พิพิธภัณฑ์เปอรานากัน
ก่อตั้ง | 25 เมษายน พ.ศ. 2551 |
---|---|
ที่ตั้ง | 39 ถนนอาร์เมเนียน (1°17′39.2″N 103°50′56.9″E / 1.294222°N 103.849139°E) สิงคโปร์ |
ประเภท | มรดกเปอรานากัน |
ขนส่งมวลชน | สถานี City Hall MRT |
เว็บไซต์ | http://www.peranakanmuseum.sg |
พิพิธภัณฑ์เปอรานากัน (อังกฤษ: Peranakan Museum) เป็นพิพิธภัณฑ์ในสิงคโปร์ที่จัดแสดงวัฒนธรรมเปอรานากันโดยเฉพาะ เดิมเคยเป็นพิพิธภัณฑ์อารยธรรมเอเชียสาขาแรก เป็นพิพิธภัณฑ์แห่งแรกของโลกที่จัดแสดงวัฒนธรรมเปอรานากันในสิงคโปร์และนิคมช่องแคบอื่นๆในมะละกาและปีนังในอดีต และชุมชนเปอรานากันอื่นๆในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้[1] ตั้งอยู่ในอาคาร Old Tao Nan School ที่ถนนอาร์เมเนียน ใช้เป็นส่วนจัดแสดงเพิ่มเติมจากศิลปวัตถุในพิพิธภัณฑ์อารยธรรมเอเชีย
เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2549 พิพิธภัณฑ์อารยธรรมเอเชีย หรือที่ต่อมารู้จักกันว่า ACM 1[1] ได้ปิดสาขาที่ถนนอาร์เมเนียนเพื่อปรับปรุงครั้งใหญ่ ซึ่งขณะที่ปิดนั้น ฝ่ายจัดการพิพิธภัณฑ์ได้เลือกวัฒนธรรมเปอรานากันมาเป็นหัวข้อใหม่ในการจัดแสดงในอาคาร Tao Nan School โดยหัวข้อที่ได้รับการพิจารณาด้วยคือ พิพิธภัณฑ์เด็ก และพิพิธภัณฑ์เครื่องเคลือบดินเผาจีน ทำให้พิพิธภัณฑ์เป็นสถานที่จัดแสดงศิลปวัตถุและเครื่องใช้ของชาวเปอรานากันที่มีเอกลักษณ์และครอบคลุมมากที่สุดในโลก แต่ละปีมีผู้เข้าชมราว 112,000 คน หลังจากปรับปรุง ทำให้มีพื้นที่จัดแสดงมากขึ้นร้อยละ 25 สำหรับจัดแสดงแง่มุมต่างๆ ของบ้านและวิถีชีวิตแบบเปอรานากัน และยังมีแผนการสร้างร้านอาหารและร้านค้าแบบเปอรานากันที่ห้องแถวสี่คูหาติดกับอาคารพิพิธภัณฑ์[2]
พิพิธภัณฑ์เปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2551 ประกอบด้วยห้องจัดแสดงถาวร 10 ห้องที่จัดแสดงวิถีชีวิตของชาวแปอรานากัน จุดสำคัญของพิพิธภัณฑ์คือ เตียงงานแต่งงานแบบเปอรานากัน ที่เคยเป็นของ Mrs. Quah Hong Chiam จากปีนัง ซึ่งเธอได้ให้กำเนิดบุตรเจ็ดคนแรกจาก 11 คนบนเตียงหลังนี้[3] ส่วนห้องจัดแสดงอื่นๆมีดังต่อไปนี้
- Gallery 1 : ต้นกำเนิด (ชั้น 1) แนะนำวัฒนธรรมเปอรานากันและชุมชนเปอรานากันต่างๆ ในสิงคโปร์ มะละกา ปีนัง และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
- Gallery 2-5 : การแต่งงาน (ชั้น 2) เรื่องราวของงานแต่งงาน 12 วันตามประเพณีเปอรานากัน จัดแสดงพิธีสำคัญอย่าง Lap chai (การเแลกเปลี่ยนของขวัญ) และ Chiu thau (การเจริญวัย) ผู้เข้าชมยังสามารถชมห้องแต่งงานอันวิจิตรงดงามและขั้นตอนในพิธีแต่งงาน
- Gallery 6 : Nonya (ชั้น 3) จัดแสดงศิลปะและงานหัตถกรรมของ Nonya อย่างเช่นงานร้อยลูกปัด และการถ่ายทอดมรดกทางวัฒนธรรมจากสตรีสู่เด็ก
- Gallery 7 : ศาสนา (ชั้น 3) จัดแสดงเกี่ยวกับศาสนาและศรัทธาของชาวเปอรานากัน
- Gallery 8 : ชีวิตสาธารณะ (ชั้น 3) จัดแสดงเกี่ยวกับชาวเปอรานากันที่มีชื่อเสียงทางการค้า การเมือง และงานสังคมในประวัติศาสตร์สิงคโปร์
- Gallery 9 : อาหารและงานเลี้ยงฉลอง (ชั้น 3) จัดแสดงงานเลี้ยงใหญ่ที่มีชุดเครื่องถ้วยชามแบบ nonya ที่ดีที่สุดในโลก
- Gallery 10 : สนทนา (ชั้น 3) สื่อทางภาพสรุปที่แสดงถึงทัศนคติของชาวเปอรานากันสมัยใหม่และความรู้สึกที่มีต่อมรดกทางวัฒนธรรม และอนาคตของวัฒนธรรมเปอรานากัน
- Special Exhibition Galleries (ชั้น 2 และ 3) เป็นส่วนจัดแสดงนิทรรศการหมุนเวียน[3]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 "Singapore's Newest Museum Opens: showcasing the finest and most comprehensive Peranakan collection in the world" (Press release). Asian Civilizations Museum. 2008-04-17.
- ↑ Boo, Krist (2005-12-21). "Closing end-2005: reopening as Peranakan showcase after 2 years; Armenian Street museum wants to have the best collection in the world, and it's a week of free entry before $12m revamp". Straits Times.
- ↑ 3.0 3.1 "Singapore's Newest Museum Opens Annex I (Fact Sheet)" (Press release). Asian Civilizations Museum. 2008-04-17.