พระยาศรีสุนทรโวหาร (ฟัก สาลักษณ)
พระยาศรีสุนทรโวหาร (ฟัก สาลักษณ) ตำแหน่ง เจ้ากรมพระอาลักษณ์ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ถือเป็นปูชนียบุคคลที่โดดเด่น ดังปรากฏอยู่ในยุคสมัยเดียวกับแหม่มแอนนาที่โด่งดัง โดยประวัติในเบื้องต้นนั้น สืบทราบมาว่าได้ผนวช และถือเป็นพระเถระธรรมยุติกนิกายชั้นเดิม 10 องค์ ดังปรากฏความไว้ในหนังสือสีมาวิจารณ์[1][2] ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์พระราชทานไปยังลังกาทวีป แต่ครั้งยังทรงผนวช ปรากฏพระเถระทั้ง 10 ทรงพระราชนิพนธ์ไว้เป็นคาถา ดังนี้
ตสฺเสว ภูปตินฺทสฺส ปิโย กนิฏฺฐภาตุโก เถโร วชิรญาโณ จ ปาโมกฺโข คณเชฏฺฐโก เถโร พฺรหฺมสโร เจว เถโร ธมฺมสิริวฺหโย เถโร พุทธสิริ เจว เถโร ปญฺญาอคฺคนามโก เถโร ธมฺมรกฺขิโต จ เถโร จ โสภิตวฺหโย เถโร พุทธสณฺหนาโม เถโร ปุสฺสาภิธานโก เถโร สุวฑฺฒโน จาปิ สพฺเพ สมานทนฺทกา
ซึ่งนามที่ปรากฏในพระราชนิพนธ์ ดังนี้
- พระวชิรญาณเถระ คือ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
- พระพรหมสรเถระ คือ พระญาณรักขิต (สุข) วัดบรมนิวาส ต่อมาลาสิกขา ได้เป็นที่พระธรรมการบดี
- พระธรรมสิริเถระ คือ พระเทพโมลี (เอี่ยม) วัดเครือวัลย์
- พระพุทธสิริเถระ คือ สมเด็จพระวันรัตน์ (ทับ พุทฺธสิริ) วัดโสมนัสวิหาร
- พระปัญญอรรคเถระ คือ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์
- พระธรรมรักขิตเถระ คือ พระครูปลัด (ทัต) วัดบวรนิเวศวิหาร ต่อมาลาสิกขา ได้เป็นที่พระศรีภูมิปรีชา
- พระโสภิตเถระ คือ พระศรีวิสุทธิวงศ์ (ฟัก) วัดบวรนิเวศวิหาร ต่อมาลาสิกขา ได้เป็นที่พระยาศรีสุนทรโวหาร
- พระพุทธิสันหเถระ คือ พระอมรโมลี วัดบุปผาราม
- พระปุสสเถระ คือ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (สา ปุสฺสเทโว) วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม
- พระสุวัฑฺฒนเถระ คือ พระปลัด (เรือง) วัดบวรนิเวศวิหาร
นอกเหนือไปจากนั้น ยังปรากฏหลักฐานของพระยาศรีสุนทรโวหารในสมัยที่ยังผนวชว่าเป็นพระเถระที่สามารถสอบเปรียญธรรม 9 ประโยค (ปากเปล่า) ได้ในลำดับต้น ๆ ของกรุงรัตนโกสินทร์[3] และยังได้เป็นพระกรรมวาจารย์[4] ของสมเด็จพระสังฆราช รวมทั้งยังได้ร่วมสร้างศาสนสถานสำคัญๆ อีกเป็นอันมาก ก่อนที่ภายหลังจะลาสิกขาออกมารับราชการสนองพระเดชพระคุณพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวต่อไป
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "พระเถระธรรมยุติกนิกาย ชั้นเดิม 10 องค์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2015-08-26.
- ↑ "พระอมรโมลี (นพ พุทธิสัณหเถระ ป.ธ. ๙)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2015-08-26.
- ↑ "ทำเนียบสอบเปรียญธรรม 9 ประโยค". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2015-08-26.
- ↑ รางวัลชีวิตสำหรับตนเองคืออะไร