พัก จ็อง-ฮี
มีข้อสงสัยว่าบทความนี้อาจละเมิดลิขสิทธิ์ แต่ระบุไม่ได้ชัดเจนเพราะขาดแหล่งที่มา หรืออ้างถึงสิ่งพิมพ์ที่ยังตรวจสอบไม่ได้ หากแสดงได้ว่าบทความนี้ละเมิดลิขสิทธิ์ ให้แทนป้ายนี้ด้วย {{ละเมิดลิขสิทธิ์}} หากคุณมั่นใจว่าบทความนี้ไม่ได้ละเมิดลิขสิทธิ์ ให้แสดงหลักฐานในหน้าอภิปราย โปรดอย่านำป้ายนี้ออกก่อนมีข้อสรุป |
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
พัก จ็อง-ฮี | |
---|---|
박정희 | |
ประธานาธิบดีเกาหลีใต้ คนที่ 3 | |
ดำรงตำแหน่ง 24 มีนาคม พ.ศ. 2505 – 26 ตุลาคม พ.ศ. 2522 | |
ก่อนหน้า | ยุน โบซ็อน |
ถัดไป | ชเว กยูฮา |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2460 กูมิ-ซี, จังหวัดคยองซังเหนือ, เกาหลีภายใต้การปกครองของญี่ปุ่น |
เสียชีวิต | 26 ตุลาคม พ.ศ. 2522 (62 ปี) โซล, เกาหลีใต้ |
ศาสนา | พุทธนิกายมหายาน |
พรรคการเมือง | พรรคสาธารณรัฐประชาธิปไตย |
คู่สมรส | ยุก ย็องซู |
บุตร | พัก กึนฮเย พัก โซย็อง พัก จีมัน |
ลายมือชื่อ | |
เว็บไซต์ | www |
ชื่อเกาหลี | |
ฮันกึล | |
---|---|
ฮันจา | |
อาร์อาร์ | Bak Jeonghui |
เอ็มอาร์ | Pak Chŏnghŭi |
นามปากกา | |
ฮันกึล | 중수 |
ฮันจา | |
อาร์อาร์ | Jungsu |
เอ็มอาร์ | Chungsu |
ชื่อญี่ปุ่น: ญี่ปุ่น: ทะกะงิ มะซะโอะ; โรมาจิ: 高木正雄 |
พลเอก พัก จ็อง-ฮี (เกาหลี: 박정희; ฮันจา: 朴正熙; อาร์อาร์: Bak Jeonghui; ในภาษาไทยนิยมทับศัพท์เป็น ปักจุงฮี[1] หรือ ปาร์ค จุงฮี, 14 พฤศจิกายน ค.ศ. 1917 – 26 ตุลาคม ค.ศ. 1979) เป็นประธานาธิบดีของเกาหลีใต้ ระหว่างปี ค.ศ. 1961 - ค.ศ. 1979 ในปัจจุบันบทบาทของเขายังเป็นข้อถกเถียงกันว่าเขาเป็นผู้นำเผด็จการผู้ได้อำนาจมาจากรัฐประหารโดยทหารและดำเนินการควบคุมประเทศด้วยกฎอันเข้มงวดถึง 18 ปี จนกระทั่งเขาถูกลอบสังหารเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม ค.ศ. 1979[2] ในขณะที่เขาก็ได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้ที่นำพาเกาหลีไปสู่ยุคอุตสาหกรรมและเน้นการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจไปที่การส่งออกเป็นหลัก (export-led growth)[3] พัก ช็อง-ฮีได้รับการยกย่องจากนิตยสารไทม์ว่าเป็นหนึ่งในสิบของชาวเอเซียแห่งศตวรรษในปี ค.ศ. 1999[4] นอกจากนี้ พัก ช็อง-ฮี มีลูกสาวคนโต ชื่อ พัก กึน-ฮเย ซึ่งเคยดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีเกาหลีใต้ และเป็นประธานาธิบดีหญิงคนแรกของเกาหลีใต้
ชีวิตช่วงต้นและการศึกษา
[แก้]พัคเกิดใน Seonsan เป็นเมืองเล็ก ๆ ใน Gumi-si จังหวัดคย็องซังเหนือ ใกล้เมืองแทกู ในทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเกาหลี เขาเป็นลูกคนที่เจ็ดของครอบครัวที่ยากจน พ่อเป็นผู้พิพากษาในเขตปกครองที่อยู่ภายใต้การยึดครองของญี่ปุ่น พัค สอบเข้าศึกษาต่อในวิทยาลัยครูแทกูในปี ค.ศ. 1932 และจบการศึกษาในปี ค.ศ. 1937 จากนั้น เขาเป็นอาจารย์สอนหนังสือในโรงเรียนเป็นเวลาหลายปีที่ Mungyeong ปีของเขาใกล้เคียงกับการรุกรานของญี่ปุ่นของจีนที่เริ่มต้นด้วยเหตุการณ์แมนจูเรียในปี 1931 และปิดท้ายในสงครามทั้งหมดจบลงในปี 1937
ในแมนจูกัว
[แก้]พัค ได้รับรางวัลการเข้าสู่โปรแกรมการฝึกอบรมสองปี ในแมนจูกัว เขตปกครองของญี่ปุ่น ในแมนจูเรีย ภายใต้นโยบายของญี่ปุ่น โซชิ-kaimei เขามีชื่อเป็นภาษาญี่ปุ่นว่า ทาคากิ มาซาโอะ (高木正雄) เขาจบการศึกษาจาก "ญี่ปุ่นแมนจูเรีย" สถาบันการทหารด้วยคะแนนเกียรตินิยมของชั้นเรียน ในปี 1942 จากนั้นเขาได้รับเลือกอีกสองปีของการฝึกอบรมที่สถาบันการทหารอิมพีเรียล ในกรุงโตเกียว เป็นนายทหารคนสำคัญของการแสดงสิทธิโดยกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่น หลังจากที่เขาจบการศึกษาในปี 1944 เขากลายเป็นนายทหารของ Kantogun ที่หน่วยของกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่น และได้รับการเลื่อนยศเป็นร้อยโทของกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่น (รัฐกัว) ก่อนที่จะสิ้นสุดของสงครามในมหาสมุทรแปซิฟิกในปี 1945 (สงครามโลกครั้งที่สอง)
กลับสู่เกาหลี
[แก้]ในผลพวงจากการพ่ายแพ้ของญี่ปุ่น ในสงครามโลกครั้งที่สอง เขาถือเป็นผู้นำในการปฏิวัติและได้รับความนิยมจากเพื่อนทหารของเขา พัก เข้าร่วมกลุ่มคอมมิวนิสต์พรรคแรงงานเกาหลีใต้ ในเขตยึดครองของชาวอเมริกัน ซึ่งต่อมากลายเป็นสาธารณรัฐเกาหลี พัก เกี่ยวข้องในการสมรู้ร่วมคิดที่จะเอาประธาน อี ซึงนัม ออกจากตำแหน่ง ในช่วงต้นปี 1949 พาร์คถูกจับข้อหากบฏและถูกตัดสินจำคุกตลอดชีวิต แต่ด้วยคำแนะนำของที่ปรึกษาทหารชาวอเมริกัน คนสำคัญของรัฐบาล นาย. James Hausman ทำให้ พักได้รับการปล่อยตัว หลังจากที่เปิดเผยชื่อของผู้เข้าร่วมพรรคคอมมิวนิสต์ ไปยังนายทหารเกาหลีใต้ อย่างไรก็ตามด้วยเหตุของสงครามเกาหลี ทำให้เขาสามารถกลับคืนสู่สถานะของเขา และทำหน้าที่ในการต่อสู้กับคอมมิวนิสต์
ชีวิตทางการเมือง
[แก้]อี ซึง-มัน ประธานาธิบดีคนแรกของสาธารณรัฐเกาหลีลาออกจากตำแหน่งเมื่อวันที่ 26 เมษายน ค.ศ. 1960 จากเหตุการณ์เคลื่อนไหว ใน 19 เมษายน 1960 การจลาจลที่นำโดยนักศึกษา ในขณะที่เศรษฐกิจ ของประเทศกำลังย่ำแย่จากการทุจริต นักศึกษาได้ออกมาทำการขับไล่ อี ซึงมัน มีการประท้วงตามท้องถนน กับข้อเรียกร้องที่หลากหลาย ข้อเรียกร้อง หลักๆคือการปฏิรูปทางการเมือง รวมถึงเศรษฐกิจ และกฎหมาย โดยที่ตำรวจถูกใช้เครื่องมือของรัฐบาล อี ซึงมัน รัฐบาล ยุน ซึ่งปกครองประเทศภายหลังที่ได้เกิดเหตุการณ์ ประท้วงโค่นล้มรัฐบาลของประธานาธิบดี อี ซึงมัน โดยกลุ่มนักศึกษา และประชาชน โดย อี ซึงมัน ได้ลาออกจากตำแหน่งไป
ยุน โบ-ซ็อน เข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีคนที่ 2 แห่งสาธารณรัฐเกาหลีเมื่อวันที่ 13 สิงหาคม ค.ศ. 1960 แต่เป็นเพียงช่วงเวลาสั้น ๆ ของการปกครองในรัฐสภาสาธารณรัฐเกาหลีโดย ยุน โบซอน สาเหตุที่ยุนต้องลงจากอำนาจในการบริหารประเทศอย่างรวดเร็ว เนื่องจากเขาไม่สนใจในความคิดเห็นของคนส่วนใหญ่ในพรรคการเมืองที่เขาสังกัดอยู่ และยังกระหายในความเผด็จการและการทุจริต รัฐบาลของยุนมีการสับเปลี่ยนตำแหน่งคณะรัฐมนตรีถึง 3 ครั้งภายในระยะเวลาเพียง 5 เดือน
รัฐบาลของยุน โบ-ซ็อนสิ้นสุดลงเพราะเกิดการรัฐประหารซึ่งนำโดยพลตรี พัก ช็อง-ฮี ในวันที่ 16 พฤษภาคม ค.ศ 1961 เรียกกันว่า "การปฏิวัติ 5.16" การกระทำรัฐประหารครั้งนี้ได้รับการต้อนรับจากประชาชนส่วนใหญ่ ความวุ่นวายทางการเมืองยุติลง แม้ว่าจะมีการต่อต้านอยู่บ้างประปราย ยุน โบ-ซ็อนยังคงดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีทำงานบริหารต่อไปเพื่อให้ถูกต้องตามหลักกฎหมายของระบอบการปกครอง จนกระทั่งเขาลาออกเมื่อวันที่ 22 มีนาคม ค.ศ. 1962 พัก ช็อง-ฮีจึงกลายเป็นผู้มีอำนาจที่แท้จริงในฐานะประธานสภาสูงสุดเพื่อการฟื้นฟูแห่งชาติ ในขณะเดียวกันนั้น ยังคงมีแรงกดดันจากสหรัฐอเมริกาภายใต้รัฐบาลของประธานาธิบดีจอห์น เอฟ. เคนเนดี ซึ่งมีท่าทีสนับสนุนรัฐบาลพลเรือน
ในการเลือกตั้งปี ค.ศ. 1963 พัก ช็อง-ฮีชนะการเลือกตั้งอย่างฉิวเฉียด โดยพักมีคะแนนนำคู่แข่งเพียงแค่ 1.5% เท่านั้น และเขายังชนะการเลือกตั้งอีกครั้งในปี ค.ศ. 1967
การแก้ไขรัฐธรรมนูญ
[แก้]ก่อนหน้าที่พักจะเข้าบริหารประเทศ มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นครั้งที่ 3 โดยให้มีการปรับเปลี่ยนมาใช้ระบบรัฐสภา (Parliamentary system) โดยให้นายกรัฐมนตรีทำหน้าที่เป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร ส่วนประธานาธิบดีที่ได้รับเลือกตั้งจากประชาชนทำหน้าที่เป็นเพียงประมุขของประเทศและเป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุด ระบบรัฐสภาดังกล่าวได้นำมาใช้ในช่วงสั้น ๆ ระหว่างเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1960 – กรกฎาคม ค.ศ. 1961 เท่านั้น
การแก้ไขครั้งที่ 4 เกิดขึ้นในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1960 โดยได้เพิ่มบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญว่า ให้รัฐสภาออกกฎหมายเพิ่มการลงโทษต่อผู้ที่ทุจริตในการเลือกตั้งและให้ลงโทษต่อผู้ที่รับผิดชอบในการสังหารและทำร้ายผู้ที่ประท้วงเรื่องการทุจริตการเลือกตั้ง รวมถึงมีการกำหนดบทลงโทษต่อผู้ต่อต้านการปกครองระบอบประชาธิปไตยและต่อข้าราชการที่ทำการคอร์รัปชั่น
การแก้ไขครั้งที่ 5 เกิดขึ้นในยุครัฐบาลทหารรักษาการณ์ในปี ค.ศ. 1962 โดยกำหนดให้นำระบบประธานาธิบดีและการมีสภาเดี่ยวกลับมาใช้ดังเดิม
ในปี ค.ศ. 1969 มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งที่ 6 เป้าหมายหลัก คือ การขยายวาระของการดำรงตำแหน่งของประธานาธิบดีออกเป็น 3 วาระ ข้อกำหนดคราวนี้มีผลให้ประธานาธิบดีพัก ช็อง-ฮี สามารถดำรงตำแหน่งติดต่อกันจนถึงวาระที่ 3 ได้
อย่างไรก็ตาม การแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งที่เจ็ด ในปี ค.ศ. 1972 ได้เพิ่มบทบัญญัติให้ประธานาธิบดีสามารถอยู่ในตำแหน่งได้ตลอดชีวิต ซึ่งหมายถึงการยกเลิกการกำหนดวาระของการดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีนั่นเอง เพื่อให้นายพัก ช็อง-ฮีสามารถดำรงตำแหน่งดังกล่าวได้ตลอดไป อนึ่ง ได้มีการกำหนดให้มีการเลือกตั้งประธานาธิบดีโดยผ่านทางคณะผู้เลือกตั้ง (electoral college) หรือเรียกว่า เป็นการเลือกทางอ้อม นอกจากนี้ รัฐธรรมนูญฉบับนี้ยังเพิ่มอำนาจให้กับประธานาธิบดีมากขึ้น เช่น เป็นผู้แต่งตั้งสมาชิกรัฐสภาจำนวนหนึ่งในสามของสภาทั้งหมด สามารถยุบสภาได้ และสามารถประกาศภาวะฉุกเฉินเพื่อสลายกลุ่มหรือบุคคลที่ทำการต่อต้านรัฐบาลได้
การจัดตั้งองค์กรด้านข่าวกรอง
[แก้]พัก ช็อง-ฮีเป็นผู้ริเริ่มจัดตั้งองค์กรณ์เพื่อควบคุมในด้านต่าง ๆ ของประเทศ หนึ่งในองค์กรที่มีบทบาทในทางการเมืองเป็นอย่างมาก คือ สำนักข่าวกรองกลางเกาหลี (KCIA : Korea Central Intelligence Agency) จัดตั้งขึ้นเมื่อ 19 มิถุนายน ค.ศ. 1961 ในสมัยของพัก ช็อง-ฮี โดยมีต้นแบบมาจากองค์กร CIA ของสหรัฐอเมริกา มีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันการทำรัฐประหารต่อ รัฐบาลของพัก ช็อง-ฮี และปราบปรามศัตรูที่มีศักยภาพทั้งในประเทศและต่างประเทศ องค์กรนี้มีอำนาจสืบสวนและสามารถจับกุมกักขังทุกคนที่ต้องสงสัยว่ากระทำผิดกฎหมายหรือเก็บงำความรู้สึกต่อต้านรัฐบาลทหาร ไม่เพียงเท่านั้นสำนักข่าวกรองกลางเกาหลียังขยายอำนาจของตนเพื่อกิจการทางเศรษฐกิจและต่างประเทศ ภายใต้การสนับสนุนจากพัก และดำเนินการองค์กรโดยผู้นำหน่วยคนแรก คิม จองพิล (หลานเขยของพัก) ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้วางแผนการทำรัฐประหารของพัก
ในช่วงแรก องค์กรนี้มีหน้าที่เจรจาในเกาหลีเหนือ ต่อมาเมื่ออำนาจของพัก ช็อง-ฮีมีมากขึ้น KCIA ได้กลายมาเป็นองค์กรส่วนตัวของประธานาธิบดี มีหน้าที่คอยสอดส่องดูแลและแทรกซึมเข้าไปในทุกวงการทั้งในและต่างประเทศ พักใช้อำนาจที่มีอยู่ในมือของสำนักข่าวกรองกลางอย่างเผด็จการ มีการใช้อำนาจของตนเพื่อกิจการทางเศรษฐกิจ โดยทำการจับกุมนักธุรกิจ นักการเมืองที่มีพฤติกรรมในการทุจริตคอร์รัปชั่น รวมถึงผู้ครอบครองทรัพย์สินและร่ำรวยอย่างผิดปกติมาบังคับให้จ่ายค่าปรับ ซึ่งนอกจากจะเป็นทรัพย์สินเงินทอง ยังเป็นหุ้นจากธนาคารพาณิชย์ ทำให้รัฐบาลมีทุนและสามารถควบคุมธนาคารพาณิชย์ ให้มาร่วมมือสนับสนุนการลงทุนตามนโยบายของรัฐบาล นอกจากเหนือจากนั้น พักยังเข้าทำการยึดอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นในสมัยที่มาปกครองเกาหลี มาเป็นของรัฐและมอบให้เอกชนที่พักคัดเลือกมารับช่วงดำเนินการต่อไปโดยมีรัฐบาลค้ำประกัน ภายหลังองค์กรนี้ได้ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น "Agency for National Security Planning
อย่างไรก็ตาม สหรัฐอเมริกาเกิดความกังวลเกี่ยวกับพักที่จะดำเนินการลับกับพรรคคอมมิวนิสต์ นายทหารชาวอเมริกัน James Hausman ได้บินไปกรุงวอชิงตันด้วยการสนับสนุนจากสถานทูตสหรัฐในกรุงโซล นายทหารระดับสูงกล่าวว่ามีเหตุสำหรับความกังวลใจเกี่ยวกับพัก ทั้งนี้ พักไม่ได้เป็นคนที่สหรัฐอเมริกาจะให้การรับรองที่จะเป็นผู้นำคนต่อไปของเกาหลี
นโยบายด้านเศรษฐกิจ
[แก้]แนวความคิดในการพัฒนาทางเศรษฐกิจของพัก ช็อง-ฮี มีที่มาจากประสบการณ์ของเขาที่ได้รับมาจากกองทัพญี่ปุ่น ด้วยการวางแผนและใช้อำนาจควบคุมจากส่วนกลางและใช้อำนาจเด็ดขาดในการควบคุม พักได้จัดตั้ง 4 หน่วยงานไว้กำกับดูแลเพื่อความมีประสิทธิภาพของการพัฒนาเศรษฐกิจ ได้แก่
- 1. คณะกรรมการการวางแผนเศรษฐกิจ (EPB)
- 2. กระทรวงการค้าและอุตสาหกรรม (MTI)
- 3. กระทรวงการคลัง
- 4. หน่วยข่าวกรองกลาง (KCIA)
การจัดตั้งหน่วยงานที่กำกับดูแลด้านเศรษฐกิจเช่นนี้ มีความคล้ายคลึงกันกับของประเทศญี่ปุ่น ในญี่ปุ่นหน่วยงานเหล่านี้เป็นองค์ประกอบสำคัญในการพัฒนาทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะหน่วยงานสำนักข่าวกรองกลางเป็นเครื่องมือที่มีความสำคัญในการควบคุมทางด้านการเมืองไปพร้อมกับอำนาจของการตัดสินใจทางเศรษฐกิจ
พักใช้แผนพัฒนาทางเศรษฐกิจเพื่อที่จะยกระดับสถานภาพของสาธารณรัฐเกาหลี โดยได้จัดวางผู้เชี่ยวชาญทางด้านเศรษฐกิจในการควบคุมดูแล ในปี ค.ศ. 1961 มีการจัดตั้งคณะกรรมการการวางแผนเศรษฐกิจ (EPB) พักยืนยันว่าในตำแหน่งคณะกรรมการระดับสูงเหล่านี้จะเต็มไปด้วยบุคคลที่มีคุณสมบัติทางเทคนิคที่ยอดเยี่ยม มากกว่าที่จะเป็นนักการเมืองหรือสมาชิกระดับสูงของทหาร ต่อมาในปี ค.ศ. 1962 EPB ได้ดำเนินการตามแผนพัฒนา "แผนห้าปีสำหรับการพัฒนาของเกาหลี" ธนาคารของรัฐบาลถูกจัดตั้งขึ้นเพื่อช่วยในการดำเนินการตามแผนพัฒนา มีการออกกฎหมายบังคับใช้กับธนาคารเอกชน เพื่อให้เกิดความมีประสิทธิภาพ
ที่สำคัญ แผนห้าปีสำหรับการพัฒนาของเกาหลี รัฐบาลเป็นผู้มีส่วนร่วมในการประกอบอุตสาหกรรม ในช่วงปี ค.ศ. 1960 งบประมาณของรัฐบาลประมาณกว่าหนึ่งในสาม เป็นการลงทุนโดยภาครัฐ และมีสัดส่วนที่ใกล้เคียงกับหนึ่งในสามของเงินทุนทั้งหมดในประเทศ ดังนั้นระหว่างปี ค.ศ. 1963 ถึงปี ค.ศ. 1977 รัฐวิสาหกิจในเกาหลีมี GDP เพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 10 ต่อปี ส่วนแบ่งของการส่งออกโดย รัฐวิสาหกิจในเกาหลีมี GDP สูงเทียบเคียงกับประเทศอินเดียหรือประเทศปากีสถาน สะท้อนให้เห็นถึงการเป็นตัวแทนที่โดดเด่นในทางเศรษฐกิจ
รัฐบาลของพักมีความก้าวหน้าด้วยบทบาทของรัฐบาลเกาหลีที่เป็น "ผู้ประกอบการและผู้จัดการ" และเป็นที่ประจักษ์มากขึ้น เมื่อองค์กรโดยรัฐบาลที่สำคัญเหล่านี้ ยังสนับสนุนกิจการที่ดำเนินการโดยภาคเอกชน สืบเนื่องจากนโยบายในการอุดหนุนผู้ประกอบการภาคเอกชนที่มีศักยภาพที่สามารถจะบรรลุเป้าหมายระดับสูงของการผลิตสินค้าคุณภาพเพื่อการส่งออกหรือผลิตภายในประเทศเพื่อลดการนำเข้า โดยเงินอุดหนุนส่วนใหญ่จากรัฐบาลเป็นรูปแบบของการเข้าถึงสิทธิพิเศษ ทั้งสินเชื่อและเครดิต
มีการดำเนินการจัดตั้งกลุ่มบริษัทใหญ่อย่าง chaebol เช่น กลุ่มบริษัท ฮุนได / แดวู / ซัมซุง / โกลสตาร์ (LG) ซึ่งส่วนใหญ่เป็นบริษัทที่ประสบความสำเร็จตามนโยบายของพัก กลุ่มผู้ประกอบการเหล่านี้ประสบความสำเร็จในการขยายธุรกิจของพวกเขาด้วยนโยบายที่มีประสิทธิภาพมากของพัก ด้วยการปลูกฝังค่านิยมที่มุ่งเน้นการส่งออก บริษัทที่จัดตั้งขึ้นเป็นการอำนวยความสะดวกอย่างหนึ่งในภาพรวมของการส่งออกของประเทศ
สามปัจจัยที่สำคัญ (ที่เรียกว่า "สามเหลี่ยมเหล็ก") สำหรับการฟื้นฟูประเทศ
- 1.ความมั่นคงของรัฐ
- 2.ระบบราชการที่แข็งแกร่ง
- 3.กลุ่มธุรกิจ chaebol
รัฐบาลพักสามารถรวมผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจของประเทศและภาคเอกชนในลักษณะที่มีความรู้สึกถึงชาตินิยมที่ช่วยให้รัฐบาลผลักดันนโยบายด้านเศรษฐกิจ นโยบายเหล่านี้ ได้รับการจัดตั้งขึ้นในหลายวิธี รวมทั้งเงินทุนหรือค้ำประกันสินเชื่อโดยรัฐบาล นโยบายซึ่งถูกนำมาใช้เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ การดำเนินการตามนโยบายที่ส่งผลให้อุตสาหกรรมภาครัฐ ให้การสนับสนุนการขยายตัวในเชิงพาณิชย์ กับ กลุ่ม บริษัท Chaebol ในเกาหลีใต้ มักถูกเรียกว่ากลุ่มธุรกิจครอบครัว หรือการควบคุมผู้ผูกขาด ทั้งด้านผลิตภัณฑ์ และอุตสาหกรรม พวกเขาสามารถนำมาเปรียบเทียบกับกลุ่ม บริษัท ของสหรัฐอเมริกาและ Zaibatsu ของญี่ปุ่น บางครั้งตัวทหารเกาหลีเองถือว่าเป็น chaebol ในอุตสาหกรรมของเกาหลีใต้ พัก สนับสนุนการเพิ่มขึ้นของกลุ่ม chaebol อำนวยความสะดวกในการปรับปรุงกลุ่มเหล่านี้ เพื่อประโยชน์ของการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ในภาพรวม ภายในการดำเนินงานของกลุ่ม chaebol ที่มีหลายสาขา และดำเนินการควบคุมทุกธุรกิจของกลุ่ม chaebol กลุ่มธุรกิจ ที่เริ่มต้นจากกลุ่มธุรกิจครอบครัว และร้อยละ 70 ของกลุ่ม chaebol มีการจัดการสมาชิกในครอบครัวเพื่อให้สมดุลทางอำนาจ และกลุ่มเหล่านี้จะเติบโตแข็งแกร่งขึ้นในรูปแบบของพันธมิตร... chaebol จำนวนมาก มักผ่านการแต่งงานรวมกลุ่มกัน ตัวอย่าง ซัมซุง และ ฮุนได ความผูกพันทางการเมือง หลายคนถูกสร้างขึ้นภายใน กลุ่ม chaebols หนึ่งในสามของ กลุ่ม chaebol ครอบครองสำนักงานระดับสูงในสามสาขาของรัฐบาล ด้วยความช่วยเหลือจากภาครัฐ.. สมาคม chaebols ยังคงมีอิทธิพลอย่างใหญ่หลวงต่อเศรษฐกิจเกาหลี แม้ในปัจจุบัน แต่พวกเขายังถูกกล่าวหาว่า เป็นผู้ยับยั้ง กลุ่มธุรกิจขนาดเล็ก หรือ ผู้ประกอบการที่เป็นอิสระ ประธานาธิบดี คิม ยอง แซม ผู้นำรัฐบาลเกาหลี ในช่วง ปี.1993-1998 มีความพยายามที่จะช่วยให้กลุ่มธุรกิจขนาดเล็ก โดยการให้เงินกู้ยืมเงินมากขึ้น แต่ไม่ได้เป็นอุปสรรคต่อกลุ่ม chaebols สำหรับกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ของพวกเขา (ส่วนใหญ่ ของกลุ่ม Chaebols ไม่ได้ถูกดำเนินคดีทางอาญา ด้วยการดำเนินคดีภายใต้กฎหมายในยุคของ พัก แต่ พัก บังคับให้มุ่งมั่นที่จะทำงานเพื่อสร้างเศรษฐกิจเกาหลียุคใหม่.. Lee Byung Chul ประธานบริษัท ซัมซุง บุคคลที่ร่ำรวยที่สุดในประเทศเกาหลี มุ่งมั่นที่จะให้ทรัพย์สมบัติทั้งหมดของเขา กับรัฐบาลเกาหลี และ 8 นักธุรกิจที่ร่ำรวยอื่นๆ จะให้ทรัพย์สมบัติตามความเหมาะสม อะไรคือสิ่งที่จำเป็นที่สุดของธุรกิจในเกาหลี ผู้นำคือการสร้างงานที่ประสบความสำเร็จในยุคใหม่ ที่ถูกเลือกโดยรัฐบาล พวกเขาได้รับภาระผูกพัน ที่จะให้หุ้นในบริษัทเหล่านี้กับรัฐบาล "ประหนึ่งว่าความมั่งคั่งของบริษัทเพื่อประชาชนคนเกาหลี" สิ่งที่ พัก ประสบความสำเร็จในการทำคือ ขู่ผู้ประกอบการที่ร่ำรวยและแสดงให้เห็นว่า ถ้าพวกเขาเล่นโดยกฎระเบียบใหม่ พวกเขาสามารถทำดีภายใต้ ระบอบการปกครองใหม่ บริษัท ของเขาจะกลายเป็นบริษัทที่ใหญ่ที่สุด) กลยุทธ์ของ พัก สำหรับการพัฒนาทางเศรษฐกิจ ของเกาหลีใต้ ยังขยายไปสู่การทำ อุตสาหกรรมหนัก และ อุตสาหกรรมเคมี (HCI) นี่คือการเปลี่ยนแปลงไปจากจุดเริ่มต้น (1961) ในช่วงต้นปี 1970 ได้มีการพัฒนาอุตสาหกรรมหนัก และอุตสาหกรรมเคมี ที่เกี่ยวข้อง จากภาครัฐมากขึ้น การวางแนวทางทดแทนการนำเข้าของเศรษฐกิจ "แผน HCI" ใช้การสร้างรัฐธรรมนูญใหม่รัฐธรรมนูญ Yushin ที่เพิ่มอำนาจของรัฐบาลมากขึ้น และระงับความขัดแย้งทางการเมือง กลุ่มตระกูลฮุนได ที่เดิมบริหารโรงงานทอผ้าขนาดกลาง ได้เข้ามารับงานอุตสาหกรรมหนัก ซึ่งเป็นนโยบายหลักของเกาหลี ที่ต้องการเปลี่ยนจากประเทศเกษตรกรรมยากจน ต้องพึ่งพาสินค้านำเข้า มาเป็นผู้ผลิตใช้เองและส่งออก อุตสาหกรรมหนัก เช่น โรงงานผลิตรถยนต์ อู่ต่อเรือขนส่งสินค้าขนาดใหญ่ผลิตเครื่องยนต์ อุตสาหกรรมอีเล็กโทรนิค ทั้งนี้โดยมีต้นแบบ จากกลุ่มบริษัทใหญ่ๆ ของญี่ปุ่น (Zaibatsu) ในการพัฒนาประเทศเป็นตัวขับเคลื่อน เกาหลีใต้ยุคใหม่ ประธานาธิบดี พัก ช็อง-ฮี มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจของเกาหลีใต้ โดยเขาขยับโฟกัสไปที่การพัฒนาอุตสาหกรรมและเน้นการส่งออก ซึ่งเป็นรูปแบบของการพัฒนาเศรษฐกิจของญี่ปุ่น อันเนื่องมาจากความใกล้ชิดกับแมนจูเรีย (ในยุคสมัยในการปกครองของญี่ปุ่น) ความสามารถของผู้นำ เห็นได้จากการพัฒนาที่โดดเด่น ของอุตสาหกรรม และการเพิ่มขึ้นของคุณภาพชีวิต มาตรฐานการครองชีพ ของประชาชนเกาหลีใต้โดยเฉลี่ย นอกจากนี้ พัก ยังได้ทำการปฏิรูปการเกษตร เป็นความคิดริเริ่มที่ประสบความสำเร็จ ในช่วงต้นปี ค.ศ. 1970 พัก ปฏิรูปเศรษฐกิจชนบทของเกาหลีใต้ ด้วยแผนงาน ที่เรียกกันว่าการเคลื่อนไหวของ ชุมชน-หมู่บ้านใหม่ หรือ "Saemaeul Undong" มันได้กลายเป็นแบบจำลองสำหรับการพัฒนาประเทศอื่นๆ... ป.ล. ระหว่างการดำรงตำแหน่งของ พัก ช็อง-ฮี รายได้เฉลี่ยต่อหัวของชาวเกาหลี เพิ่มสูงขึ้นถึง ยี่สิบเท่าและเกาหลีใต้ในชนบทได้รับการพัฒนา แม้แต่ "ประธานาธิบดี คิม แด จุง" ซึ่งเป็นหนึ่งในฝ่ายตรงข้าม เปิดเผยว่า ในช่วงการปกครองของ พัก สมควรได้รับการยกย่อง สำหรับบทบาทของเขาในการสร้างเกาหลีใต้ยุคใหม่.
ความเป็นอิสรภาพของเกาหลี จากประเทศญี่ปุ่นในปี 1945 ชาวเกาหลีควรจะมีความสุข แต่เพียงไม่กี่เดือนหลังจากนั้นเกาหลี กลายเป็นจุดโฟกัสของการแข่งขันระหว่างประเทศสหรัฐอเมริกา และสหภาพโซเวียต ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สองของมหาอำนาจสองขั้วที่อยู่ฝ่ายตรงข้าม ในช่วง 1946-1948 สหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียต มีความพยายาม ในการสร้างรัฐบาล ในประเทศเกาหลีที่เข้ากับฝ่ายตน ประธานาธิบดี อี ซึงมัน (ประธานาธิบดี เกาหลีใต้คนแรก) ได้รับการสนับสนุน โดยสหรัฐอเมริกา ในปี 1946-1947 และ คิม อิลซุง ผู้นำในระบอบคอมมิวนิสต์ของประเทศเกาหลีเหนือ สนับสนุนโดยสหภาพโซเวียต ในปี ค.ศ. 1947 คิม อิลซุง ทำงานร่วมกับกองทัพโซเวียต ในการสร้างพรรคคอมมิวนิสต์ที่แข็งแกร่งที่เรียกว่าอย่างเป็นทางการว่า "พรรคแรงงานเกาหลี" ทำให้เกาหลีถูกแยกเป็นสองประเทศ มาจนถึงปัจจุบัน รัฐบาลเกาหลีใต้ถูกสร้างขึ้นมาในระบอบประชาธิปไตย การเลือกตั้งครั้งแรกในปี 1948 ซึ่ง อี ซึงมัน ได้รับการเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีเกาหลีใต้คนแรก อี ซึงมัน แม้ว่าจะเกิดในประเทศเกาหลี แต่ได้ใช้เวลาส่วนใหญ่ในชีวิตของเขา บนแผ่นดินสหรัฐฯ เขามีความนิยม ใน จอร์จ วอชิงตัน จบจากมหาวิทยาลัย ฮาวาร์ด และ มหาวิทยาลัย พรินซ์ตัน จากปี 1919 จนถึงปี 1941 และต่อต้านญี่ปุ่น รัฐบาลเกาหลีใต้ ได้รับการสนับสนุนทางทหารโดยกองกำลังสหรัฐฯ และ กองกำลังสหประชาชาติภายใต้ นายพล ดักลาส แมคอาเธอ สหรัฐอเมริกา จากการแยกออกจากกันของสองชาติเกาหลี เป็นสาเหตุที่ตามมาด้วยสงครามเกาหลีอีกหลายครั้ง ภายใต้สถานการณ์สงคราม ในปี 1956 เศรษฐกิจเกาหลีใต้ ส่วนใหญ่ยังคงย่ำแย่และอยู่ในซากปรักหักพังของสงคราม แต่ อี ซึงมัน กลับผลักดันให้บุกเกาหลีเหนือ (เกาหลีใต้ในเวลานั้นยังคงเป็นประเทศที่ยากจนและด้อยพัฒนา มานานกว่าทศวรรษ) ความช่วยเหลือที่สหรัฐ ส่งมอบให้กับเกาหลีใต้ เพื่อรักษากองกำลังทหารของตนและความช่วยเหลือสำหรับประชากรเกาหลีใต้โดยเฉพาะ ความช่วยเหลือกลับไปไม่ถึงประชาชน เหตุผลหนึ่งคือ มีการทุจริตคอรัปชั่นอย่างกว้างขวางเกิดขึ้น จำนวนเงินช่วยเหลือที่สำคัญ ถูกจัดสรรสำหรับ การใช้งานส่วนตัวของนักการเมือง และกลุ่มนายทุน ซึ่งอาจกล่าวได้ว่านั่นคือความล้มเหลว กลุ่มบริษัทชั้นนำ chaebol ในความเป็นจริงที่ว่าความมั่งคั่งของพวกเขาได้มาอย่างผิดกฎหมาย ผู้ประกอบการที่ร่ำรวยมีส่วนได้ส่วนเสียใน นโยบายที่ล้มเหลวของ อี ซึงมัน ที่สำคัญในสมัยปกครองของ อี ซึงมัน เป็น ประธานาธิบดี ได้มีการรวมอำนาจไว้อย่างเด็ดขาด หากผู้ใดหรือฝ่ายตรงข้ามขัดขวาง หรือมีความเห็นที่ไม่ตรงกับรัฐบาล ก็จะถูกตำรวจจับกุม รวมทั้งได้สร้างความชอบธรรมในการกระทำ ของฝ่ายตนด้วยการบีบบังคับให้รัฐสภาปฏิบัติตามความต้องการ (เผด็จการรัฐสภา) จึงทำให้การปกครองใน ยุคสมัย ของ อี ซึงมัน ถูกเรียกว่า “รัฐตำรวจ” แม้ว่า อี ซึงมัน จะชนะการเลือกตั้งอีกครั้งในปี 1960 แต่มีการทุจริตการเลือกตั้งอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งชาวเกาหลีส่วนใหญ่ เชื่อว่าบริวารของ อี ซึงมัน ซึ่งมีทั้วนักการเมือง และนายทุนผู้ประกอบการ ได้รับผลประโยชน์ที่แอบแฝง จนทำให้เกิดการจลาจล โดยนักศึกษา ในเดือนเมษายน 1960 และในระหว่างการปราบปรามการจลาจลของตำรวจ ทำให้นักศึกษา 142 คน ต้องเสียชีวิต เป็นสาเหตุให้เกิดการเรียกร้องให้ อี ซึงมัน ลาออกจากตำแหน่ง "รัฐบาลสหรัฐ มีขั้นตอนที่ผิดปกติของการออกคำสั่งให้รัฐบาล มีการยอมรับ ความคับข้องใจของประชาชนถูกต้องตามกฎหมาย" จากการที่ไม่ได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐอเมริกา อี ซึงมัน เลือกที่จะก้าวลงจากตำแหน่ง เกาหลีใต้ ในการเผชิญกับความไม่แน่นอนของการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและสังคม ที่ย่ำแย่ พัก ช็อง-ฮี ตัดสินใจยึดอำนาจ ในปี 1961 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สิ้นสุดการปกครองระบอบประชาธิปไตยในเกาหลีใต้ในช่วงระยะเวลา ที่ปาร์ บริหารประเทศ แม้ว่าสหรัฐอเมริกา ยังคงวางแผนงานกับนโยบายส่วนใหญ่ให้กับระบอบประชาธิปไตย ซึ่งได้กดดัน รัฐบาล ของ พัก อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้มีการปกครองระบอบประชาธิปไตยมากขึ้น จากระยะเวลาที่ พัก เป็นผู้นำ ภายใต้การปกครองของทหารเผด็จการ จากการดำเนินงานที่รัฐบาลมีส่วนร่วมใน แผนส่วนกลางขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ได้ก่อให้เกิด "ความมหัศจรรย์ทางเศรษฐกิจ" กับเกาหลีใต้ แน่นอนเมื่อ พัก เข้าควบคุมเกาหลีครั้งแรก ประธานาธิบดี John f kennedy แห่งสหรัฐอเมริกา เกิดความกังวลว่าเขาอาจจะเป็น "บิดาแห่งคอมมิวนิสต์."
ความเป็นชาตินิยม
[แก้]ในการปกครอง ซึ่งพิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าเป็นอะไรบางอย่างที่น่าพิศวง กับบทบาทผู้คุมการสร้างสิ่งที่กำลังจะมาเป็นกลุ่มบริษัทขนาดใหญ่ของอุตสาหกรรม ที่จะพัฒนาประเทศในเวลาต่อมา สหรัฐอเมริกามีคำสั่ง ให้จัดการเลือกตั้งขึ้น แต่พัก ก็ชนะมาได้อย่างเฉียดฉิว นอกจากนี้เขายังชนะเลือกตั้งในปี 1967 และชนะการเลือกตั้งอีกครั้งอย่างเฉียดฉิวในปี 1971 ในการเลือกตั้ง 1971 เขาต้องเผชิญกับความขัดแย้งรุนแรงจากการปลุกระดม โดย คิม แดจุง นอกจากนี้ พัก ยังได้ทำการฟื้นฟูความสัมพันธ์ทางการทูตกับประเทศญี่ปุ่น ซึ่งประชาชนเกาหลีไม่ชื่นชอบอย่างมาก และส่งผลให้เกิดความไม่สงบอย่างกว้างขวาง สาเหตุมาจากการเข้ายึดครองเกาหลี โดยจักรวรรดิญี่ปุ่น ถายใต้การปกครองที่โหดร้ายยาวนานถึง 35 ปี (ญี่ปุ่นบุกเข้ายึดครองเกาหลีอยู่หลายครั้ง ในประวัติศาสตร์) ซึ่งญี่ปุ่นในตอนนั้นคือประเทศ ที่แพ้สงครามโลก ประเทศญี่ปุ่นจึงอยู่ในช่วงเวลาที่ยากลำบาก แต่ด้วยการฟื้นฟูความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศ พัก ได้เปิดประตูสู่ญี่ปุ่น ด้วยเงินทุนช่วยเหลือ แม้ว่าจะได้รับการวิพากษ์วิจารณ์จากชาวเกาหลีเป็นจำนวนมาก ในขณะที่ พักไม่ได้มีตัวเลือกมากนัก ซึ่ง พัก อาจเล็งเห็นแล้วว่า การช่วยเหลือญี่ปุ่น จะทำให้ได้รับผลตอบแทนในด้านต่างๆตามความเหมาะสม เพื่อเข้าถึงโดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านเทคโนโลยีทางอุตสาหกรรม แม้ต้องใช้เงินเพื่อเข้าถึงความรู้ด้านเทคโนโลยีก็ตาม อย่างเช่น เทคโนโลยีการผลิตรถยนต์ และอื่นๆ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการตั้งกลุ่ม Chaebol กลุ่มอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ในการพัฒนาประเทศ เราจะเห็นได้ว่า ในช่วงรัฐบาลที่บริหารประเทศภายใต้การนำของ พัก ช็อง-ฮี ต้องเผชิญหน้ากับเกาหลีเหนือ ที่ด้านนอก และต้องเผชิญหน้าจากแรงกดดันของ สหรัฐฯ จากด้านใน ทั้งยังต้องนำพาประเทศให้พ้นไปจากความยากจน ซึ่งไม่ใช่งานที่ง่ายเลย สำหรับ สำหรับประเทศที่ยากจนและด้อยพัฒนา รวมถึงปัญหาที่มาจากสงครามกับเกาหลีเหนือ แม้ว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจของเกาหลีใต้ มีการดำเนินงานควบคุมเพื่อให้เกิดความมั่นคงในระดับสูง เพื่อต้องการคะแนนสนับสนุนในการชิงตำแหน่ง ประธานาธิบดี ในสมัยต่อไป แต่ทว่าแรงสนับสนุนจากประชาชนเริ่มที่จะจางหายไป หลังจากการเติบโตทางเศรษฐกิจชะลอตัวในช่วงต้นปี 1970
ด้วยมาตรการของ พัก ที่ใช้กฎหมาย และบทบัญญัติ ในกฎหมายภาวะฉุกเฉิน ทั้งนี้ยังมีหน่วยข่าวกรองกลาง ที่มีอำนาจจับกุมและควบคุมฝ่ายตรงข้ามถูกสอบสวนและถูกการพิจารณาคดี เป็นสาเหตุหนึ่งที่ฝ่ายตรงข้ามกับ พัก ไม่พอใจ และสิ่งหนึ่งที่ไม่อาจมองข้ามได้นั่นคือ ทางรัฐบาลวอชิงตัน (อเมริกา) ไม่รับรองหรือสนับสนุน พัก ด้วยหลายเหตุปัจจัยที่ระบอบของ พัก อาจไม่เอื้ออำนวยให้กับสหรัฐฯ กับการรวมชาติของสองเกาหลี ซึ่งนโยบายของสหรัฐฯ อื่นๆ เช่นการกีดกันบริษัทเกาหลีผู้ที่อาจจะกลายเป็นผู้ส่งออก ที่ประสบความสำเร็จจากการส่งสินค้าออกนอกประเทศ อาจทำให้ระบอบของ พัก เป็นสิ่งที่สหรัฐฯ มักเรียกว่า "ภัยคุกคาม"
การแก้ไข รัฐธรรมนูญ Yushin
[แก้]การแก้ไขรัฐธรรมนูญให้ผู้ดำรงประธานาธิบดีไม่มีหมดวาระ สามารถครองอำนาจในการบริหารประเทศได้ตลอดการ เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 1979 ทำให้เกิดการประท้วงปะทุขึ้นทั่วประเทศ ความไม่สงบรุนแรงเกิดขึ้น เมื่อกลุ่มนักศึกษาเรียกร้องให้มีการสิ้นสุดของการปกครองด้วยระบบ Yushin เริ่มต้นที่มหาวิทยาลัยแห่งชาติปูซาน. การกระทำซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ การต่อต้าน "Pu-Ma" (ชื่อพื้นที่ เขต ปูซานและ Masan ) บนท้องถนนของเมือง ที่นักศึกษาและตำรวจปราบจลาจลเผชิญหน้ากัน โดยมีนักศึกษา 50,000 คนมารวมตัวกันในเมืองปูซาน ต่อมาอีกสองวันหลายคนถูกทำร้ายและผู้ประท้วงประมาณ 400 คนถูกจับ. เมื่อวันที่ 18 ตุลาคมรัฐบาล พัก ประกาศกฎอัยการศึกในปูซาน การประท้วงในวันเดียวกันกับที่แพร่กระจายไปยังมหาวิทยาลัย Kyungnam ใน Masan มีผู้ชุมนุม 10,000 คน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นนักศึกษาและคนงาน เข้าร่วมการประท้วงต่อต้านระบบ Yushin ของ พัก ความรุนแรงที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วด้วยการโจมตีที่สถานีตำรวจและ สำนักงานของพรรคการเมือง โดยมีการประกาศเคอร์ฟิวทั่วทั้งเมือง Masan.
การบริหารประเทศของ พัก ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์ อย่างหนัก หนึ่งในกรณีที่มีชื่อเสียงมากที่สุด คือ การจัดเก็บภาษีด้วยกฎอัยการศึก นอกจากนี้
การถึงแก่อสัญกรรม
[แก้]ความพยายามลอบสังหารพัก ช็อง-ฮีเกิดขึ้นหลายครั้ง
ครั้งแรก เกิดขึ้นในวันที่ 21 มกราคม ค.ศ. 1968 กองทหารเกาหลีเหนือ 31 คน ถูกส่งมาโดยคิม อิลซุง ประธานาธิบดีเกาหลีเหนือไปยังเกาหลีใต้เพื่อสังหารพัก และเกือบประสบความสำเร็จ กองทหารดังกล่าวข้ามเขต DMZ ในวันที่ 17 มกราคม และใช้เวลาสองวันในการแทรกซึมเข้าไปในกรุงโซลก่อนที่จะถูกพบโดยพลเรือนชาวเกาหลีใต้ 4 คน หลังจากกองทหารใช้เวลาหลายชั่วโมงในการพยายามที่จะชักนำและโน้มน้าวพลเรือนเกี่ยวกับประโยชน์ของลัทธิคอมมิวนิสต์ เพื่อต้องการไม่ให้พลเรือนแจ้งเรื่องกับตำรวจ อย่างไรก็ตามพลเรือนได้ไปแจ้งเรื่องให้ตำรวจทราบในคืนนั้น หัวหน้าตำรวจท้องที่และตำรวจท้องที่มีปฏิกิริยาตอบสนองต่อเรื่องนี้ทันที
เมื่อทหารจากเกาหลีเหนือกลุ่มเล็ก ๆ 20 คน รุกคืบเข้ามาในกรุงโซล ได้สังเกตเห็นมาตรการรักษาความปลอดภัยที่เพิ่มขึ้นไปทั่วเมือง พวกเขาเริ่มตระหนักว่าแผนเดิมของพวกเขามีโอกาสน้อยที่ประสบความสำเร็จ ผู้นำทีมชั่วคราวใหม่ได้เปลี่ยนแผนเป็นการใช้เครื่องแบบของกองทัพเกาหลีใต้ 26 กองทหารราบที่สมบูรณ์ด้วยเครื่องราชอิสริยาภรณ์ หน่วยทหารตัวจริงพาพวกเขาเดินตามไปในระยะไมล์สุดท้ายก่อนถึงบ้านสีฟ้า ซึ่งที่พักประธานาธิบดีเกาหลีใต้ ในฐานะทหารแห่งกองทัพเกาหลีใต้ที่กลับมาจากการลาดตระเวน กองทหารเกาหลีเหนือที่ปลอมตัวอยู่ได้เดินผ่านด่านตำรวจและหน่วยทหารมาเรื่อย จนเหลือเส้นทางประมาณ 800 หลาจากบ้านสีฟ้า ในที่สุด ตำรวจก็หยุดหน่วยของพวกเขาและเริ่มที่จะถามพวกเขา เมื่อตำรวจเกิดความน่าสงสัย กองทหารเกาหลีเหนือจึงดึงปืนพกยิงใส่ตำรวจ เกิดการปะทะกันจนกองทหารเกาหลีเหนือเสียชีวิต ส่วนที่เหลือได้หลบหนีไปทางเขต DMZ
ครั้งที่สอง เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม ค.ศ. 1974 ในขณะที่พักกำลังกล่าวสุนทรพจน์ในพิธีที่ระลึกครบรอบการปลดปล่อยประเทศจากประเทศญี่ปุ่นซึ่งจัดขึ้นในบริเวณโรงละครแห่งชาติเกาหลี ชายชาวเกาหลีเหนือชื่อ มุน เซ-กวัง ยิงปืนไปยังบริเวณที่พักยืนอยู่ แต่กระสุนพลาดไปถูกภรรยาของพัก "ยุก ยองซู" ที่ศีรษะและเธอเสียชีวิตในเวลาต่อมา หลังจากเหตุการณ์สงบลง พักยังกลับมาอ่านคำพูดของเขาที่เตรียมไว้ ผู้ช่วยของเขาอธิบายว่า "ประธานาธิบดีเป็นคนที่ความรับผิดชอบในสิ่งที่เขากำหนดจะทำโดยไม่คำนึงถึงอุปสรรค"
การลอบสังหารครั้งที่สาม ซึ่งทำให้พักเสียชีวิต เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม ค.ศ. 1979 พักถูกยิงตายโดย คิม แจ-คยู ผู้อำนวยการหน่วยข่าวกรองกลาง หลังจากงานเลี้ยงส่วนตัวที่เซฟเฮาส์ ใน Gungjeong-dong เขตชงโน กรุงโซล ก่อนที่เขาจะไปยิงพัก คิมฆ่าหัวหน้าหน่วยคุ้มกันชื่อ ชา ฮีชอล นายทหารหน่วยข่าวกรองกลางคนอื่น ๆ และเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยของประธานาธิบดีอีก 4 คน คิม แจ-คยูให้เหตุผลว่า พักเป็นอุปสรรคต่อการปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย และให้เหตุผลเพิ่มเติมในการกระทำของเขาว่าเป็นหนึ่งในความรักชาติ
พัก ช็อง-ฮี ถึงแก่อสัญกรรมจากการลอบสังหาร สิริอายุรวม 61 ปี พิธีศพของเขาจัดขึ้นอย่างสมเกียรติ ศพของเขาฝังอยู่ที่สุสานแห่งชาติกรุงโซล และมีการเคลื่อนย้ายศพของยุก ยองซู ภรรยาที่เสียชีวิตไปก่อนหน้านี้มาฝังไว้เคียงข้างกัน
อย่างไรก็ตาม ความพยายามทำการลอบสังหาร พัก และ รัฐประหารถูกจัดแจงไว้ก่อนด้วยหน่วยสืบราชการลับ โดยมีความเชื่อกันอย่างกว้างขวางกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น คิม และกลุ่มของเขาถูกจับในภายหลัง โดยเสนาธิการทหารของกองทัพ หัวหน้าฝ่ายสอบสวน ช็อน ดู-ฮวัน ในการสอบสวน คิม แจ-กยู ผลออกมาว่ามีแรงจูงใจในการสังหาร พัก ไม่เป็นที่ชัดเจน และถูกตัดสินถูกประหารชีวิตด้วยการแขวนคอเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 1980.. การลอบสังหารยังคงเป็นปริศนา เป็นที่รู้กันทั่วไปว่าหน่วยข่าวกรองกลางอาจจะไม่ได้ทำ โดยได้รับการอนุมัติจากซีไอเอ ของสหรัฐ ซึ่งต้องสงสัยว่าพักเป็นคอมมิวนิสต์ และเป็นช่วงเวลาที่นโยบายการต่างประเทศของสหรัฐที่แข็งแกร่งเป็นอาวุธ ในสงครามเย็น เผด็จการทั่วเอเชียทั้งในเกาหลีใต้, ไต้หวัน, สิงคโปร์, ฟิลิปปินส์, อินโดนีเซียและประเทศอื่น ๆ เข้าสู่การปฏิรูปทางการเมืองต่อ "ประชาธิปไตย" พัก ได้ริเริ่มการเคลื่อนไหวไปสู่การผสมผสานเกาหลี รวมชาติเกาหลี หลักการของการรวมชาติเกาหลีถูกวางลงไปในประวัติศาสตร์ 4 กรกฎาคม 1972, แถลงการณ์ร่วมกันหลังการเยี่ยมชม ในเดือน พฤษภาคม โดยผู้อำนวยการหน่วยข่าวกรองกลาง การเคลื่อนไหวไปสู่การรวมชาติได้ถูกบังคับให้ยกเลิก หลังจากการลอบ สังหาร พัก หัวหน้าหน่วยข่าวกรองกลางที่มาแทนที่หัวหน้าคนเก่า "คิม แจกยู ได้รับการยืนยัน คือ ซีไอเอของสหรัฐ นักวิเคราะห์ด้านการเมือง ให้ข้อสังเกตว่า สหรัฐ และกลุ่มบริษัท chaebol ได้รับประโยชน์จากการลอบสังหาร พัก
- 1. สหรัฐ ป้องกันไม่ให้เกิดการรวมชาติของเกาหลี
- 2. chaebol ได้รับเสรีภาพในตลาดมากขึ้น และเป็นเสรีจากการควบคุมของรัฐ
chaebol เหล่านี้ต่อมาเปิดตัวบนเส้นทางของ "ตลาดเสรีนิยม ลิทัวเนีย " ซึ่งสองทศวรรษต่อมา เศรษฐกิจตกต่ำเข้าสู่ภาวะล้มละลายในปี 1997 วิกฤตการณ์ทางการเงินในเอเชีย..
ชีวิตครอบครัว
[แก้]พัก ช็อง-ฮีแต่งงานกับ คิม โฮ-นัม ภรรยาคนแรก มีลูกสาวด้วยกันหนึ่งคน ต่อมา ทั้งสองได้หย่าร้างกัน จากนั้น พักแต่งงานกับ ยุก ย็อง-ซู ทั้งคู่มีลูกสาวสองคนและลูกชายหนึ่งคน ได้แก่
- ลูกคนที่ 1 พัก กึน-ฮเย เป็นหญิง เกิดปี ค.ศ. 1952 ซึ่งต่อมาเป็นนักการเมือง และได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีหญิงคนแรกของเกาหลีใต้ ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีเดือนธันวาคม ค.ศ. 2012
- ลูกคนที่ 2 พัก กึน-ย็อง เป็นหญิง เกิดปี ค.ศ. 1954
- ลูกคนที่ 3 พัก จี-คุน เป็นชาย เกิดปี ค.ศ. 1958
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย
[แก้]- พ.ศ. 2509 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นมงคลยิ่งราชมิตราภรณ์ (ร.ม.ภ.)
เครื่องอิสริยาภรณ์เกาหลีใต้
[แก้]- เครื่องอิสริยาภรณ์มูกูฮวา
- เครื่องอิสริยาภรณ์กิตติคุณสำหรับการสร้างชาติ ชั้นที่ 1
- เครื่องอิสริยาภรณ์กิตติคุณแห่งการทูต ชั้นที่ 1
- เครื่องอิสริยาภรณ์กิตติคุณด้านการบริการ ชั้นที่ 1
- เครื่องอิสริยาภรณ์กิตติคุณสำหรับการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ ชั้นที่ 1
- เครื่องอิสริยาภรณ์กิตติคุณฝ่ายทหาร ชั้นที่ 1
- เครื่องอิสริยาภรณ์กิตติคุณฝ่ายพลเรือน ชั้นที่ 1
- เพรสซิเดนเชิล ยูนิท ไซเทเชิน
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ และเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
[แก้]- อาร์เจนตินา :
- เครื่องอิสริยาภรณ์นายพลซาน มาร์ติน ผู้ปลดปล่อย ชั้นสายสร้อย
- ออสเตรีย :
- เครื่องอิสริยาภรณ์กิตติคุณแห่งสาธารณรัฐออสเตรีย ชั้นมหาดารา
- เอลซัลวาดอร์ :
- เอธิโอเปีย :
- เยอรมนีตะวันตก :
- อิตาลี :
- เครื่องอิสริยาภรณ์คุณธรรมแห่งสาธารณรัฐอิตาลี ชั้นสูงสุด
- มาเลเซีย :
- เม็กซิโก :
- เนเธอร์แลนด์ :
- เครื่องราชอิสริยาภรณ์สิงโตเนเธอร์แลนด์ ชั้นประถมาภรณ์
- ไนเจอร์ :
- ฟิลิปปินส์ :
- เครื่องอิสริยาภรณ์ซิกาตูนา ชั้นสายสร้อย
- เซเนกัล :
- เวียดนามใต้ :
- สเปน :
- เครื่องราชอิสริยาภรณ์กิตติคุณฝ่ายพลเรือน ชั้นสายสร้อย
- ไต้หวัน :
- เครื่องอิสริยาภรณ์เมฆมงคล ชั้นที่ 1
- สหรัฐอเมริกา :
- ลีเจียนออฟเมอริต ชั้นหัวหน้าผู้บัญชาการ
เครื่องอิสริยาภรณ์สากล
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ “ปัก จุง ฮี” นายพลจากรัฐประหารแห่งเกาหลีใต้ ผู้สร้างวัฒนธรรม "เผด็จการชุบตัวด้วยการเลือกตั้ง"
- ↑ BBC News' "On this day"
- ↑ Developmental Dictatorship and the Park Chung-hee Era (Homa & Sekey, 2006)
- ↑ Time Asia: Asians of the Century เก็บถาวร 2010-09-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, August 1999, retrieved on April 20, 2010
- บทความที่รอการตรวจลิขสิทธิ์ด้วยบอต
- Use of the text parameter in Infobox Korean name
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2460
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2522
- ประธานาธิบดีเกาหลีใต้
- นายกรัฐมนตรีเกาหลีใต้
- นายพลชาวเกาหลีใต้
- พุทธศาสนิกชนชาวเกาหลีใต้
- บุคคลจากจังหวัดคย็องซังเหนือ
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ร.ม.ภ.
- ชาวเกาหลีใต้ที่ถูกลอบสังหาร
- ผู้นำที่ได้อำนาจจากรัฐประหาร
- ผู้รอดชีวิตจากการลอบสังหาร
- นักการเมืองเกาหลีใต้ที่ถูกลอบสังหาร
- เสียชีวิตจากอาวุธปืน
- หัวหน้ารัฐบาลที่ถูกลอบสังหาร
- ผู้นำในสงครามเย็น
- สาธารณรัฐเกาหลีที่สี่