ 13 พฤศจิกายน 2557, แหล่งที่มา http://www.biography.com/people/francis-bacon-21415553#synopsis
- ↑ Francis Bacon, [ออนไลน์], เข้าถึงเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2557, แหล่งที่มา http://www.theartstory.org/artist-bacon-francis.htm
- ↑ เว็บไซต์เดียวกัน
- ↑ Francis Bacon Biography, [ออนไลน์], เข้าถึงเมื่อ 13 พฤศจิกายน 2557, แหล่งที่มา http://www.biography.com/people/francis-bacon-21415553#synopsis
- ↑ Francis Bacon, [ออนไลน์], เข้าถึงเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2557, แหล่งที่มา http://www.theartstory.org/artist-bacon-francis.htm
- ↑ เว็บไซต์เดียวกัน
- ↑ Francis Bacon Biography, [ออนไลน์], เข้าถึงเมื่อ 13 พฤศจิกายน 2557, แหล่งที่มา http://www.biography.com/people/francis-bacon-21415553#synopsis
- ↑ Francis Bacon, [ออนไลน์], เข้าถึงเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2557, แหล่งที่มา http://www.theartstory.org/artist-bacon-francis.htm
- ↑ Francis Bacon Biography, [ออนไลน์], เข้าถึงเมื่อ 13 พฤศจิกายน 2557, แหล่งที่มา http://www.biography.com/people/francis-bacon-21415553#synopsis
- ↑ เว็บไซต์เดียวกัน
- ↑ Francis Bacon, [ออนไลน์], เข้าถึงเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2557, แหล่งที่มา http://www.theartstory.org/artist-bacon-francis.htm
- ↑ Francis Bacon Biography, [ออนไลน์], เข้าถึงเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2557, แหล่งที่มา http://www.biography.com/people/francis-bacon-21415553#synopsis
- ↑ เว็บไซต์เดียวกัน
- ↑ Francis Bacon Biography, [ออนไลน์], เข้าถึงเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2557, แหล่งที่มา http://www.biography.com/people/francis-bacon-21415553#synopsis
- ↑ เว็บไซต์เดียวกัน
- ↑ Francis Bacon, [ออนไลน์], เข้าถึงเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2557, แหล่งที่มา http://www.theartstory.org/artist-bacon-francis.htm
- ↑ Francis Bacon Biography, [ออนไลน์], เข้าถึงเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2557, แหล่งที่มา http://www.biography.com/people/francis-bacon-21415553#synopsis
- ↑ Francis Bacon, [ออนไลน์], เข้าถึงเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2557, แหล่งที่มา http://www.theartstory.org/artist-bacon-francis.htm
- ↑ เว็บไซต์เดียวกัน
- ↑ Francis Bacon Biography, [ออนไลน์]เข้าถึงเมื่อ 29 พฤศจิกายน 2557 , แหล่งที่มาhttp://www.biography.com/people/francis-bacon-21415553#synopsis
- ↑ Schmied, Wieland. Francis Bacon : commitment and conflict. Munich ; New York : Prestel, c1996.
- ↑ Sylvester, David. Looking back at Francis Bacon. London : Thames & Hudson, c2000.
- ↑ Schmied, Wieland. Francis Bacon : commitment and conflict. Munich ; New York : Prestel, c1996.
- ↑ Three Studies for Figures at the Base of a Crucifixion, [ออนไลน์], เข้าถึงเมื่อ 29 พฤศจิกายน 2557, แหล่งที่มา http://en.wikipedia.org/wiki/Three_Studies_for_Figures_at_the_Base_of_a_Crucifixion
- ↑ Painting1946, [ออนไลน์], เข้าถึงเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2557, แหล่งที่มา http://en.wikipedia.org/wiki/Painting_(1946)
- ↑ Study after Velazquez's Portrait of Pope Innocent X 1953, [ออนไลน์], เข้าถึงเมื่อ 29 พฤศจิกายน 2557, แหล่งที่มา http://en.wikipedia.org/wiki/Study_after_Vel%C3%A1zquez's_Portrait_of_Pope_Innocent_X
- ↑ Francis Bacon. Francis Bacon Painting, [ออนไลน์], เข้าถึงเมื่อ 29 พฤศจิกายน 2557, แหล่งที่มา http://www.artquotes.net/masters/bacon/paint_2figures.html[ลิงก์เสีย]
- ↑ Study for a Portrait of Van Gogh IV 1957, [ออนไลน์], เข้าถึงเมื่อ 29 พฤศจิกายน 2557, แหล่งที่มา , http://www.tate.org.uk/art/artworks/bacon-study-for-a-portrait-of-van-gogh-iv-t00226
อ้างอิง
[แก้]- Francis Bacon Biography. เข้าถึงเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2557, เข้าถึงได้จาก http://www.biography.com/people/francis-bacon-21415553#synopsis
- Francis Bacon. เข้าถึงเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2557, เข้าถึงได้จาก http://www.theartstory.org/artist-bacon-francis.htm
- James Hyman Gallery. Francis Bacon. เข้าถึงเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2557, เข้าถึงได้จาก http://www.jameshymangallery.com/artists/79/biography/francis-bacon
- Michel leiris. Francis Bacon: Chronology. (New York: Rizzoli), 1988. Page20 ISBN 08847809048.
- The official site of The Estate of Francis Bacon. Francis Bacon, เข้าถึงเมื่อ 13 พฤศจิกายน 2557, เข้าถึงได้จาก http://www.francis-bacon.com