ข้ามไปเนื้อหา

ผู้ใช้:Bkittitus/กระบะทราย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

การปกครองส่วนท้องถิ่นเยอรมัน

[แก้]

การปกครองส่วนท้องถิ่น ถือเป็นรูปแบบการปกครอง รูปแบบหนึ่งที่เข้ามามีบทบาทสำคัญอย่างมากในสังคมปัจจุบัน ซึ่งรูปแบบการปกครองท้องถิ่นในแต่ละประเทศก็จะมีความแตกต่างกันออกไป เพราะในแต่ละประเทศ ย่อมมีสิ่งแตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นทางด้าน ภาษา วัฒนธรรม อาณาเขต ดินแดน อีกทั้งยังรวมไปถึง ลักษณะผู้คน สภาพเศรษฐกิจ และ จำนวนประชากร ซึ่งสิ่งเหล่านี้เอง เป็นตัวกำหนดที่ทำให้ลักษณะการปกครองของแต่ละประเทศแตกต่างกันออกไป ซึ่งแน่นอนว่าด้วยข้อแตกต่างทั้งหมดที่ได้กล่าวไปในข้างต้น จึงส่งผลให้หน้าที่การทำงานของรัฐบาลกลาง มีภาระที่มากขึ้น รัฐบาลกลางไม่สามารถดูแลประเทศ และ ประชาน ได้อย่างทั่วถึง ด้วยเหตุผลนี้เองจึงทำให้มีการกระจายอำนาจ เข้าสู่ส่วนท้องถิ่นเพื่อแบ่งเบาภาระหน้าที่ของรัฐบาลกลาง และเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนที่มีอย่างไม่สิ้นสุดได้อย่างทั่วถึงและรวดเร็ว อีกทั้งยังสอดคล้องต่อความต้องการในแต่ละพื้นที่ ซึ่งการปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น ได้เปิดโอกาสให้ประชาชนได้เลือกผู้นำ เพื่อมาเป็นตัวแทนของประชาชนในการบริการราชการส่วนท้องถิ่น และขับเคลื่อนนโยบายต่างๆที่ตอบสนองต่อความต้องการของประชาชน การปกครองส่วนท้องถิ่น จึงถือว่าเป็นรูปแบบการปกครองที่สำคัญอย่างมากในปัจจุบัน เพราะมีรูปแบบการทำงานที่รวดเร็ว ประชาชนเป็นผู้กำหนดทิศทางในนโยบายต่างๆ โดยผ่านทางผู้นำ ที่ประชานชนได้เลือกตั้งขึ้นมา เพื่อเป็นตัวแทน ในการบริหารราชการ และ บริการประชานชนในแต่ละท้องถิ่น ดังนั้นการปกครองส่วนท้องถิ่น คือ การกระจายอำนาจลงสู่ท้องถิ่น เพื่อให้ในแต่ละท้องถิ่นนั้นสามารถพัฒนาตนเองได้อย่างเข็มแข็ง โดยผ่านทางผู้นำ ที่ประชานชนได้เลือกขึ้นมา เพื่อบริหารราชการท้องถิ่น และขับเคลื่อนนโยบายที่ตอบสนองต่อความต้องการของประชาชน ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

การเมืองการปกครองเยอรมัน

[แก้]

ประเทศเยอรมัน หรือ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี นั้น ปกครองในระบอบ ประชาธิปไตย แบบ สหพันธรัฐ โดยมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญครั้งแรกใน วันที่ 3 ตุลาคม พุทธศักราช 2533 ด้วยเหตุนี้จึงทำให้รัฐบาลเยอรมันประกาศให้วันที่ 3 ตุลาคม ของทุกปี เป็นวันชาติเยอรมัน ประเทศเยอรมันมีนายกรัฐมนตรี เป็นผู้นำในการปกครอง ของ ฝ่ายรัฐบาล และมี ประธานาธิบดี เป็นผู้นำของ ฝ่ายบริหาร โดยการปกครองของประเทศเยอรมันนั้น ในแต่ละมลรัฐ ก็จะมีรัฐสภาและรัฐบาลเป็นของตนเอง ที่คอยดูแลประชาชน ซึ่ง

สถาบันการเมืองหลักๆ 3 สถาบัน ประกอบไปด้วย

  • ฝ่ายนิติบัญญัติ ประกอบไปด้วย สภาผู้แทนราษฎร และ สภามลรัฐ
  • ฝ่ายบริหาร มีประธานาธิบดีเป็นประมุข โดยแบ่งออกเป็นสองส่วน คือ
  1. รัฐบาลกลาง
  2. รัฐบาลท้องถิ่น

โดยประเทศเยอรมัน มีกระทรวงภายในประเทศทั้งหมด 16 กระทรวงที่คอยกำกับดูแลในส่วนงานต่างๆทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งแต่ละกระทรวงก็จะมี ภาระหน้าที่ ที่แตกต่างกันออกไป ประเทศเยอรมัน แบ่งการปกครองออกเป็นทั้งหมด 16 รัฐ ด้วยกัน โดยทั้ง 16 รัฐ นี้ มีรัฐสภาที่ใช้ใน การบริหาราชการ และการบริการประชาชนที่เป็นตนเอง เพราะในปัจจุบันรัฐบาลกลางได้ทำการกระจายอำนาจลงสู่ส่วนท้องถิ่นมากขึ้น เพื่อแบ่งเบาภาระของรัฐบาลกลาง และเพื่อการดูแลประชาชนและประเทศชาติได้อย่างทั่วถึงมากขึ้น


รายชื่อรัฐต่างๆในประเทศเยอรมัน รายชื่อรัฐต่างๆในประเทศเยอรมัน
1.บาร์เยิน 2.บาร์เดิน – เวอร์แทมเบิกร์
3.เบอร์ลิน 4.เบรเมน
5.บรันเดนบูร์ก 6.ฮัมบูร์ก
7.เฮสส์ 8.เมคเลนบูร์ก – ฟอร์พอมเมิร์น
9.นีเดอร์ซัคเซ่น 10.นอร์ดไรน์ – เวสต์ฟาเลน
11.ไรลันด์ – ฟฟาลซ์ 12.ซาร์ลันด์
13.ซัคเซ่น 14.ซัคเซ่น – อัลฮัลต์
15.ชเลสวิก – โฮลชไตน์ 16.ทูริงเง่น


การปกครองท้องถิ่นเยอรมันในอดีต

[แก้]

ประวัติศาสตร์เยอรมันค้นพบว่า รูปแบบการปกครองส่วนท้องถิ่น หรือการกระจายอำนาจลงสู่ส่วนท้องถิ่นของประเทศเยอรมันนั้น มีการใช้ระบอบนี้มาตั้งแต่ในสมัยอดีต โดยอ้างอิงจากประวัติศาสตร์ประเทศเยอรมัน ตั้งแต่ในยุคสมัยกลาง หรือในยุค จักรวรรดิที่ 1 หรือที่ทุกคนรู้จักกันในนาม จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ที่รัฐต่างๆต่างมีอำนาจในการปกครองตนเอง นับกว่า 1000 ปี ก่อนที่ นโปเลียนจะได้ยกเลิก จักรวรรดินี้ไป และกลายมาเป็น สมาพันธรัฐเยอรมัน ที่เกิดจากการรวมตัวกันของทั้ง 16 รัฐ โดยการนำของบิลมาร์ก ผู้นำอาณาจักร ปรัสเซีย ซึ่งในจุดๆนี้เองที่แสดงให้เห็นถึงการปกครองส่วนท้องถิ่นของประเทศเยอรมันตั้งแต่ในอดีต ที่ รัฐต่างๆนั้น สามารถที่จะปกครอง และบริหารบ้านเมืองของตนเองได้ ซึ่งถือว่าเป็นจุดกำเนิดของการปกครองส่วนท้องถิ่น ในประเทศเยอรมัน

การปกครองท้องถิ่นเยอรมันในปัจจุบัน

[แก้]

โครงสร้างการปกครองหรือการบริหารราชการของประเทศเยอรมันนั้นแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ

  1. รัฐบาลกลาง
  2. รัฐบาลท้องถิ่น

ซึ่งนอกจากนี้ ยังแบ่งออกเป็นอีก 3 ระบบคือ สหพันธรัฐ มลรัฐ และ ท้องถิ่น ซึ่งในสามระบบนี้ก็มีอำนาจหน้าที่ในการทำงานที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละบริบท รูปแบบการปกครองส่วนท้องถิ่นเยอรมันนั้น ประกอบไปด้วยรัฐบาลท้องถิ่น ที่คอยดูแลในเรื่องต่างๆที่เกี่ยวข้องกับส่วนท้องถิ่นและยังเป็นการแบ่งเบาภาระหน้าที่ของรัฐบาลกลาง โดยรัฐบาลท้องถิ่น มีการจัดการการปกครองแบ่งออกเป็น 3 รูปแบบ คือ

  1. จังหวัดท้องถิ่น เช่น มลรัฐ Nordrhein – westfalen ( NRW ) เป็นรัฐที่ใหญ่ที่สุดในเยอรมัน มีประมาณ 31 จังหวัดที่อยู่ในมลรัฐนี้ เช่น wesel
  2. เทศบาล หรือเมืองท้องถิ่น
  3. ชุมชน หรือ คอมมูน

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเยอรมันในแต่ละประเภท ก็จะมีการเลือก ตั้งเกิดขึ้นโดยให้อำนาจหน้าที่แก่ประชาชนในแต่ละท้องถิ่นมีสิทธิ์เลือก เจ้าหน้าหรือหรือเลือกตัวแทน เพื่อมาพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง อาทิเช่น การเลือก สมาชิกสภาท้องถิ่น ประธานสภาท้องถิ่น ผู้บริหารท้องถิ่น โดยสภาท้องถิ่นของแต่ละท้องถิ่นนั้นมีหน้าที่ออกกฎหมายเอง เพื่อนำมาใช้ในท้องถิ่นของตน อาทิเช่น เทศบัญญัติท้องถิ่น การวางแผนงบประมานในท้องถิ่น กรกำหนดภาษี เป็นต้น

ความสัมพันธ์ระหว่างราชการส่วนกลาง ส่วนมลรัฐ และ ส่วนท้องถิ่น

[แก้]

ความสัมพันธ์ระหว่างราชการส่วนกลาง ส่วนมลรัฐ และ ส่วนท้องถิ่น ในสามส่วนนี้จะมีระบบการทำงานที่เป็นอิสระต่อกันไม่ก้าวก่ายต่อกัน แต่จะเป็นมนรูปแบบของการทำงานร่วมกัน ตั้งแต่ในส่วนกลาง ลงไปถึงในส่วนของท้องถิ่น อาทิเช่นในส่วนกลาง จะกำหนดนโยบายหรือกฎหมายต่างๆเพื่อให้ประชาชนปฏิบัติตาม และมอบหน้าที่ให้กับส่วนของ มลรัฐนำนโยบายไปปฏิบัติตาม ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง ระบบคมนาคม สาธารณูปโภค ต่างๆ หลังจากที่ มลรัฐ แต่รับหน้าที่มาจากส่วนกลางเรียบร้อยแล้ว ก็จะส่งต่อให้กับส่วนท้องถิ่น จึงทำให้ทั้ง 3 ส่วนนี้มีความเกี่ยวข้องกัน


แนวโน้มองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเยอรมันในอนาคต

[แก้]

แนวโน้มองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเยอรมันในอนาคต มีแนวโน้มที่จะขยายตัวและมีประสิทธิภาพมากขึ้นอันเนื่อง การที่รัฐบาลกลางได้ให้ความสนใจ และได้มีการกระจายอำนาจลงสู่ส่วนท้องถิ่นเพิ่มขึ้น เพราะรัฐบาลเล็งเห็นว่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นเป็นรากฐานที่สำคัญของประเทศ ถ้าส่วนท้องถิ่นมีความเข้มแข็งมากขึ้น ประชาชนในท้องถิ่นมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี สามารถที่จะดูแลตนเองและไม่เป็นภาระต่อรัฐบาล ประเทศก็สามารถที่จะพัฒนาไปได้อย่างรวดเร็ว และมั่นคง ด้วยเหตุนึ้จึงทำให้รัฐบาลกลางของเยอรมันมีการกระจายลงสู่ส่วนท้องถิ่นมากขึ้น โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของเยอรมันในอนาคตนั้นมีแนวโน้มที่จะเน้นการพัฒนาในส่วนของการบริการสาธารณะ และโครงสร้างพื้นฐาน เป็นหลัก เพื่อให้ประชาชนเกิดความพึ่งพอใจ และสะดวกสบายมากขึ้น โดยการบริการสาธารณะจะมีเอกชนที่คอยดูแลในโครงการต่างๆ เพื่อการลดค่าใช้จ่ายของรัฐบาลและเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด อีกทั้ง ยังมีแนวโน้มที่ขยายองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพิ่มขึ้น ไม่ว่าจะเป็นสำนักงาน พนักงาน เพื่อให้เพียงพอต่อการรับใช้ประชาชนที่เพิ่มขึ้นอยู่เรื่อยๆ และที่สำคัญที่สุดคือ มีการปราบปรามคอรับชั้นอย่างจริงจังมากขึ้น มีการตรวจสอบปรับตัวบทกฎหมายให้ทันสมัยมากขึ้น เพิ่มบทลงโทษต่อผู้กระทำความผิด อย่างเข้มงวด เพื่อลดปัญหาการคอรับชั่นที่เกิดขึ้น ทั้งหมดนี้ก็เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้ดีขึ้น จึงถือว่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเยอรมันในอนาคตนั้น กำลังเป็นที่น่าจับตามองต่อสังคมโลก

ข้อมูลทั่วไปประเทศเยอรมนี

[แก้]

ประเทศเยอรมนี หรือ ชื่อเรียกอย่างเป็นทางการภาษาไทย คือ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี และชื่อเรียกอย่างเป็นทางการภาษาอังกฤษ คือ (Federal Republic of Germany) โดยในปัจจุบัน เมืองหลวง ของประเทศเยอรมัน คือ กรุงเบอร์ลิน ( ในอดีต เมืองหลวงเก่าของประเทศเยอรมัน นั้นก็คือ เมืองบอนน์ แต่ต่อมาได้มีการย้ายเมืองหลวงใหม่ มาเป็น กรุงเบอร์ลิน นับตั้งแต่ ปี คริสต์ศักราช 1990 จนถึงปัจจุบัน ) โดยประเทศเยอรมัน มีธงชาติที่ประกอบไปด้วย 3 สี ด้วยกัน ก็คือ ดำ แดง และ เหลือง โดย สีดำ หมายถึง พลังอำนาจความน่าเกรงขามเป็นที่ประจักษ์ สีแดง หมายถึง เลือดเนื้อของคนในชาติหรือประชาชนชาวเยอรมันตั้งแต่ในสมัยอดีตจนถึงปัจจุบัน และ สีเหลือง หมายถึง ความเจริญรุ่งเรืองในด้านต่างๆของประเทศเยอรมันและตราประจำแผ่นดินเยอรมัน มีชื่อเรียกว่า ตราอาร์มสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี อันมีสัญลักษณ์ คือ นกเหยี่ยว

ลักษณะทางภูมิศาสตร์

[แก้]

ประเทศเยอรมัน เป็น 1 ใน 50 ประเทศที่ตั้งอยู่ บน ทวีปยุโรป ซึ่งมีพื้นที่มากกว่า 357,021 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรมากกว่า 80,854,408 ล้านคนโดยประมาณ ลักษณะทางภูมิประเทศของเยอรมันนั้น ในบางส่วน ของประเทศมีอาณาเขตที่ติดต่อกับ ทะเลเหนือ ส่วนทางตอนใต้ของประเทศส่วนใหญ่พื้นที่จะมีภูเขาสูงใหญ่ตั้งอยู่จำนวนมากโดยภูเขาที่เป็นเอกลักษณะและโด่งดังของภูมิภาคนี้ ชื่อว่า บาวาเรียน และในทางตอนเหนือของประเทศส่วนใหญ่จะเป็นที่ราบต่ำ และมีที่ราบสูง ตั้งอยู่ในบริเวณตอนกลางของประเทศเยอรมัน ซึ่งถือว่าประเทศเยอรมัน เป็นประเทศที่มีข้อได้เปรียบทางภูมิศาสตร์มากกว่าประเทศอื่นๆในทวีปยุโรป คือ แหล่งที่ตั้งถิ่นฐาน ของประเทศเยอรมันที่ อยู่บริเวณใจกลางของแผ่นดินยุโรป โอบล้อมโดยนานาประเทศ จึงทำให้ปะเทศเยอรมัน เป็นศูนย์กลางความเจริญในหลายๆด้านของ ทวีปยุโรป และด้วยความที่ว่า ประเทศเยอรมันนั้นมีที่ตั้งอยู่ในบริเวณใจกลางของทวีปยุโรป จึงทำให้ ประเทศเยอรมัน มีพรมแดนที่ติดกับประเทศเพื่อนบ้าน มากกว่า 9 ประเทศด้วยกัน อันประกอบไปด้วย

  1. ทิศเหนือ ( N ) ติดกับประเทศ เดนมาร์ก
  2. ทิศใต้ ( S ) ติดกับประเทศสวิสเซอร์แลนด์ และ ออสเตรีย
  3. ทิศตะวันออก ( E ) ติดกับประเทศสาธารณรัฐเช็ค และ ประเทศโปแลนด์
  4. ทิศตะวันตก ( W ) ติดกับประเทศเบลเยี่ยม , ฝรั่งเศส , เนเธอร์แลนด์ และ ลักแซมเบิร์ก

ประวัติความเป็นมาประเทศเยอรมัน ( โดยย่อ )

[แก้]

ก่อนที่ประเทศเยอรมัน จะ เป็น ประเทศมหาอำนาจประเทศหนึ่ง ในทวีปยุโรปได้นั้น ในอดีตเยอรมันต้องคอยสู้รบกับนานาประเทศที่คอยรุกรานและหวังปกครองประเทศเยอรมัน โดยเฉพาะ ชาวโรมัน ของชนเจอร์มานิค แต่ประเทศเยอรมันก็สามารถต้านทานการรุกราน ของ ชาวโรมันได้ ซึ่งต่อมา จักรวรรดิโรมัน ได้ล่มสลายลงในที่สุด จึงทำให้ ชาวเยอรมัน ก้าวขึ้นมาเป็นประเทศมหาอำนาจในทวีปยุโรป และต่อมาในอีกไม่นาน จักรวรรดิโรมันได้ก่อกำเนิดขึ้นมาใหม่ หรือที่ทุกคนรู้จักกันในนาม จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ หรือ จักรวรรดิที่ 1 ในยุคสมัยกลาง ซึ่ง จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์นี้ได้ถือกำเนิดขึ้นมาใหม่ก็จริง แต่ก็ไม่ได้มีอำนาจเหมือนแต่ในอดีต ถึงแม้จักรวรรดินี้จะสามารถดำรงอยู่ได้ถึงพันปี ก็ตาม แต่อำนาจและความยิ่งใหญ่ก็ลดน้อยลงเรื่อยๆ จึงทำให้ต่อมา ได้มีการยกเลิก จักรวรรดิโรมันนี้ไปในที่สุด และ กลายมาเป็น สมาพันธรัฐเยอรมัน ที่เกิดจากการรวมตัวของรัฐต่างๆ จนทำให้ต่อมา นาย บิลมาร์ก ผู้นำของ อาณาจักร ปรัสเซีย ได้ทำการรวบรวมประเทศเยอรมัน เข้าเป็นจักรวรรดิเยอรมัน หรือ จักรวรรดิที่ 2 ได้ในที่สุด และต่อมาจักรวรรดิโรมันได้ถูก ปฏิวัติขึ้นอีกครั้ง จากการล้มระบอบกษัตริย์ หลังจาก สงครามโลกครั้งที่ 1 จนทำให้เยอรมันนั้นได้กลับกลายมาเป็น สาธารณรัฐ ที่ มีชื่อว่า ไวมาร์ ซึ่งต่อมาลัทธินาซี ได้มีอำนาจมากขึ้นและได้มีการแผ่ขยายอำนาจเข้ามาในทวีปยุโรป รวม ถึงสาธารณรัฐไวมาร์ หรือ เยอรมัน โดยภายใต้การนำของ [[อดอล์ฟ ฮิตเลอร์] ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 หรือ จักรวรรดิที่ 3 ซึ่งต่อมาเยอรมันภายใต้การนำของ อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ได้แพ้ สงครามโลกครั้งที่ 2 จึงทำให้ประเทศเยอรมันได้ถูกแบ่งออกเป็น 2 แผ่นดิน คือ เยอรมันตะวันตก และ เยอรมันตะวันออก ซึ่งสัญลักษณ์ที่สำคัญที่เกิดขึ้นในช่วงนี้ก็คือ กำแพงเบอร์ลิน ที่เป็นสัญลักษณ์ในการแบ่งแยกดินแดน เยอรมันตะวันตก และ เยอรมันตะวันออก แยกออกจากกัน และต่อมากำแพงเมืองเบอร์ลินได้ถูกทลายลง ในวันที่ 9 พฤศจิกายน 2532 อันเป็นการแสดงให้เห็นถึงการสิ้นสุดของ การแบ่งแยก เยอรมันตะวันตก และ เยอรมันตะวันออก จนในที่สุด เยอรมันตะวันตก และ เยอรมันตะวันออก กลับเข้ามารวมเป็น ประเทศเยอรมันอีกครั้งในที่สุด


อ้างอิงแหล่งที่มา [1] [2] [3] [4] [5] [6]

บรรณานุกรม

  • รองศาสตราจารย์ ดร.โกวิทย์ พวงงาม.การปกครองท้องถิ่นไทย.สำนักพิมพ์วิญญูชน.(2550).หน้า 106-121
  • บุญศรี มีวงษ์อุโฆษ.วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.สำนักพิมพ์วืญญูชน.(2537).หน้า 537-542
  • ศุภสวัสดิ์ ชัชวาลย์.การปกครองท้องถิ่นกับการมีส่วนร่วมของประชาชน.โครงการจัดพิมพ์คบไฟ.(2545).หน้า 5-8
  • ศาสตราจารย์ ดร.อุดม ทุมโฆสิต.การปกครองท้องถิ่นสมัยใหม่บทเรียนจากประเทศพัฒนาแล้ว.สำนักพิมพ์บริษัท แซทโฟร์ พริ้นติ้ง จำกัด.(2554).หน้า61-94