ข้ามไปเนื้อหา

พันธะโคเวเลนต์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก พันธะเดี่ยว)
ในโมเลกุลของฟลูออรีน อะตอมของธาตุฟลูออรีนสองอะตอมสร้างพันธะโคเวเลนต์กัน

พันธะโคเวเลนต์ (อังกฤษ: Covalent bond) คือพันธะเคมี ภายในโมเลกุลลักษณะหนึ่ง พันธะโคเวเลนต์เกิดจากอะตอมสองอะตอมใช้เวเลนซ์อิเล็กตรอนหนึ่งคู่หรือมากกว่าร่วมกัน ทำให้เกิดแรงดึงดูดที่รวมอะตอมเป็นโมเลกุลขึ้น อะตอมมักสร้างพันธะโคเวเลนต์เพื่อเติมวงโคจรอิเล็กตรอนรอบนอกสุดให้เต็ม ดังนั้น อะตอมที่สร้างพันธะโคเวเลนต์จึงมักมีเวเลนซ์อิเล็กตรอนอยู่มาก เช่น ธาตุหมู่ VI และหมู่ VII เป็นต้น พันธะโคเวเลนต์แข็งแรงกว่าพันธะไฮโดรเจนและมีความแข็งแรงพอ ๆ กับพันธะไอออนิก

พันธะโคเวเลนต์มักเกิดขึ้นระหว่างอะตอมที่มีค่าอิเล็กโตรเนกาทิวิตีใกล้เคียงกัน ธาตุอโลหะมีแนวโน้มที่จะสร้างพันธะโคเวเลนต์มากกว่าธาตุโลหะซึ่งมักสร้างพันธะโลหะ เนื่องจากอิเล็กตรอนของธาตุโลหะสามารถเคลื่อนอย่างอิสระ ในทางกลับกัน อิเล็กตรอนของธาตุอโลหะไม่สามารถเคลื่อนที่ได้อย่างอิสระนัก การใช้อิเล็กตรอนร่วมกันจึงเป็นทางเลือกเดียวในการสร้างพันธะกับธาตุที่มีสมบัติคล้าย ๆ กัน อย่างไรก็ดี พันธะโคเวเลนต์ที่มีโลหะนั้นมีความสำคัญอย่างยิ่งในการเร่งปฏิกิริยา ตัวอย่างเช่น พันธะโคเวเลนต์ระหว่างสารอินทรีย์กับโลหะเป็นเครื่องมือสำคัญของกระบวนการสร้างพอลิเมอร์หลายๆ กระบวนการ เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม ในการศึกษาในระดับที่สูงขึ้นจะพบว่า พันธะโคเวเลนต์ไม่จำเป็นต้องเกิดขึ้นระหว่างธาตุโลหะกับอโลหะเท่านั้น

นิยามโดย IUPAC

[แก้]

"บริเวณที่มีความหนาแน่นสัมพัทธ์ของอิเล็กตรอนสูงระหว่างนิวเคลียส ที่มีการใช้อิเล็กตรอนร่วมกันและก่อให้เกิดแรงดึงดูดและระยะทางระหว่างนิวเคลียสที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ"


คุณสมบัติทางกายภาพของสารประกอบโคเวเลนต์

[แก้]
สมบัติทางกายภาพ สารประกอบโคเวเลนต์
สถานะ (ที่อุณหภูมิห้อง) ของแข็ง, ของเหลว, แก๊ส
การนำไฟฟ้า โดยปกติไม่มี
จุดเดือดและจุดหลอมเหลว มีหลายค่า โดยทั่วไปจะต่ำกว่าสารประกอบไอออนิก
การละลายในน้ำ มีหลายค่า โดยทั่วไปจะต่ำกว่าสารประกอบไอออนิก
การนำความร้อน โดยทั่วไปต่ำ

ดูเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]