ข้ามไปเนื้อหา

พระราชวังลุกซ็องบูร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก พระราชวังลักเซมเบิร์ก)
พระราชวังลุกซ็องบูร์
Palais du Luxembourg
พระราชวังลุกซ็องบูร์
พิกัด48°50′54″N 2°20′14″E / 48.84833°N 2.33722°E / 48.84833; 2.33722
ประเภทสถาปัตยกรรมฟื้นฟูศิลปวิทยา
พื้นที่กรุงปารีส ฝรั่งเศส
ประวัติศาสตร์
สร้างค.ศ. 1615
สร้างโดยมารี เดอ เมดิชิ สมเด็จพระราชินีนาถแห่งฝรั่งเศส
สถาปนิกซาลอมง เดอ บร็อส

พระราชวังลุกซ็องบูร์ (ฝรั่งเศส: Palais du Luxembourg; อังกฤษ: Luxembourg Palace) เป็นพระราชวังที่ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของสวนลุกซ็องบูร์ในกรุงปารีสในประเทศฝรั่งเศส ในปัจจุบันใช้เป็นที่ทำการของวุฒิสภา (French Senate) สวนลุกซ็องบูร์มีเนื้อที่ทั้งสิ้น 25 เฮ็คตาร์ที่เป็นลานหญ้าและทางเดินกรวดที่มีรูปปั้นตั้งอยู่เป็นระยะ ๆ สลับกับอ่างน้ำ

ประวัติ

[แก้]
พระราชวังลุกซ็องบูร์สร้างเลียนแบบวังพิตติในเมืองฟลอเรนซ์

พระราชวังลุกซ็องบูร์ได้รับการก่อสร้างขึ้นสำหรับสมเด็จพระราชินีมารี เดอ เมดิชิพระบรมราชชนนีในพระเจ้าหลุยส์ที่ 13 แห่งฝรั่งเศสและกัสตง ดยุคแห่งออร์เลอ็อง (Gaston, Duke of Orleans) ในบริเวณใกล้กับบริเวณที่เดิมเป็นออแตลปาร์ตีกูว์ลีเย (hôtel particulier) ที่เป็นของฟร็องซัว-อ็องรี เดอ มงมอร็องซี ดุ๊กเดอลุกซ็องบูร์ (François-Henri de Montmorency, duc de Luxembourg) ซึ่งเป็นที่มาของชื่อพระราชวัง พระราชินีนาถมารีมีพระประสงค์ที่จะสร้างพระราชวังใหม่ที่ละม้ายวังพิตติในเมืองฟลอเรนซ์ที่เป็นเมืองประสูติของพระองค์ สถาปนิกเอกซาลอมง เดอ บร็อส[1] จึงส่งสถาปนิกเกลม็อง เมเตโซ (Clément Metézeau‎) ไปยังฟลอเรนซ์เพื่อไปนำภาพวาดผังกลับมา[2][3][4][5] พระราชินีนาถมารีทรงทรงซื้อโครงสร้างและสิ่งก่อสร้างที่ค่อนข้างใหญ่โตในปี ค.ศ. 1612 และมีพระราชโองการให้ก่อสร้างสิ่งก่อสร้างใหม่ขึ้นแทนที่ที่ทรงเรียกว่า “วังเมดิชิ” (Palais Médicis)[6] ในปี ค.ศ. 1615

การก่อสร้างพระราชวังและการตกแต่งเป็นพระราชกรณียกิจอันสำคัญทางศิลปะของพระองค์ แต่ในปัจจุบันสิ่งที่ตกแต่งภายในสำหรับพระองค์ไม่มีหลงเหลืออยู่แล้ว นอกไปจากบางส่วนที่ก่อสร้างขึ้นใหม่ใน Salle du Livre d'Or.[7] ภาพชุดพระราชินีมารี เดอ เมดิชิที่ทรงจ้างให้ปีเตอร์ พอล รูเบนส์และภาพเขียนอื่น ๆ ก็กระจัดกระจายไปเป็นของพิพิธภัณฑ์ต่าง ๆ

อ้างอิง

[แก้]
  1. The history of the Luxembourg Palace is discussed in R. Coope, Salomon de Brosse (London, 1972).
  2. Concrete by Peter Collins, Kenneth Frampton, Réjean Legault, p.166 [1]
  3. The Architecture of the Renaissance by Leonardo Benevolo, p.706 [2]
  4. The architecture of Paris by Andrew Ayers, p.130 [3]
  5. Design on the land by Norman T. Newton p.163 [4]
  6. Remarked upon in correspondence of the Florentine resident Giovanni Battista Gondi, in Deborah Marrow, "Maria de' Medici and the Decoration of the Luxembourg Palace" The Burlington Magazine 121 No. 921 (December 1979), pp. 783-788, 791.
  7. Marrow 1979.791.

ดูเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ พระราชวังลุกซ็องบูร์