พะทรอคลัส
ในเทพปกรณัมกรีก พะทรอคลัส (อังกฤษ: Patroclus) หรือ ปาโตรโกลส (กรีกโบราณ: Πάτροκλος) เป็นสหายสนิทและเพื่อนร่วมออกศึกของอคิลลีส เขาเป็นโอรสของท้าวมานีเชียสแห่งแคว้นโอปุส ท้าวมานีเชียสยกเขาให้แก่ท้าวพีลยูสแห่งไทอา ซึ่งท้าวพีลยูสทรงตั้งชื่อเจ้าชายน้อยว่าพะทรอคลัส ทั้งอคิลลีสและพะทรอคลัสจึงเติบโตขึ้นมาด้วยกันตั้งแต่เด็ก[1] พะทรอคลัสที่อายุมากกว่าจึงเป็นเสมือนพี่ชายและผู้ให้คำปรึกษาแก่อคิลลีส[2]
ผู้เป็นดั่งพะโทรคลิสที่มีตัวตนอยู่จริง คือเฮฟีสเทียน สหายสนิทของอเล็กซานเดอร์มหาราช
สงครามกรุงทรอย
[แก้]ในมหากาพย์อีเลียดบทสงครามกรุงทรอย เมื่อทหารทรอยสามารถผลักดันทหารกรีกเมอร์มิดอนจนเกือบจะถึงจุดเทียบกองเรือของทหารกรีกเมอร์มิดอน พะทรอคลัสเอ่ยปากกับอคิลลีสเพื่ออาสาจะนำทหารกรีกเมอร์มิดอนออกต่อต้านทหารทรอยให้ถอยห่างจากกองเรือ อคิลลีสยอมตามนั้น และมอบชุดเกราะของตนที่ได้รับมาจากพระบิดาให้แก่พะทรอคลัส เพื่อให้พะทรอคลัสปลอมตัวเป็นอคิลลีส อคิลลีสสั่งพะทรอคลัสกลับมาหาตนเมื่อผลักดันพวกรอยกลับไปได้แล้ว[3]
เมื่อพะทรอคลัสใส่ชุดเกราะของอคิลลีสออกไปรบ สถานการณ์รบก็กลับตาลปัตร ทหารกรีกเมอร์มิดอนสามารถรุกตีจนทหารทรอยหนีกลับเข้ากำแพงเมือง แต่พะทรอคลัสไล่ตามทหารทรอยไปจนถึงหน้าประตูเมืองกรุงทรอย[4] และฆ่าชาวทรอยและพันธมิตรไปมากมาย ซึ่งรวมถึงซาร์ปีดันบุตรแห่งซูส ทำให้ระหว่างต่อสู้นั้นเอง เทพอะพอลโลริบรอนความเก่งกาจของพะทรอคลัส เขาถูกฆ่าตายด้วยทวนโดยเจ้าชายเฮกเตอร์[5]
ความสัมพันธ์กับอคิลลีส
[แก้]ความสัมพันธ์ที่แท้จริงระหว่างอคิลลีสกับพะทรอคลัสนั้นยังเป็นที่ถกเถียงกันทั้งในสมัยคลาสสิกและสมัยใหม่ ถึงแม้ในหนังสือ Iliad เน้นย้ำความสัมพันธ์จุดนี้ในแง่สหายผู้ภักดีเป็นพิเศษ แต่ก็ไม่ได้ระบุว่าทั้งสองเป็นคู่รักกัน ฝ่ายโฮเมอร์เองก็ไม่ได้กล่าวถึงว่าอคิลลิสและสหายพะทรอคลัสเป็นคู่รักเช่นกัน[6] ถึงกระนั่น นักวิจารณ์สมัยคลาสสิกมักวิจารณ์ในมุมมองของวัฒนธรรมตนเท่านั้น แต่สำหรับวัฒนธรรมกรุงเอเธนส์ของกรีกในศตวรรษที่ 5 ก่อนคริสตกาล ความสัมพันธ์แบบลึกซึ้งระหว่างชาย-ชายจะเรียกว่า เปเดราสตีส (παίδἐραστής) อย่างเช่นที่เพลโตเคยสรุปไว้ในหนังสือ Symposium ว่าอคิลลีสกับพะทรอคลัสเป็นคู่รักกัน หรือสรุปไว้ในหนังสือ Phaedrus ว่าอคีลลิสนั้นมีอายุน้อยกว่าและมีรูปโฉมงามกว่าพะทรอคลัส ดังนั้นอคีลลิสจึงรับบทบาทผู้ถูกรัก (eromenos) และพะทรอคลัสรับบทบาทผู้รัก (erastes)[7] แต่ขณะเดียวกัน สมัยกรีกโบราณไม่มีศัพท์ที่ใช้แบ่งแยกรักต่างเพศกับรักร่วมเพศอย่างชัดเจน[8] จึงอาจอนุมานได้ทั้งสองทางไม่ว่าพวกเขาอาจชอบทั้งเพศชายและเพศหญิงก็ย่อมเป็นไปได้
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Lattimore, Richmond (2011). The Iliad of Homer. Chicago: The University of Chicago Press. pp. 474 b.23 l.85.
- ↑ Finlay, Robert (1980). Patroklos, Achilleus, and Peleus: Fathers and Sons in the Iliad. The Classical World. pp. 267–273.
- ↑ Lattimore, Richmond (2011). The Iliad of Homer. Chicago: The University of Chicago Press. pp. 353 b. 16 l. 64–87.
- ↑ Smith, William (1870). Dictionary of Greek and Roman biography and mythology. Boston: Little. p. 140.
- ↑ Lattimore, Richmond (2011). The Iliad of Homer. Chicago: The University of Chicago Press. pp. 373 b. 16 l. 804–822.
- ↑ Robin Fox (2011). The Tribal Imagination: Civilization and the Savage Mind. Harvard University Press. p. 223. ISBN 9780674060944.
There is certainly no evidence in the text of the Iliad that Achilles and Patroclus were lovers.
- ↑ Plato, Symposium, 180a; the beauty of Achilles was a topic already broached at Iliad 2.673–674.
- ↑ Kenneth Dover, Greek Homosexuality (Harvard University Press, 1978, 1989), p. 1 et passim.