ปลาอะโรวานาดำ
ปลาอะโรวานาดำ | |
---|---|
สถานะการอนุรักษ์ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
โดเมน: | ยูแคริโอตา Eukaryota |
อาณาจักร: | สัตว์ Animalia |
ไฟลัม: | สัตว์มีแกนสันหลัง Chordata |
ชั้น: | ปลาที่มีก้านครีบ Actinopterygii |
อันดับ: | ปลาลิ้นกระดูก |
วงศ์: | วงศ์ปลาตะพัด |
สกุล: | ปลาอะโรวานาอเมริกาใต้ Kanazawa, 1966[1] |
สปีชีส์: | Osteoglossum ferreirai |
ชื่อทวินาม | |
Osteoglossum ferreirai Kanazawa, 1966[1] |
ปลาอะโรวานาดำ หรือ ปลาตะพัดอเมริกาใต้สีดำ (อังกฤษ: Black Arowana; ชื่อวิทยาศาสตร์: Osteoglossum ferreirai) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ปลาตะพัด (Osteoglossidae) เป็นปลาที่ทำการอนุกรมวิธานและประกาศชื่อไปเมื่อปี ค.ศ. 1966 ซึ่งเป็นปลาที่ค้นพบใหม่ล่าสุดในวงศ์นี้ โดยแหล่งที่ค้นพบครั้งแรกอยู่ในแม่น้ำริโอเนโกร บรานโก ที่ประเทศบราซิล โดยที่ชื่อวิทยาศาสตร์ที่ว่า ferreirai ตั้งเพื่อเกียรติแก่ อเล็กซานเดร รอดดิเกซ เฟอร์ไรรา นักสำรวจธรรมชาติชาวโปรตุเกสที่บันทึกเกี่ยวกับปลาชนิดนี้เป็นครั้งแรกในโลก ระหว่างปี ค.ศ. 1783–92[2]
มีลำตัวยาวลึกและแบนข้างมาก ลำตัวส่วนท้ายเรียวเล็กกว่าส่วนหัวมากจนเห็นได้ชัด ครีบท้องแหลมยาว ครีบก้นและครีบหลังมีความยาวไปจรดถึงครีบหาง เกล็ดมีสีเงินอมดำ ครีบหลังและครีบท้องในบางตัวออกสีเหลืองอ่อน ๆ หรือบางตัวอาจเป็นสีน้ำเงิน ซึ่งในตัวที่มีสีออกน้ำเงินเห็นชัดเจนมากจะถือเป็นความหลากหลายทางสายพันธุ์จะถูกเรียกว่า "บลูอะโรวานา" ขนาดเมื่อโตเต็มที่ได้ราว 75–90 เซนติเมตร นับว่าเป็นปลาที่มีขนาดเล็กที่สุดในวงศ์นี้ แต่ก็มีบางรายงานว่าพบตัวที่ยาวที่สุดได้ถึง 1.2 เมตร[3]
เมื่อยังเล็ก จะมีลายแถบสีดำสลับเหลืองคาดตามความยาวลำตัว จึงเป็นที่มาของชื่อ
สถานภาพของปลาอะโรวานาดำในปัจจุบัน ติดอยู่ในอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าใกล้สูญพันธุ์ หรือ ไซเตส เนื่องจากถูกจับไปเป็นปลาตู้สวยงามจนปริมาณในธรรมชาติเหลือน้อยลงจนใกล้สูญพันธุ์ อีกทั้งปลาชนิดนี้ยังไม่สามารถเพาะขยายพันธุ์ในที่เลี้ยงได้เหมือนปลาอะโรวานาชนิดอื่น ๆ ในวงศ์เดียวกัน[4]
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Osteoglossum ferreirai". ระบบข้อมูลการจำแนกพันธุ์แบบบูรณาการ. สืบค้นเมื่อ 19 March 2006.
- ↑ "Neotrop. ichthyol. vol.11 no.2 Porto Alegre June 2013". scielo.br. June 2013. สืบค้นเมื่อ 22 April 2014.
- ↑ Olivares; Hrbek; Escobar; and Caballero (2013). "Population structure of the black arowana (Osteoglossum ferreirai) in Brazil and Colombia: implications for its management". Conserv. Genet. 14 (3): 695–703. doi:10.1007/s10592-013-0463-1.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ สุรศักดิ์ วงศ์กิตติเวชสกุล. คู่มือเลี้ยงปลาอะโรวาน่า. กรุงเทพฯ : เอมซัพพลาย, 2540. 240 หน้า. ISBN 974-86869-5-7