ข้ามไปเนื้อหา

เครื่องสูบน้ำ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ปั๊มน้ำ)

เครื่องสูบน้ำ หรือ ปั๊มน้ำ (อังกฤษ: water pump) คือ อุปกรณ์สำหรับส่งน้ำหรือถ่ายเทของเหลวจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง หรือหมุนเวียนน้ำหรือของเหลวให้ผสมกันในบริเวณที่จำกัด เช่น centrifugal pump,เครื่องสูบน้ำไว้รดน้ำผัก ในสมัยก่อนการใช้ระหัด (rahat) ในการสูบน้ำ ซึ่งเรียกว่า การชักน้ำหรือวิดน้ำ ด้วยแรงคน แรงสัตว์ หรือแรงกลจากลม

ประเภทของเครื่องสูบน้ำ

[แก้]

แบ่งตามลักษณะการทำงานออกเป็น 2 คือ

  1. แบบอาศัยแรงกลไกการเหวี่ยงหนีศูนย์กลางในการพาของเหลว
  2. แบบอาศัยการแทนที่ในการพาของเหลว

เครื่องสูบน้ำอัตโนมัติจะเหมาะสำหรับอาคาร ตึกแถว ทาวน์เฮ้าส์ และบ้านเดี่ยว โดยจะทำงานด้วยระบบสวิตซ์เปิด-ปิดอัตโนมัติ ประหยัดไฟฟ้า มีกำลังส่งไปยังจุดต่าง ๆ ภายในบ้านได้ดี และสามารถต่อกับเครื่องทำน้ำอุ่น เครื่องซักผ้า หรือก๊อกน้ำได้

  • เครื่องสูบน้ำแบบแรงดันคงที่ เหมาะสำหรับอาคารตึกแถว ทาวน์เฮ้าส์ บ้านเดี่ยว เป็นเครื่องสูบแบบอัตโนมัติควบคุมแรงดันคงที่ ให้น้ำสม่ำเสมอ เหมาะกับการติดตั้งใช้กับเครื่องทำน้ำอุ่น และไม่เป็นสนิมตลอดอายุการใช้งาน
  • เครื่องสูบน้ำแบบหอยโข่ง เหมาะสำหรับการสูบน้ำขึ้นตึกสูง และงานเกษตร เช่นการสูบจากถังเก็บน้ำหรือบ่อ หรือใช้งานกับสปริงเกอร์ โดยสามารถสูบน้ำได้ในปริมาณที่มาก และมีแรงส่งที่สูง
  • เครื่องสูบน้ำแบบจุ่ม เหมาะสำหรับงานสูบน้ำออก เช่นการระบายน้ำท่วม หรือการใช้งานในบ่อน้ำพุ ซึ่งเครื่องประเภทนี้จะมีแรงส่งต่ำ แต่สูบน้ำได้ในปริมาณมาก ๆ

การเลือกใช้

[แก้]
ลักษณะบ้านและการใช้งาน ขนาดเครื่องสูบน้ำที่เหมาะสม (วัตต์)
บ้านไม่เกิน 2 ชั้น มีการใช้น้ำพร้อมกันไม่เกิน 2 จุด 100 วัตต์
บ้านไม่เกิน 2 ชั้น มีการใช้น้ำพร้อมกันไม่เกิน 2 จุด มีเครื่องทำน้ำอุ่น 1 เครื่อง 150 วัตต์
บ้านไม่เกิน 3 ชั้น มีการใช้น้ำพร้อมกันไม่เกิน 2 จุด มีเครื่องทำน้ำอุ่น 1 เครื่อง 200 วัตต์
บ้านไม่เกิน 4 ชั้น มีการใช้น้ำพร้อมกันไม่เกิน 3 จุด มีเครื่องทำน้ำอุ่น 1 เครื่อง 250 วัตต์
บ้านไม่เกิน 4 ชั้น มีการใช้น้ำพร้อมกันไม่เกิน 3 จุด มีเครื่องทำน้ำอุ่น 2 เครื่อง 300 วัตต์

การทำงานของเครื่องสูบน้ำประเภทต่าง ๆ

[แก้]

เครื่องสูบน้ำมีทั้งแบบที่ใช้มอเตอร์ไฟฟ้า และแบบที่ใช้เครื่องยนต์ เพื่อทำหน้าที่หมุนส่งกำลังให้เครื่องสูบทำงานเพิ่มแรงดันและส่งน้ำไปตามท่อ โดยแบบที่ใช้ในบ้านส่วนใหญ่จะเป็นแบบไฟฟ้า ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ

เครื่องสูบน้ำแบบใบพัด

ทำงานด้วยการหมุนของใบพัด ทำให้เกิดแรงดันจ่ายไปตามท่อน้ำ มีข้อดีที่ขนาดเล็ก หลักการทำงานที่เรียบง่าย มีชิ้นส่วนน้อย จ่ายน้ำได้ในปริมาณมาก และสร้างแรงดันน้ำได้มากพอควร ซึ่งหากต้องการแรงดันสูงก็สามารถนำหลายเครื่องมาต่อพ่วงกันเป็นทอด ๆ ได้ ปัจจุบันนิยมใช้เครื่องสูบน้ำประเภทนี้กันมาก และมีชื่อเรียกแตกต่างกันออกไปตามรูปร่างลักษณะของตัวเครื่อง เช่นเครื่องสูบน้ำอัตโนมัติ เครื่องสูบน้ำแบบหอยโข่ง ปั๊มไดโว่ เป็นต้น ในสมัยก่อนการใช้แครื่องยนต์ทดแรง มีการใช้ระหัด (rahat หริอ chain pump) ในการสูบน้ำ ซึ่งเรียกว่า การชักน้ำหรือวิดน้ำ ด้วยแรงคน แรงสัตว์ แรงกลจากลมหรือน้ำ โดยผ่านบริเวณที่จำกัดคือ รางระหัดซึ่งประกอบกับสายพานที่มีใบชักหลายใบหรือกระบอกคล้ายโซ่จักรยาน ในการชักน้ำทีละน้อย ๆ

เครื่องสูบน้ำแบบลูกสูบ

ทำงานด้วยการชักลูกสูบเลื่อนไปมาในลูกสูบ และมีวาล์วเปิดปิดน้ำเข้าออกจากลูกสูบซึ่งจะเป็นการเพิ่มแรงดันน้ำโดยตรง ในสมัยก่อนจะนิยมใช้กันมากโดยเฉพาะในสวน ปัจจุบันไม่ค่อยเป็นที่นิยมแล้ว ข้อดีของเครื่องประเภทนี้คือสามารถสร้างแรงดันน้ำได้สูง แต่มีข้อเสียที่ให้ปริมาณน้ำน้อย และมีการสึกหรอของลูกสูบมาก

เครื่องสูบน้ำแบบใบเกลียว

การสูบน้ำแบบใบเกลียว (Progressive cavity pump และ Screw pump) มีหลักการทำงานแบบเกลียวอาร์คิมิดีส ด้วยการหมุนเกลียวในการผลักน้ำ เครื่องสูบแบบนี้สามารถพัฒนาแรงดันสูงมากแต่ปริมาณการสูบต่ำ เหมาะสำหรับการสูบน้ำที่มีสิ่งเจือปนขนาดใหญ่ หรือมีสิ่งปฏิกูลปนอยู่มาก เนื่องจากมีความหนืดสูงต้องใช้กำลังในการผลักหรือสูบมาก