เพาล์ เฮาเซอร์
เพาล์ เฮาเซอร์ | |
---|---|
เพาล์ เฮาเซอร์ ในขณะดำรงยศเป็นเอ็สเอ็ส-กรุพเพินฟือเรอร์ ในปี ค.ศ. 1943 | |
เกิด | 7 ตุลาคม ค.ศ. 1880 บรันเดินบวร์คอันแดร์ฮาเฟิล, จักรวรรดิเยอรมัน |
เสียชีวิต | 21 ธันวาคม ค.ศ. 1972 ลุดวิจส์บูร์ก, เยอรมนีตะวันตก | (92 ปี)
สุสาน | |
รับใช้ | เยอรมนี เยอรมนี ไรช์เยอรมัน |
แผนก/ | กองทัพปรัสเซีย ไรชส์เฮร์ วัฟเฟิน-เอ็สเอ็ส |
ประจำการ | 1892–1932 1934–1945 |
ชั้นยศ | นายกลุ่มใหญ่ (SS-Oberst-Gruppenführer) |
เลขประจำตัว | NSDAP #4,138,779[1] SS #239,795[1] |
บังคับบัญชา | กองพลเอ็สเอ็ส ดัสไรช์ เหล่าพันเซอร์เอ็สเอ็สที่ 2 กองทัพที่ 7 |
การยุทธ์ | สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง สงครามโลกครั้งที่สอง |
บำเหน็จ | กางเขนเหล็กกางเขนอัศวินประดับด้วยใบโอ๊กและดาบ |
งานอื่น | ผู้ก่อตั้ง HIAG, กลุ่มล็อบบีวัฟเฟิน-เอ็สเอ็ส |
เพาล์ เฮาเซอร์ (เยอรมัน: Paul Hausser; 7 ตุลาคม ค.ศ. 1880 – 21 ธันวาคม ค.ศ. 1972) เป็นผู้บัญชาการระดับยศสูงในหน่วยวัฟเฟิน-เอ็สเอ็สแห่งนาซีเยอรมนี ผู้มีบทบาทสำคัญในช่วงหลังสงครามในความพยายามของเหล่าอดีตสมาชิกของหน่วยวัฟเฟิน-เอ็สเอ็สเพื่อฟื้นฟูประวัติศาสตร์และกฎหมาย
เฮาเซอร์ได้ทำหน้าที่เป็นเจ้าหน้าที่นายทหารในกองทัพปรัสเซียในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่งและได้รับตำแหน่งยศเป็นนายพลในไรชส์เฮร์ในช่วงระหว่างสงคราม ภายหลังจากปลดเกษียณ เขาได้เข้าร่วมหน่วยเอ็สเอ็สแห่งนาซีเยอรมนีและได้สร้างประโยชน์ในการจัดตั้งหน่วยวัฟเฟิน-เอ็สเอ็ส ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เขาได้ก้าวถึงระดับผู้บัญชาการกองทัพกลุ่ม เขาได้นำทหารหน่วยวัฟเฟิน-เอ็สเอ็สในยุทธการที่คาร์คอฟครั้งที่ 3, ยุทธการที่คูสค์ และการทัพนอร์ม็องดี เฮาเซอร์เป็นเจ้าหน้าที่ระดับสูงในหน่วยวัฟเฟิน-เอ็สเอ็สพร้อมกับเซพพ์ ดีทริซ ซึ่งไม่เหมือนกับดีทริซ เฮาเซอร์นั้นเป็นเจ้าหน้าที่นายทหารระดับมืออาชีพก่อนที่จะเข้าร่วมหน่วยวัฟเฟิน-เอ็สเอ็ส
หลังสงคราม เฮาเซอร์ได้กลายเป็นสมาชิกร่วมก่อตั้งและเป็นโฆษกคนแรกของกลุ่ม HIAG กลุ่มล็อบบี้และองค์กรทหารผ่านศึกที่ได้รับการตรวจสอบใหม่ ก่อตั้งโดยเหล่าอดีตเจ้าหน้าที่ระดับสูงในหน่วยวัฟเฟิน-เอ็สเอ็สในเยอรมนีตะวันตกในปี ค.ศ. 1951 ได้รณนงค์เพื่อฟื้นฟูสิทธทางกฎหมายและเศรษฐกิจของหน่วยวัฟเฟิน-เอ็สเอ็สที่ได้ใช้โฆษณาชวนเชื่อการรณรงค์หลายอย่างเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย
เฮาเซอร์ได้แต่งหนังสือสองเล่ม ซึ่งได้รับการตีพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ฝ่ายขวา ได้โต้แย้งกับบทบาททางทหารได้อย่างหมดจดของหน่วยวัฟเฟิน-เอ็สเอ็ส และลงความเห็นว่าทหารของตนนั้นเป็น"ทหารเหมือนคนอื่น" ตามชื่อหนังสือเล่มที่สอง ภายใต้การนำของเฮาเซอร์ กลุ่ม HIAG ได้เปลี่ยนภาพลักษณ์ของหน่วยวัฟเฟิน-เอ็สเอ็สให้ถูกเรียกว่าเป็นกองกำลังรวมของยุโรปที่ได้สู้รบอย่างมีคุณธรรมและไม่ได้มีส่วนร่วมในอาชญากรรมสงครามหรือความโหดร้ายของนาซี ความคิดเหล่านี้ได้รับการปฏิเสธโดยนักประวัติศาสตร์
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 Miller 2015, p. 34.