ผู้คัดค้านโดยอ้างมโนธรรม
![](http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/8/89/Muhammad_Ali_NYWTS.jpg/220px-Muhammad_Ali_NYWTS.jpg)
ผู้คัดค้านโดยอ้างมโนธรรม[1] (อังกฤษ: conscientious objector) คือ ปัจเจกชนที่ใช้สิทธิ์คัดค้านการเกณฑ์ทหาร[2] ด้วยเหตุแห่งเสรีภาพทางความคิด มโนธรรม หรือศาสนา[3]
คณะกรรมาธิการสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (UNCHR) มีมติรับรองว่า การคัดค้านการเกณฑ์ทหารโดยอ้างมโนธรรมเป็นการใช้เสรีภาพทางความคิด มโนธรรม และศาสนาโดยชอบ และเป็นไปตามสิทธิในกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง และขยายความไปว่า ผู้ที่เป็นทหารอยู่อาจพัฒนาเป็นผู้คัดค้านโดยอ้างมโนธรรมก็ได้ ทั้งยังเรียกร้องและย้ำเตือนให้รัฐที่มีการเกณฑ์ทหารให้จัดระบบคัดกรองผู้คัดค้านโดยอ้างมโนธรรมอย่างเป็นธรรม และจัดให้มีการทำงานอื่นเพื่อสังคมแทนการฝึกทหารสำหรับบุคคลเหล่านี้[4][5][6] อนึ่ง UNCHR ยังสนับสนุนให้รัฐต่าง ๆ รับพิจารณาผู้คัดค้านโดยอ้างมโนธรรมที่เกรงกลัวว่าจะถูกดำเนินคดีเป็นผู้ลี้ภัยตามอนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพของผู้ลี้ภัย ค.ศ. 1951 (1951 Convention relating to the Status of Refugees)[7]
อย่างไรก็ดี ในทางปฏิบัติมีหลายประเทศที่มีการเกณฑ์ทหาร แต่มิได้มีทางเลือกให้แก่ผู้คัดค้านโดยอ้างมโนธรรม และหลายประเทศก็เข้มงวดกับการรับผู้คัดค้านโดยอ้างมโนธรรมเป็นผู้ลี้ภัย UNCHR กระทำได้เพียงวิจารณ์นโยบายของรัฐเหล่านั้น[8]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ สมใจ ไพโรจน์ธีระรัชต์ (2547). ณัฐวุฒิ สุทธิสงคราม และคณะ (บ.ก.). สารานุกรมประวัติศาสตร์สากลสมัยใหม่: ยุโรป ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (pdf). Vol. 1 (อักษร A-B) (3 ed.). กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน. p. 137. ISBN 974-9588-25-8. สืบค้นเมื่อ 2 กรกฎาคม 2555.
- ↑ On July 30, 1993, explicit clarification of the International Covenant on Civil and Political Rights Article 18 was made in the United Nations Human Rights Committee general comment 22, Para. 11: "Special Rapporteur on freedom of religion or belief. Framework for communications. Conscientious Objection". Office of the United Nations High Commissioner for Human Rights. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-01-06. สืบค้นเมื่อ 2012-05-07.
- ↑ "International Covenant on Civil and Political Rights; See Article 18". Office of the United Nations High Commissioner for Human Rights. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-07-05. สืบค้นเมื่อ 2008-05-15.
- ↑ คัดค้านโดยอ้างมโนธรรมอย่างเป็นธรรม
- ↑ คัดค้านโดยอ้างมโนธรรมอย่างเป็นธรรม
- ↑ HRC views in case Yoon and Choi v. Republic of Korea, communications nos. 1321-1322/2004
- ↑ คัดค้านโดยอ้างมโนธรรมอย่างเป็นธรรม
- ↑ UNCHR