พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกย์ พระพุทธเลิศหล้านภาไลย
บทความนี้ได้รับแจ้งให้ปรับปรุงหลายข้อ กรุณาช่วยปรับปรุงบทความ หรืออภิปรายปัญหาที่หน้าอภิปราย
|
พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกย์ | |
---|---|
ชื่อเต็ม | พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกย์ (องค์ด้านเหนือ) |
ประเภท | พระพุทธรูป |
ศิลปะ | ศิลปะรัตนโกสินทร์ ปางห้ามสมุทร ทรงเครื่องต้นอย่างจักรพรรดิราช |
ความสูง | 6 ศอก |
วัสดุ | สำริดหุ้มด้วยทองคำลงยาราชาวดี เครื่องต้นประดับด้วยเนาวรัตน์ |
สถานที่ประดิษฐาน | พระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร |
ความสำคัญ | สร้างถวายพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช |
สถานีย่อยพระพุทธศาสนา |
พระพุทธเลิศหล้านภาไลย | |
---|---|
ชื่อเต็ม | พระพุทธเลิศหล้านภาไลย (องค์ด้านใต้) |
ประเภท | พระพุทธรูป |
ศิลปะ | ศิลปะรัตนโกสินทร์ ปางห้ามสมุทร ทรงเครื่องต้นอย่างจักรพรรดิราช |
ความสูง | 6 ศอก |
วัสดุ | สำริดหุ้มด้วยทองคำลงยาราชาวดี เครื่องต้นประดับด้วยเนาวรัตน์ |
สถานที่ประดิษฐาน | พระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร |
ความสำคัญ | สร้างถวายพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย |
สถานีย่อยพระพุทธศาสนา |
พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกย์ และ พระพุทธเลิศหล้านภาไลย[1][2] เป็นพระนามของพระพุทธรูปปางห้ามสมุทรขนาดใหญ่สององค์ ในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
ประวัติ
[แก้]เมื่อพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จเถลิงถวัลย์ราชสมบัติ มีพระราชปรารภว่า ในสมัยอยุธยา สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ทรงหล่อพระศรีสรรเพชญ์ และพระเจ้าแผ่นดินองค์ต่อๆ มา ทรงหล่อพระรูปสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) ผู้ทรงเป็นบรมกษัตริย์ขึ้นไว้สักการบูชา ด้วยอาศัยปรารภเหตุทั้งสองอย่างนี้ จึงทรงพระราชศรัทธาสร้างพระพุทธรูปใหญ่ หุ้มด้วยทองคำ เพื่อให้เป็นพระพุทธรูปฉลองพระองค์ รัชกาลที่ 1 และรัชกาลที่ 2
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงปรึกษาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อครั้งยังผนวช จึงมีพระราชดำริว่าพระพุทธรูปความมีความสูงในราวหกศอก จึงได้ทรงสร้างพระพุทธรูปทรงเครื่อง อย่างจักรพรรดิราช 2 องค์ จารึกพระนามองค์หนึ่งว่า พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกย์ ทรงพระราชอุทิศถวายสมเด็จพระบรมอัยกาธิราช จักรพรรดินารถบพิตร อีกพระองค์หนึ่งจารึกพระนามว่า พระพุทธเลิศหล้าสุลาลัย ทรงพระราชอุทิศถวายสมเด็จพระบรมชนกนารถธรรมิกราชบพิตร
แต่เดิมรัชกาลก่อนหน้าพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น เรียกว่า แผ่นดินต้น และแผ่นดินกลาง ตามลำดับ พระองค์จึงทรงหวั่นวิตกว่าประชาชนจะเรียกแผ่นดินของพระองค์ว่า "แผ่นดินปลาย" ซึ่งหมายถึงสิ้นสุดสมัยรัตนโกสินทร์ อันจะเป็นอัปมงคล จึงมีพระบรมราชโองการให้ตั้งนามแผ่นดินตามพระพุทธปฏิมากรทั้ง 2 พระองค์ แผ่นดินต้นให้ใช้ว่าแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก แผ่นดินกลางให้ใช้ว่าแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้าสุลาลัย ซึ่งต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้เปลี่ยนสร้อยพระนามเป็น “นภาลัย”
เมื่อพิจารณาพุทธลักษณะแล้ว พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกย์จะมีพระพักตร์ค่อนไปทางกลมมากกว่าพระพุทธเลิศหล้านภาไลย[ต้องการอ้างอิง]
กระทรวงศึกษาธิการประกาศให้พระพุทธรูปทั้งสององค์ เป็นพระพุทธรูปสำคัญ ตามบัญชีแนบท้ายระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการก่อสร้างอนุสาวรีย์แห่งชาติ และการจำลองพระพุทธรูปสำคัญ พ.ศ. 2520[ต้องการอ้างอิง]
ระเบียงภาพ
[แก้]-
พระพักตร์พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกย์
-
พระพักตร์พระพุทธเลิศหล้านภาไลย
-
พระพุทธเลิศหล้านภาไลย พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกย์ ถ่ายจากด้านนอกพระอุโบสถ
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "พระพุทธรูปฉลองพระองค์ | พระราชพิธีบรมราชาภิเษก". Phralan.in.th. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-08-11. สืบค้นเมื่อ 2022-08-11.
- ↑ หมายกำหนดการ พระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๖๕ | ราชกิจจานุเบกษา