ข้ามไปเนื้อหา

ปลาผมนาง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ปลาโฉมงาม)

สำหรับปลาผมนางอีกสกุลหนึ่ง ดูที่: ปลาจุยจินขาว และปลาสีกุนครีบยาว

ปลาผมนาง
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: 55–0Ma
อีโอซีน - ปัจจุบัน[1]
ปลาผมนางลาย (A. ciliaris) ที่บาหลี
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Actinopterygii
อันดับ: Perciformes
อันดับย่อย: Percoidei
วงศ์ใหญ่: Percoidea
วงศ์: Carangidae
สกุล: Alectis
Rafinesque, 1815
ชนิดต้นแบบ
Gallus virescens
Lacepède, 1802
ชนิด
ดูในเนื้อหา
ชื่อพ้อง

ปลาผมนาง, ปลาโฉมงาม[3] หรือ ปลาโฉมนาง เป็นปลาทะเลสกุลหนึ่ง ใช้ชื่อสกุลว่า Alectis จัดอยู่ในวงศ์ปลาหางแข็ง (Carangidae)

มีรูปร่างทั่วไป คือ ลำตัวสั้น กว้าง แบนข้างมาก คอดหางเล็ก เว้นแต่ที่ส่วนท้ายของเส้นข้างตัว โดยเฉพาะ บริเวณคอดหางเกล็ดอ่อนจะขยายใหญ่เป็นสันแข็งที่ปลายหาง มีกระดูกอ่อนลักษณะเป็นเกล็ดแข็ง 2 อัน โผล่อยู่หน้าครีบก้น ที่สำคัญคือ ต่างก็มีก้านครีบหลังตอนที่ 2 และครีบก้นที่เป็นเส้นยาวมาก ลำตัวผิวหนังสีเงิน เฉพาะใกล้สันหลัง เป็นสีฟ้าอมเทา ในระยะที่เป็นปลาขนาดเล็กจะมีลายพาดขวางเป็นบั้งสีเทาอยู่หลายแถบ เส้นครีบที่เป็นลายยาวมีสีคลํ้าหรือดำคล้ายเส้นผม เรียกว่า "ไอ้เปี๊ยะ"[3] อันเป็นที่มาของชื่อ สันนิษฐานว่าคงเป็นการทำตัวเลียนแบบแมงกะพรุน[4]

ปลาผมนาง โดยมากจะเป็นปลาที่ว่ายน้ำได้แข็งคล้ายหุ่นยนต์ และมีรูปร่างหน้าตาที่ประหลาด [5] แต่ก็เป็นปลาที่ปราดเปรียวว่องไว และมักไม่เข้าใกล้นักดำน้ำหรือนักท่องเที่ยว แตกต่างจากปลากะมง ซึ่งอยู่ในวงศ์เดียวกัน[4]

แบ่งออกได้เป็น 3 ชนิด คือ

  • Alectis alexandrinus (Geoffroy Saint-Hilaire, 1817) – ปลาผมนางอเล็กซานเดรีย
  • Alectis ciliaris (Bloch, 1787) – ปลาผมนางลาย
  • Alectis indicus (Rüppell, 1830) – ปลาผมนางหน้าตัด, ปลาอีโต้, ปลาโฉมงามอีโต้, ปลาโฉมงามหน้าหัก[2] [6][4]

อาจมีความยาวได้ถึง 80 เซนติเมตร นิยมใช้เป็นปลาเศรษฐกิจ และเลี้ยงกันในพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ[3][5]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Sepkoski, Jack (2002). "A compendium of fossil marine animal genera". Bulletins of American Paleontology. 364: 560. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-02-20. สืบค้นเมื่อ 2007-12-31.
  2. 2.0 2.1 "Alectis". ระบบข้อมูลการจำแนกพันธุ์แบบบูรณาการ.
  3. 3.0 3.1 3.2 "ผมนาง น." พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542.
  4. 4.0 4.1 4.2 หน้า ๐๙๖–๐๙๗, ปลาโฉมงาม. "ท่องโลกใต้ทะเล" โดย นัท สุมนเตมีย์. อนุสาร อ.ส.ท. ปีที่ ๕๘ ฉบับที่ ๔: พฤศจิกายน ๒๕๖๐
  5. 5.0 5.1 "ปลาโฉมนาง". กรมประมง.
  6. "ปลาที่พบในจังหวัดสงขลา". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2013-05-21. {{cite web}}: ระบุ |accessdate= และ |access-date= มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ |archivedate= และ |archive-date= มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ |archiveurl= และ |archive-url= มากกว่าหนึ่งรายการ (help)

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Alectis ที่วิกิสปีชีส์