ฟรันส์ ฮัลส์
ฟรันส์ ฮัลส์ | |
---|---|
ภาพคัดลอกภาพเหมือนตนเองของฟรันส์ ฮัลส์ | |
เกิด | ประมาณ ค.ศ. 1582 แอนต์เวิร์ป แฟลนเดอส์ เนเธอร์แลนด์ของสเปน (ปัจจุบันอยู่ในเบลเยียม) |
เสียชีวิต | 26 สิงหาคม ค.ศ. 1666 (83–84 ปี) ฮาร์เลม สาธารณรัฐดัตช์ (ปัจจุบันอยู่ในเนเธอร์แลนด์) |
สัญชาติ | ดัตช์ |
ผลงานเด่น | หญิงสาวยิปซี (ค.ศ. 1628) แควาเลียร์ผู้หัวเราะ (ค.ศ. 1624) เด็กชายผู้หัวเราะ (ประมาณ ค.ศ. 1625) |
ฟรันส์ ฮัลส์ (ดัตช์: Frans Hals; ประมาณ ค.ศ. 1582 – 26 สิงหาคม ค.ศ. 1666) เป็นจิตรกรชาวดัตช์ในสมัยยุคทองของเนเธอร์แลนด์ในคริสต์ศตวรรษที่ 16 และ 17 ฮัลส์มีชื่อเสียงในการเขียนภาพเหมือนและการใช้ฝีแปรงที่อิสระและเป็นผู้นำวิธีการเขียนที่มีชีวิตชีวามาสู่ศิลปะดัตช์ และเป็นผู้มีบทบาทในการวิวัฒนาการการเขียนภาพเหมือนของกลุ่มคนในคริสต์ศตวรรษที่ 17
ชีวิต
[แก้]ฟรันส์ ฮัลส์ เกิดเมื่อราว ค.ศ. 1582 หรือ ค.ศ. 1583[1] ที่เมืองแอนต์เวิร์ป ประเทศเนเธอร์แลนด์ (ปัจจุบันอยู่ในประเทศเบลเยียม) ครอบครัวของฮัลส์ก็เช่นเดียวกับครอบครัวอื่นที่หลบหนีออกจากแอนต์เวิร์ประหว่างการเสียเมืองแอนต์เวิร์ป (Fall of Antwerp, 1584–1585)[2] จากเนเธอร์แลนด์ของสเปนไปฮาร์เลมที่ฮัลส์อาศัยอยู่จนตลอดชีวิต ฮัลส์ได้รับการศึกษาทางศิลปะจากจิตรกรชาวเฟลมิชที่หลบหนีมาอีกคนหนึ่งกาเริล ฟัน มันเดอร์ (Karel van Mander)[1][3] ที่ได้รับอิทธิพลจากลัทธิจริตนิยม แต่ไม่เห็นได้ชัดในภาพเขียน
เมื่ออายุได้ 27 ปีฮัลส์ก็ได้เป็นสมาชิกของสมาคมช่างนักบุญลูกา และเริ่มทำงานเป็นช่างซ่อมศิลปะสำหรับเทศบาลเมือง ฮัลส์ซ่อมภาพในงานสะสมขนาดใหญ่ที่กาเริล ฟัน มันเดอร์ บรรยายในหนังสือ "หนังสือจิตรกรรม" (Het Schilder-Boeck) ที่พิมพ์ในปี ค.ศ. 1604 งานที่เด่นคืองานของเคร์ตเคิน โตต ซินต์ ยันส์ (Geertgen tot Sint Jans), ยัน ฟัน สโคเริล (Jan van Scorel) และยัน โมสตาร์ต (Jan Mostaert) ที่แขวนอยู่ที่วัดเซนต์จอห์นในฮาร์เลม งานซ่อมภาพเขียนเป็นงานที่เมืองฮาร์เลมเป็นผู้จ่ายค่าจ้าง เพราะงานเขียนทางศาสนาทั้งหมดถูกยึดหลังจากเกิดการทำลายรูปเคารพ แต่งานเขียนทั้งหมดมิได้เป็นของเมืองฮาร์เลมอย่างเป็นทางการจนกระทั่งปี ค.ศ. 1625 หลังจากที่ผู้อาวุโสของเมืองตัดสินความเหมาะสมของภาพที่จะเป็นเจ้าของ งานที่เหลือถูกตัดสินว่าเป็นโรมันคาทอลิกเกินไปและถูกขายให้แก่กอร์เนลิส กลาสส์ ฟัน วีริงเงิน (Cornelis Claesz van Wieringen) สมาชิกสมาคมช่างเขียนด้วยกัน โดยมีข้อแม้ว่าต้องนำออกจากเมือง เมื่อไม่มีงานเขียนมากนักที่จะต้องซ่อม ฮัลส์จึงต้องเริ่มอาชีพใหม่เป็นช่างเขียนภาพเหมือน
สมุดภาพ
[แก้]ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 Frans Hals at the Netherlands Institute for Art History (ในภาษาดัตช์)
- ↑ Liedtke, Walter (August 2011). "Heilbrunn Timeline of Art History". metmuseum.org. สืบค้นเมื่อ 29 March 2020.
- ↑ Slive, Seymour, Frans Hals, and P. Biesboer (1989). Frans Hals. Munich: Prestel. p. 379. ISBN 9783791310329. OCLC 20742077.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Frans Hals – The Complete Works