ข้ามไปเนื้อหา

มัสลิน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ผ้ามัสลิน)
แฟชั่นการสวมใส่ผ้ามัสลินในปี พ.ศ. 2381

มัสลิน (อังกฤษ: muslin) เป็นผ้าทอชนิดหนึ่ง มีต้นกำเนิดจากตะวันออกกลาง เผยแพร่เข้าสู่ยุโรปในคริสต์ศตวรรษที่ 17 คำว่ามัสลินได้รับการตั้งชื่อตามชื่อเมืองแรกที่ชาวยุโรปได้เข้าไป ซึ่งก็คือเมืองโมซูล ประเทศอิรัก แต่จริง ๆ แล้วผ้าชนิดนี้กำเนิดที่เมืองธากา ประเทศบังกลาเทศ

มัสลินเป็นผ้าที่เกิดจากการฟอกผ้าขาว ผลิตจากด้ายดิบหรือเส้นไหม มักใช้ในการทำเสื้อผ้า ผ้าม่าน เบาะรองนั่ง ผ้ามัสลินระบายอากาศได้ดีเหมาะกับการสวมใส่ในบริเวณที่มีอากาศร้อนแห้งแล้ง

คำว่า มัสลิน มีหลายความหมาย ในสหราชอาณาจักร มัสลิน หมายถึงผ้าแพรบาง แต่ในสหรัฐหมายถึงผ้าทั่วไปที่ใช้ในชีวิตประจำวัน คำแสลงของชาวอังกฤษหมายถึงผู้หญิงที่มีลักษณะเป็นสุภาพสตรี ส่วนในคำแสลงของชาวเรือ มัสลิน หมายถึงใบเรือ

ประวัติศาสตร์

[แก้]

ใน ค.ศ. 1298 มาร์โก โปโล บรรยายถึงผ้ามัสลินในบันทึกการเดินทางของเขา เขากล่าวว่าผ้าชนิดนี้ผลิตขึ้นในเมืองโมซูล (ในประเทศอิรักปัจจุบัน)[1] ต่อมา แรล์ฟ ฟิตช์ นักเดินทางชาวอังกฤษในคริสต์ศตวรรษที่ 16 กล่าวชื่นชมผ้ามัสลินที่เขาพบในเมืองโสนารคาวง์ในเบงกอล[2] ในคริสต์ศตวรรษที่ 17 และ 18 เบงกอลสมัยโมกุลกลายเป็นผู้ส่งออกผ้ามัสลินแถวหน้าของโลก โดยมีธากาสมัยโมกุลเป็นเมืองศูนย์กลางของการค้าผ้ามัสลินไปทั่วโลก[3][4] ผ้ามัสลินกลายเป็นที่นิยมอย่างสูงในฝรั่งเศสในคริสต์ศตวรรษที่ 18 และในที่สุดก็แพร่กระจายไปในพื้นที่หลายส่วนของโลกตะวันตก

อ้างอิง

[แก้]
  1. Polo, Marco. "The most noble and famous travels of Marco Polo, together with the travels of Nicoláo de' Conti". Translated by John Frampton, London, A. and C. Black, 1937, p.28.
  2. Shamim, Shahid Hussain; Selim, Lala Rukh (2007). "Handloom Textiles". ใน Selim, Lala Rukh (บ.ก.). Art and Crafts. Cultural survey of Bangladesh series. Vol. 8. Asiatic Society of Bangladesh. p. 552. OCLC 299379796.
  3. Eaton, Richard Maxwell (1996). The Rise of Islam and the Bengal Frontier, 1204–1760. University of California Press. p. 202. ISBN 978-0-520-20507-9.
  4. Karim, Abdul (2012). "Muslin". ใน Islam, Sirajul; Jamal, Ahmed A. (บ.ก.). Banglapedia: National Encyclopedia of Bangladesh (Second ed.). Asiatic Society of Bangladesh.