พระเจ้าโมฮัมเหม็ด ซาเฮียร์ ชาห์
พระเจ้าโมฮัมเหม็ด ซาเฮียร์ ชาห์ محمد ظاهر شاه | |
---|---|
พระบรมฉายาลักษณ์ของพระองค์ใน พ.ศ. 2506 | |
พระมหากษัตริย์อัฟกานิสถาน | |
ครองราชย์ | 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2476 – 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2516 |
ราชาภิเษก | 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2479 |
ก่อนหน้า | พระเจ้าโมฮัมหมัด นาดิร ชาห์ |
ถัดไป | สิ้นสุดระบอบกษัตริย์ โมฮัมเหม็ด ดาวูด ข่าน (ประธานาธิบดี) |
ประมุขราชวงศ์บารักไซ | |
ครองราชย์ | 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2476 – 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 |
ก่อนหน้า | พระเจ้าโมฮัมหมัด นาดิร ชาห์ |
ถัดไป | เจ้าชายอาหมัด ชาห์ ข่าน มกุฎราชกุมารแห่งอัฟกานิสถาน |
ประสูติ | 15 ตุลาคม พ.ศ. 2457 คาบูล, เอมิเรตส์แห่งอัฟกานิสถาน |
สวรรคต | 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 (92 ปี) คาบูล, อัฟกานิสถาน |
ฝังพระศพ | 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 เขามารันจัน |
คู่อภิเษก | สมเด็จพระราชินีฮุไมรา เบกุมแห่งอัฟกานิสถาน |
พระราชบุตร | 8 พระองค์ |
ราชวงศ์ | บารักไซ |
พระราชบิดา | พระเจ้าโมฮัมเหม็ด นาดิร ชาห์ |
พระราชมารดา | มาร์ ปะวาห์ เบกุม |
ศาสนา | อิสลามซุนนี |
พระเจ้าโมฮัมหมัด ซาเฮียร์ ชาห์ (ปาทาน/ดารี: محمد ظاهر شاه ; พระราชสมภพเมื่อ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2457 และสวรรคตเมื่อ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2550) เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์สุดท้ายแห่งราชอาณาจักรอัฟกานิสถาน ครองราชย์ตั้งแต่วันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2476 จนกระทั่งทรงสละราชสมบัติในวันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2516[1] ในรัชสมัยของพระองค์มีการเจริญความสัมพันธไมตรีกับหลายนานาชาติ และสานสัมพันธไมตรีกับประเทศในสงครามเย็นทั้งสองฝ่าย[2] ในรัชสมัยของพระองค์มีการพัฒนาชาติให้ทันสมัยและเจริญรุ่งเรือง และได้ปกครองโดยระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ ก่อนจะถูกปฏิวัติในเวลาต่อมา
ระหว่างที่พระองค์เสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศอิตาลี พระองค์ถูกล้มล้างราชวงศ์จากการรัฐประหารในปี พ.ศ. 2516 ซึ่งนำโดยพระญาติของพระองค์คือ โมฮัมเหม็ด ดาวูด ข่าน และเปลี่ยนระบอบเป็นสาธารณรัฐ[3] พระองค์ประทับอยู่ที่กรุงโรม จนกระทั่งปี พ.ศ. 2545 พระองค์ได้เสด็จพระราชดำเนินกลับประเทศอัฟกานิสถานหลังจากสิ้นสุดการปกครองของตาลีบัน พระองค์ถูกขนานนามว่าบิดาแห่งอัฟกานิสถาน และดำรงสถานะดังกล่าวจนกระทั่งเสด็จสวรรคตใน พ.ศ. 2550[4]
พระชนม์ชีพช่วงต้น
[แก้]พระองค์เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2457 ที่กรุงคาบูล ราชอาณาจักรอัฟกานิสถาน เป็นพระราชโอรสของพระเจ้าโมฮัมเหม็ด นาดิร ชาห์ และมาร์ ปะวาห์ เบกุม พระองค์ทรงเข้าเรียนชั้นประถมศึกษาที่โรงเรียนฮาบิเบีย และจากนั้นก็ศึกษาต่อระดับมัธยมศึกษาที่โรงเรียนอะมานียะฮ์ (ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนมิซเตกีร์[5]) ต่อมาพระองค์ทรงศึกษาที่โรงเรียนเตรียมทหารในฤดูหนาว จากนั้นพระองค์ถูกส่งไปที่ฝรั่งเศสเพื่ออบรมหลักสูตรเพิ่มเติม และพระองค์จึงเสด็จพระราชดำเนินไปทรงศึกษาต่อที่ประเทศฝรั่งเศสซึ่งพระราชบิดาของพระองค์ประทับที่นั่น โดยทรงศึกษาที่สถาบันปาสเตอร์ มหาวิทยาลัยมงต์แปลิเออร์[6]
กษัตริย์พระองค์สุดท้ายแห่งอัฟกานิสถาน
[แก้]หลังพระเจ้าโมฮัมเหม็ด นาดิร ชาห์ถูกลอบปลงพระชนม์ พระองค์ได้เสด็จขึ้นครองราชย์ในวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2476 ขณะที่ยังทรงมีพระชนมพรรษาได้ 19 พรรษา พระองค์มิได้ทรงมีพระราชอำนาจในการบริหารประเทศตั้งแต่เริ่ม โดยอำนาจอยู่ที่พระราชปิตุลาของพระองค์คือ โมฮัมหมัด นาซิน ข่านและชาห์ มามูด ข่าน ซึ่งทั้งสองต่างดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ในรัชสมัยของพระองค์มีการสร้างความสัมพันธ์กับนานาชาติทั่วโลก และได้เข้าร่วมองค์การสันนิบาตชาติซึ่งได้รับการยอมรับจากสหรัฐ[7] ในช่วงปลายคริสต์ทศวรรษที่ 1930 อัฟกานิสถานได้บรรลุข้อตกลงจากหลายนานาชาติในการได้รับความช่วยเหลือและค้าขายกับนานาประเทศ โดยเฉพาะย่างยิ่งกับฝ่ายอักษะ ซึ่งนำโดยนาซีเยอรมนี อิตาลี และญี่ปุ่น[8]
แม้จะมีความสัมพันธ์แน่นแฟ้นกับฝ่ายอักษะ แต่พระองค์ปฏิเสธที่จะเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่สองโดยวางตัวเป็นกลาง หลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง อัฟกานิสถานก็เกิดเหตุชุลมุนวุ่นวายและเกิดวิกฤตการณ์การเมืองอย่างตึงเครียด พระองค์จึงทรงปฏิรูปประเทศให้ทันสมัยขึ้น[9] แต่การพัฒนาประเทศนั้นก็หยุดชะงักลงอย่างต่อเนื่องอันมาจากลัทธิฝักใฝ่ฝ่ายต่าง ๆ และความขัดแย้งทางการเมืองในช่วงสงครามเย็น[10] ทั้งนี้พระองค์ยังเคยทรงขอความช่วยเหลือจากสหรัฐและสหภาพโซเวียต และอัฟกานิสถานเป็นเพียงไม่กี่ประเทศในโลกที่ได้รับความช่วยเหลือจากทั้งสองฝ่ายในสงครามเย็น[11] พระองค์ทรงตรัสว่าแม้ท่านจะไม่ใช่ทุนนิยม แต่ก็มิได้ต้องการเป็นสังคมนิยมแต่อย่างใด เนื่องจากมิทรงต้องการให้อัฟกานิสถานอยู่ภายใต้อิทธิพลของสหภาพโซเวียตและประเทศจีนหรือประเทศใดๆ ก็ตาม[12]
พระองค์ทรงมีพระราชอำนาจอย่างเต็มตัวใน พ.ศ. 2506 แม้จะเกิดความขัดแย้งทางการเมือง แต่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรอัฟกานิสถานได้ถูกนำมาใช้ใน พ.ศ. 2507 ซึ่งทำให้อัฟกานิสถานเป็นระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ มีรัฐสภา และมีการเลือกตั้ง และยังให้สิทธิสตรีอีกด้วยซึ่งทำให้อัฟกานิสถานเจริญเป็นอย่างมาก อย่างไรก็ดี ด้วยระบอบการปกครองที่ไม่เสถียร ประกอบกับการปฏิรูปประเทศที่ล้มเหลวของพระองค์ หลายฝ่ายจึงมองว่านี่คืออีกสาเหตุประการหนึ่งที่ทำให้เกิดการปฏิวัติในประเทศขึ้นมาในปี พ.ศ. 2516 และยังถูกปฏิวัติซ้ำเป็นระบอบคอมมิวนิสต์ในปี พ.ศ. 2519[13]
หลังการล้มล้างราชวงศ์ พระองค์ได้เสด็จลี้ภัยอยู่ที่กรุงโรม ประเทศอิตาลีเป็นเวลาหลายปี และหลังจากอัฟกานิสถานสิ้นสุดการปกครองโดยตาลีบัน 4 เดือน พระองค์ได้เสด็จพระราชดำเนินกลับสู่อัฟกานิสถานในวันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2545 โดยประทับบนเครื่องบินของกองทัพอิตาลี และประธานาธิบดีฮามิด กาไบ ได้ไปเฝ้าฯรับเสด็จพระองค์ที่สนามบินกรุงคาบูล[14] พระองค์ยังทรงได้รับการต้อนรับอย่างดีจากชาวอัฟกัน และพระองค์ยังทรงเป็นศูนย์รวมจิตใจของทุกกลุ่มชาติพันธุ์ภายในประเทศ[15][16] โดยผู้แทนส่วนมากในสภาโลยา เจอร์กา ต่างเสนอให้มีการฟื้นฟูสถาบันกษัตริย์ขึ้นมาใหม่[17] ทว่าพระองค์กลับมิทรงปรารถนาที่จะฟื้นฟูระบอบกษัตริย์ขึ้นมาอีก[18]
สวรรคต
[แก้]ในวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 พระเจ้าโมฮัมเหม็ด ซาเฮียร์ ชาห์ เสด็จสวรรคตที่พระตำหนักบริเวณทำเนียบประธานาธิบดีอัฟกานิสถานหลังจากทรงพระประชวรมาเป็นเวลายาวนาน[19] โดยการสวรรคตของพระองค์ถูกแถลงการณ์โดยประธานาธิบดีฮามิด กาไบ[20] โดยเขากล่าวว่า "พระองค์ทรงเป็นผู้รับใช้ประชาชน ทรงเป็นผู้ที่เชื่อมั่นในการปกครองที่ยึดตามหลักสิทธิมนุษยชน"[21] พิธีพระบรมศพของพระองค์ถูกจัดขึ้นในวันที่ 24 กรกฎาคม ปีเดียวกัน โดยฝังพระบรมศพของพระองค์ไว้ที่สุสานหลวงบนเนินเขามะรันจัน ทางทิศตะวันออกของกรุงคาบูล[22]
พระบรมราชอิสริยยศ
[แก้]พระยศของ โมฮัมเหม็ด ซาเฮียร์ ชาห์แห่งอัฟกานิสถาน | |
---|---|
Reference style | ฮิสมาเจสตี |
การทูล | ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท |
ขณะพระองค์ทรงครองราชย์ทรงดำรงพระบรมราชอิสรริยศเป็น ฮิสมาเจสตี โมฮัมเหม็ด ซาเฮียร์ ชาห์แห่งอัฟกานิสถาน.[23]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Profile: Ex-king Zahir Shah". 1 October 2001 – โดยทาง news.bbc.co.uk.
- ↑ *C-SPAN: Afghan King & Queen 1963 Visit to U.S. Reel America Preview (official U.S. government video; public domain).
- ↑ "State funeral for Afghanistan's former President". UNAMA. 19 March 2009.
- ↑ Encyclopædia Britannica, "Mohammad Zahir Shah"
- ↑ "Lycee Esteqlal". World News.
- ↑ "Mohammad Zahir Shah, 92, Last King of Afghanistan". The New York Sun. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-07-09. สืบค้นเมื่อ 2021-07-08.
- ↑ Jentleson, Bruce W.; Paterson, Thomas G. (1997). "Encyclopedia of U.S. foreign relations". The American Journal of International Law. Oxford University Press: 24. ISBN 0-19-511055-2.
- ↑ Dupree, Louis: Afghanistan, pages 477–478. Princeton University Press, 1980
- ↑ "Profile: Ex-king Zahir Shah". BBC. 1 October 2001. สืบค้นเมื่อ 1 February 2008.
- ↑ Judah, Tim (23 September 2001). "Profile: Mohamed Zahir Shah". The Observer. สืบค้นเมื่อ 1 February 2008.
- ↑ Steyn, Mark (6 October 2001). "The man who would be king, if you don't mind". The Daily Telegraph. สืบค้นเมื่อ 8 March 2019.
- ↑ "Before Taliban". publishing.cdlib.org. สืบค้นเมื่อ 12 March 2019.
- ↑ "The Letter From the Afghan King" – โดยทาง www.washingtonpost.com.
- ↑ "April 18, 2002: Zahir Shah returns to Afghanistan after 29-year exile". Gulf News. สืบค้นเมื่อ 8 March 2019.
- ↑ "Afghanistan: Afghans Welcome Former King's Return". RadioFreeEurope/RadioLiberty. สืบค้นเมื่อ 8 March 2019.
- ↑ "No ordinary homecoming". BBC News. 17 April 2002. สืบค้นเมื่อ 8 March 2019.
- ↑ Bearak, Barry (24 July 2007). "Mohammad Zahir Shah, Last Afghan King, Dies at 92". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 8 March 2019.
- ↑ Bearak, Barry (24 July 2007). "Mohammad Zahir Shah, Last Afghan King, Dies at 92". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 8 March 2019.
- ↑ Bearak, Barry (24 July 2007). "Mohammad Zahir Shah, Last Afghan King, Dies at 92". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 8 March 2019.
- ↑ Barry Bearak, "Former King of Afghanistan Dies at 92", The New York Times, 23 July 2007.
- ↑ AP Archive (21 July 2015). "President Karzai announcing death of King Zahir Shah". สืบค้นเมื่อ 8 March 2019 – โดยทาง YouTube.
- ↑ "Afghanistan's King Mohammad Zahir Shah Laid to Rest", Associated Press (Fox News), 24 July 2007.
- ↑ "Foreign Relations of the United States Diplomatic Papers, 1934, Europe, Near East and Africa, Volume II - Office of the Historian". history.state.gov.