ข้ามไปเนื้อหา

พระบรมวงศานุวงศ์ในพระเจ้าการ์โลสที่ 4

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระบรมวงศานุวงศ์ในพระเจ้าการ์โลสที่ 4
ศิลปินฟรันซิสโก โกยา
ปีค.ศ. 1800–1801
สื่อภาพวาดสีน้ำมัน
มิติ280 cm × 336 cm (110 นิ้ว × 132 นิ้ว)
สถานที่พิพิธภัณฑ์ปราโด มาดริด

พระบรมวงศานุวงศ์ในพระเจ้าการ์โลสที่ 4 (สเปน: La familia de Carlos IV) เป็นจิตรกรรมสีน้ำมันบนผ้าใบโดยฟรันซิสโก โกยา จิตรกรชาวสเปน เขาเริ่มวาดภาพนี้ใน ค.ศ. 1800 ไม่นานหลังจากที่เขาได้เป็นจิตรกรหลวงห้องต้นของพระราชวงศ์ และวาดเสร็จในฤดูร้อน ค.ศ. 1801

ภาพวาดบุคคลนี้แสดงภาพพระเจ้าการ์โลสที่ 4 แห่งสเปนกับพระบรมวงศานุวงศ์ขนาดเท่าจริง ทรงฉลองพระองค์และเครื่องประดับอย่างโอ่อ่า บุคคลหลักในภาพวาดคือพระเจ้าการ์โลสที่ 4 และมาเรีย ลุยซาแห่งปาร์มา สมเด็จพระราชินีพระมเหสีของพระองค์ แวดล้อมไปด้วยพระราชโอรสและพระราชธิดา รวมถึงพระญาติวงศ์ พระราชวงศ์ทรงฉลองพระองค์ด้วยเครื่องแต่งกายร่วมสมัย พร้อมด้วยเครื่องประดับหรูหราและสายสะพายเครื่องราชอิสริยาภรณ์การ์โลสที่ 3[1]

ภาพวาดนี้จำลองมาจากภาพ พระบรมวงศานุวงศ์ในพระเจ้าเฟลิเปที่ 5 (ค.ศ. 1743) ของหลุยส์-มีแชล วาน โล ใน ค.ศ. 1743 และภาพ นางสนองพระโอษฐ์ ของดิเอโก เบลัซเกซ โดยจัดวางเหล่าข้าราชบริพารในสภาพแวดล้อมที่เป็นธรรมชาติคล้าย ๆ กัน[2] ในขณะที่ทุกพระองค์แสดงท่าทางให้จิตรกร มองเห็นได้จากขาตั้งภาพวาดตรงมุมด้านซ้ายของผ้าใบ

คำอธิบายงานจิตรกรรม

[แก้]
ภาพ นางสนองพระโอษฐ์ ของดิเอโก เบลัซเกซ ค.ศ. 1656

ภาพวาดหมู่เสร็จสิ้นหลังจากโกยาได้เป็นจิตรกรหลวงห้องต้นเป็นเวลาหนึ่งปี ตำแหน่งนี้เป็นตำแหน่งสูงสุดสำหรับจิตรกรชาวสเปนและครั้งหนึ่งเคยเป็นของดิเอโก เบลัซเกซ

โกยาไม่ได้บอกว่าเหตุใดเขาจึงเลือกสร้างแบบจำลองผลงานตามอาจารย์ในอดีต แม้ว่าในเวลานั้นยังไม่มีแนวคิดเกี่ยวกับประเพณีการวาดภาพแบบสเปนก็ตาม บางทีโกยาอาจได้รับแรงบันดาลใจจากช่วงเวลาที่ยากลำบาก หลังจากสิบเอ็ดปีผ่านไปสเปนยังคงต้องรับมือกับผลที่ตามมาของการปฏิวัติฝรั่งเศสซึ่งท้ายที่สุดนำมาซึ่งการรุกรานสเปนของจักรพรรดินโปเลียน และพระองค์ได้สถาปนาโฌแซ็ฟ โบนาปาร์ต พระเชษฐาขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์สเปนใน ค.ศ. 1808[3]

เห็นได้ชัดว่าพระราชวงศ์ได้เข้ามาเยี่ยมชมสถานที่ทำงานของจิตรกร โดยสามารถเห็นโกยาทางด้านซ้ายโดยมองออกไปสู่ผู้ชม[4] ดูเหมือนว่าโกยาจะมุ่งความสนใจไปที่บุคคลทั้งสาม ได้แก่ เจ้าชายแห่งอัสตูเรียสหรือพระเจ้าเฟร์นันโดที่ 7 แห่งสเปนในอนาคตซึ่งทรงฉลองพระองค์สีฟ้า พระราชชนนีของพระองค์คือสมเด็จพระราชินีมาเรีย ลุยซา ประทับยืนตรงกลาง และพระเจ้าการ์โลสที่ 4 แม้ว่าภาพนี้จะเป็นภาพที่เป็นทางการ แต่ก็สามารถบ่งบอกถึงความใกล้ชิดระหว่างสมาชิกในพระราชวงศ์ สมเด็จพระราชินีมาเรีย ลุยซาทรงกุมพระหัตถ์พระราชโอรสพระองค์เล็ก แตกต่างจากภาพ นางสนองพระโอษฐ์ ของดิเอโก เบลัซเกซ โดยภาพวาดนี้ไม่ได้แสดงภาพคนรับใช้หรือข้าราชบริพาร ที่สำคัญกว่านั้น โกยาละเว้นโครงสร้างการเล่าเรื่อง เป็นเพียงภาพวาดที่ผู้คนแสดงท่าทางเพื่อให้วาดภาพเท่านั้น[3]

เช่นเดียวกับในภาพ นางสนองพระโอษฐ์ จิตรกรจะแสดงตัวบนผืนผ้าใบซึ่งมองเห็นได้เฉพาะด้านหลังเท่านั้น อย่างไรก็ตามมุมมองบรรยากาศและความอบอุ่นภายในพระราชวังในผลงานของเบลัซเกซกลับถูกแทนที่ด้วยความรู้สึกที่กาซีเยอธิบายว่า "จวนจะอึดอัดหายใจไม่ออก" ในขณะที่ภาพของราชวงศ์ถูกนำเสนอบน "เวทีที่หันหน้าเข้าหาสาธารณชน ในขณะที่จิตรกรซึ่งอยู่ในเงามืดยิ้มอย่างขรึม ๆ แล้วพูดว่า 'ดูพวกพระองค์เหล่านี้ แล้วคุณตัดสินเองแล้วกัน!'"[4]

องค์ประกอบบุคคล

[แก้]
พระบรมวงศานุวงศ์ในพระเจ้าการ์โลสที่ 4 (พร้อมหมายเลข)

คนที่มองแทบจะไม่เห็นอยู่ในเงามืดเบื้องซ้ายคือตัวโกยาเอง[5] (2) ส่วนคนอื่น ๆ จากซ้ายไปขวาได้แก่

การตีความ

[แก้]

เตออฟีล โกตีเย นักเขียนชาวฝรั่งเศส เรียกภาพวาดนี้ว่า "ภาพของพ่อค้าร้านขายของชำที่เพิ่งถูกรางวัลลอตเตอรี่" และบางครั้งมีคนอธิบายว่าโกยาพยายามเสียดสีบุคคลในภาพของเขาในทางใดทางหนึ่ง รอเบิร์ต ฮิวส์ นักวิจารณ์ศิลปะ ปฏิเสธแนวคิดนี้ว่า "เป็นเรื่องไร้สาระ เพราะถ้าคุณล้อเลียนคนที่คุณวาดภาพ คุณก็ไม่สามารถรักษางานและตำแหน่งในราชสำนักได้ ไม่ นี่ไม่ใช่การเสียดสี แต่เป็นการกระทำที่เยินยอ ตัวอย่างเช่นทางด้านซ้าย บุคคลในชุดสีฟ้า คือหนึ่งในคางคกตัวน้อยที่น่ารังเกียจที่สุดในประวัติศาสตร์การเมืองของสเปน ซึ่งก็คือ พระเจ้าเฟร์นันโดที่ 7 ในอนาคต ซึ่งโกยาสามารถสร้างความสง่างามได้อย่างแท้จริง พระเจ้าทรงรู้ว่าเขาสามารถทำได้ นี่เป็นการแสดงความเคารพอย่างมาก จนเกือบจะเป็นการเยินยอ"[7]

สิ่งที่โดดเด่นในภาพเหมือนของโกยา คือความใกล้ชิดในพระบรมวงศานุวงศ์และบทบาทสำคัญของสมเด็จพระราชินีในฐานะผู้ปกครองหญิง พระนางได้แสดงออกถึงความมีลูกดกและทรงถูกขนาบข้างด้วยครอบครัวของพระนาง เมื่อมองไกลจากการเสียดสีที่โหดร้าย จะเห็นได้ว่าการแสดงภาพราชวงศ์ของโกยา เป็นภาพในอุดมคติและไม่คำนึงว่าพระราชินีมาเรีย ลุยซา พระชนมพรรษาสี่สิบแปดพรรษาทรงมีหน้าตาเป็นอย่างไร ทูตรัสเซียบรรยายถึงพระนางเมื่อสิบเอ็ดปีก่อนภาพวาดนี้ว่า "การที่มีประสูติกาลซ้ำ ๆ อาการประชวร และอาจมาจากการเจ็บป่วยทางพันธุกรรมได้ส่งผลเสียต่อพระนางด้วย ผิวพรรณเหลืองซีดและการสูญเสียพระทนต์ซึ่งเป็นความงามชิ้นสุดท้ายของพระนาง"[8] จริงอยู่ที่รอยยิ้มอันว่างเปล่าของพระราชินี (เกิดจากพระทนต์ปลอมหยาบ ๆ) ผิวที่หย่อนคล้อยและซีดจางตัดกับชุดและอัญมณีอันหรูหรา และรูปลักษณ์โดยรวมของพระนางที่ชราภาพจนโทรม ทำให้เกิดการเสียดสี แต่การประเมินเชิงอัตวิสัยนี้ไม่เพียงขัดต่อการนำเสนอทักษะในฐานะจิตรกรของโกยาต่อหน้าสาธารณะ แต่ยังรวมถึงการประมาณค่าที่ชัดเจนของจิตรกรเช่นเขาที่ได้รับการอุปถัมภ์จากราชวงศ์สเปน[9]

จอห์น เจ. ซิโอฟาโล เขียนว่า "ในขณะที่เบลัซเกซพยายามเชื่อมช่องว่างระหว่างศิลปะกับความเป็นจริงของโลกธรรมชาติ แต่โกยาก็พยายามที่จะเชื่อมช่องว่างระหว่างศิลปะกับความเป็นจริงของจิตใจของเขาเอง" ซึ่งเป็นผลพวงมาจากยุคจินตนิยม ครั้งหนึ่งเราต้องดูภาพ นางสนองพระโอษฐ์ แล้วต้องระบุว่าเป็นของจริงเท่านั้น ส่วนภาพ พระบรมวงศานุวงศ์ในพระเจ้าการ์โลสที่ 4 ของโกยา ไม่เคยถูกระบุว่าเป็นจริง ใคร ๆ ก็สันนิษฐานได้ว่าสิ่งเหล่านี้เป็นผลจากความคิดและจินตนาการของโกยา[10]

เชิงอรรถ

[แก้]
  1. "The Family of Carlos IV". Museo del Prado. Retrieved 23 July 2018
  2. Gassier (1995), 69–73
  3. 3.0 3.1 Tomlinson, p. 150
  4. 4.0 4.1 Gassier (1989), 66
  5. De la Croix, Horst; Tansey, Richard G.; Kirkpatrick, Diane (1991). Gardner's Art Through the Ages (9th ed.). Thomson/Wadsworth. p. 887. ISBN 0-15-503769-2.
  6. Edward J. Olszewski – Exorcising Goya's "The Family of Charles IV" เก็บถาวร 2012-12-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  7. Goya, Crazy like a Genius, An Oxford Film and Television Production for BBC and RM associates
  8. Ciofalo, John J. (2001). The Self-Portraits of Francisco Goya. Cambridge: Cambridge University Press. pp. 48–50. ISBN 0-521-77136-6. OCLC 43561897.
  9. Ciofalo, John J. (2001). The Self-Portraits of Francisco Goya. Cambridge: Cambridge University Press. p. 50. ISBN 0-521-77136-6. OCLC 43561897.
  10. Ciofalo, John J. (2001). The Self-Portraits of Francisco Goya. Cambridge: Cambridge University Press. p. 53. ISBN 0-521-77136-6. OCLC 43561897.

อ้างอิง

[แก้]
  • Buchholz, Elke Linda. Francisco de Goya. Cologne: Könemann, 1999. ISBN 3-8290-2930-6
  • Davies, Denny, Hofrichter, Jacobs, Roberts, Simon. Janson's History of Art. Prentice Hall, London, 2011. 824–825. ISBN 0-205-68517-X
  • Gassier, Pierre. Goya. Rizzoli International Publications, 1989. ISBN 0-8478-1108-5
  • Gassier, Pierre. Goya: Biographical and Critical Study. New York: Skira, 1995. 69–73
  • Tomlinson, Janis. From El Greco to Goya: Painting in Spain from 1561-1828. Laurence King, 2012. ISBN 978-1-7806-7028-7

วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ La familia de Carlos IV