ข้ามไปเนื้อหา

ปลาสอด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ปลาเซลฟิน)

ปลาสอด
ปลาสอดแบบเซลฟิน
ปลาสอดบอลลูนตัวเมีย
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอตา
Eukaryota
อาณาจักร: สัตว์
Animalia
ไฟลัม: สัตว์มีแกนสันหลัง
Chordata
ชั้น: ปลาที่มีก้านครีบ
Actinopterygii
อันดับ: อันดับปลาหัวตะกั่ว
วงศ์: วงศ์ปลาสอด
สกุล: ปลามอลลี่

(Lesueur, 1821)[2]
สปีชีส์: Poecilia latipinna
ชื่อทวินาม
Poecilia latipinna
(Lesueur, 1821)[2]
ชื่อพ้อง[3]
  • Mollienesia latipinna Lesueur, 1821
  • Poecilia multilineata Lesueur, 1821
  • Poecilia lineolata Girard, 1858
  • Limia poeciloides Girard, 1858
  • Limia matamorensis Girard, 1859

ปลาสอด (อังกฤษ: Molly, Moonfish; ชื่อวิทยาศาสตร์: Poecilia latipinna) เป็นปลาน้ำจืดและน้ำกร่อยชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ปลาสอด (Poeciliida)

ปลาสอดเป็นปลาพื้นเมืองดั้งเดิมมาจากเม็กซิโกจนถึงเวเนซุเอลา ที่สีสันในธรรมชาติจะเป็นสีน้ำเงินทึม ๆ หรือสีเขียววาว ๆ มีขนาดความยาวโดยเฉลี่ย 10-15 เซนติเมตร โดยที่ตัวผู้จะมีสีที่สวยกว่าตัวเมีย รวมทั้งครีบต่าง ๆ ที่ใหญ่ยาวกว่า ขณะที่ลำตัวของตัวเมียนั้นจะใหญ่กว่า ท้องอูมป่องกว่าอย่างเห็นได้ชัดเจน เป็นปลาที่อาศัยและหากินอยู่บริเวณผิวน้ำเป็นฝูง โดยกินตะไคร่น้ำ, สาหร่าย, พืชน้ำขนาดเล็ก รวมทั้งตัวอ่อนของแมลงต่าง ๆ เช่น ลูกน้ำ เป็นต้น โดยบางครั้งอาจพบได้จนถึงแหล่งน้ำกร่อย

จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1907 ได้มีการนำเข้าปลาสอดจากเม็กซิโกเข้าไปในเลี้ยงในฐานะปลาสวยงามที่ประเทศเยอรมนี จากนั้นจึงแพร่ต่อไปยังสหรัฐอเมริกา มีการเพาะขยายพันธุ์โดยฝีมือมนุษย์จนได้สายพันธุ์ใหม่ ที่สวยงามและมีลักษณะต่างจากปลาในธรรมชาติอย่างน้อย สายพันธุ์ เช่น "เพลตี้" ใช้สำหรับเรียกปลาสายพันธุ์ที่มีสีทองทั้งตัว

ต่อมาในช่วงปี ค.ศ. 1960-ค.ศ. 1965 ปลาสอดได้รับการผสมเพื่อให้ได้สายพันธุ์แปลก ๆ จากเดิมที่มีลักษณะ โดยเฉพาะได้สายพันธุ์ที่มีครีบหลังสูงใหญ่คล้ายใบเรือ เรียกว่า "เซลฟิน" ถือเป็นปลาที่เลี้ยงง่ายมาก แต่ลูกที่ออกมานั้นจะไม่ค่อยเหมือนพ่อแม่ กลับไปเหมือนบรรพบุรุษดั้งเดิมของคือ มีกระโดงครีบหลังสั้นและเล็กเป็นส่วนมาก ทั้งนี้เพราะปลาสอดเซลฟินไม่ใช่สายพันธุ์แท้ แต่เป็นพันธุ์ผสมหรือพันทาง อย่างไรก็ตามปลาสอดเซลฟินคู่ที่ดี อาจจะให้ลูกสายพันธุ์แท้คือมีกระโดงใหญ่เหมือนพ่อแม่ ได้ประมาณร้อยละ 50 ถึงร้อยละ 90

และก็ยังมีสายพันธุ์ที่มีสีดำทั้งตัว เรียกว่า "มิดไนต์" เป็นต้น ในปัจจุบันยังมีปลาสายพันธุ์ที่พิการ โดยที่มีลำตัวสั้นอ้วนกลมคล้ายลูกบอล แต่นิยมเลี้ยงกันเรียกว่า "ปลาบอลลูน"

ปลาสอดจะเติบโตได้ดีและให้ลูกได้ดีที่สุดเมื่ออยู่ในระดับอุณหภูมิอย่างต่ำที่สุด 22 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิที่ 24 องศาเซลเซียส โดยปลาจะให้ลูกได้ดีที่สุด เมื่ออยู่ในอุณหภูมิ 23 องศาเซลเซียส ปลาตัวเมียที่มีสุขภาพสมบูรณ์จะออกลูกทุก ๆ 4 สัปดาห์ ปกติจะออกลูกคราวละ 2-200 ตัว แต่โดยเฉลี่ยแล้วจะออกลูกคราวละ 20 ตัว[4]

อ้างอิง

[แก้]
  1. NatureServe (2019). "Poecilia latipinna". IUCN Red List of Threatened Species. 2019: e.T191748A58335451. doi:10.2305/IUCN.UK.2019-2.RLTS.T191748A58335451.en. สืบค้นเมื่อ 19 November 2021.
  2. "Poecilia latipinna". ระบบข้อมูลการจำแนกพันธุ์แบบบูรณาการ. สืบค้นเมื่อ April 21, 2010.
  3. Froese, Rainer and Pauly, Daniel, eds. (2006). "Poecilia latipinna" in FishBase. AugustAyear=2019 2006 version.
  4. "ลักษณะของปลาสวยงาม" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-03-04. สืบค้นเมื่อ 2012-04-30. {{cite web}}: ระบุ |accessdate= และ |access-date= มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ |archivedate= และ |archive-date= มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ |archiveurl= และ |archive-url= มากกว่าหนึ่งรายการ (help)

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
  • วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Poecilia latipinna
  • ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Poecilia latipinna ที่วิกิสปีชีส์