ข้ามไปเนื้อหา

บุรจญ์เคาะลีฟะฮ์

พิกัด: 25°11′50″N 55°16′27″E / 25.19722°N 55.27417°E / 25.19722; 55.27417
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก บูร์จคาลิฟา)
บุรจญ์เคาะลีฟะฮ์
برج خليفة
บุรจญ์เคาะลีฟะฮ์ (สูงสุดในภาพ) ในทิวย่านดาวน์ทาวน์ของนครดูไบ
แผนที่
สถิติความสูง
เป็นสิ่งก่อสร้างที่สูงที่สุดในโลก ตั้งแต่ 2009[I]
ก่อนหน้านี้ไทเป 101
ข้อมูลทั่วไป
สถานะเสร็จสมบูรณ์
ประเภทผสมผสาน
สถาปัตยกรรมNeo-futurism
ที่ตั้งดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
ที่อยู่1 Sheikh Mohammed bin Rashid Boulevard
ตั้งชื่อให้ชีกห์ เคาะลีฟะฮ์
เริ่มสร้าง6 มกราคม 2004; 20 ปีก่อน (2004-01-06)
วางยอด17 มกราคม 2009; 15 ปีก่อน (2009-01-17)
แล้วเสร็จ1 ตุลาคม 2009; 15 ปีก่อน (2009-10-01)
เปิดใช้งาน4 มกราคม 2010; 14 ปีก่อน (2010-01-04)
ค่าก่อสร้าง1.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
เจ้าของเอมาร์พรอปเพอร์ทีส์
ความสูง
ตัวอาคาร828 เมตร (2,717 ฟุต)
ปลายยอด829.8 เมตร (2,722 ฟุต)
เสาอากาศ242.5 เมตร (796 ฟุต)
หลังคา739.4 เมตร (2,426 ฟุต)
ชั้นบนสุด585.4 เมตร (1,921 ฟุต)
ดาดฟ้า555.7 เมตร (1,823 ฟุต)
ข้อมูลทางเทคนิค
โครงสร้างคอนกรีตเสริมแรง, เหล็กกล้า และอะลูมิเนียม
จำนวนชั้น154 + 9 บำรุงรักษา
พื้นที่แต่ละชั้น309,473 ตารางเมตร (3,331,100 ตารางฟุต)
ลิฟต์57
การออกแบบและการก่อสร้าง
สถาปนิกเอเดรียน สมิธ
บริษัทออกแบบสกิดมอร์, โอวิงส์ และเมอร์ริล
วิศวกรโครงสร้างบิลล์ เบเคอร์
ผู้รับเหมาก่อสร้างซัมซุง ซีแอนด์ที
ข้อมูลอื่น
ที่จอดรถ2 ชั้นใต้ดิน
เว็บไซต์
www.burjkhalifa.ae
อ้างอิง
[1]

บุรจญ์เคาะลีฟะฮ์ หรือ เบิร์จคาลิฟา[2] (อาหรับ: برج خليفة, อักษรโรมัน: Burj Khalifa; "หอคอยเคาะลีฟะฮ์") หรือเดิมชื่อ บุรจญ์ดูไบ (อาหรับ: برج دبي, อักษรโรมัน: Burj Dubai; "หอคอยดูไบ") เป็นตึกระฟ้าสูงยวดยิ่ง ที่ก่อสร้างแล้วเสร็จเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2552 และเปิดให้ใช้ได้อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2553 เป็นส่วนหนึ่งของโครงการพัฒนาขนาดยักษ์มีที่ตั้ง ณ "ชุมทางเชื่อมต่างระดับที่ 1" ของถนนชิค ซาเยดและถนนโดฮา

ผู้ออกแบบอาคารนี้ คือ เอเดรียน สมิธ สถาปนิกชาวชิคาโกจากสำนักงานสถาปนิกเอสโอเอ็ม วิศวกรโครงสร้างของตึก คือ บิลล์ เบเกอร์[3]

วันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2551 ตัวอาคารได้ก่อสร้างขึ้นสูงถึง 629 เมตร ซึ่งสูงยิ่งกว่าเสา KVLY-TV สูง 628.8 เมตร ที่ตั้งอยู่ในสหรัฐ จึงเป็นสิ่งก่อสร้างที่สูงที่สุดในโลก ปัจจุบันมีความสูงกว่า 828 เมตร

วันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2553 มีพิธีเปิดอาคาร และเปลี่ยนชื่ออาคารจาก "บุรจญ์ดูไบ" เป็น "บุรจญ์เคาะลีฟะฮ์" เพื่อเป็นเกียรติแก่ชีกห์เคาะลีฟะฮ์ บิน ซายิด อัลนะฮ์ยาน เจ้าผู้ครองนครอาบูดาบีและประธานาธิบดีสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์[4][5]

การบริหารจัดการอาคารนั้น 37 ชั้นล่างจัดเป็นเป็นโรงแรมอาร์มานี ชั้น 45 ถึง 108 เป็นอพาร์ตเมนต์ ชั้นที่ 123 และ 124 เป็นจุดชมทิวทัศน์ ส่วนบนของตึกเป็นเสาอากาศสื่อสาร ชั้น 78 มีสระว่ายน้ำกลางแจ้งขนาดใหญ่ ที่เหลือเป็นสำนักงาน อาคารยังติดตั้งลิฟต์ที่เร็วที่สุดในโลก มีความเร็ว 18 เมตรต่อวินาที (65 กิโลเมตร หรือ 40 ไมล์ ต่อชั่วโมง)

ความสูง

[แก้]
  • ในวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 แอนโทนี วูดส์ ประธาน "สมัชชาอาคารสูงและที่อยู่อาศัยในชุมชนเมือง" ได้ให้การรับรองในชั้นต้นว่า บุรจญ์เคาะลีฟะฮ์ "เป็นอาคารที่สูงที่สูงเกินอาคารไทเป 101 ในเชิงโครงสร้าง (คอนกรีต) แล้ว" แต่ยังไม่ถือเป็นทางการ จนกว่าอาคารบุรจญ์เคาะลีฟะฮ์จะแล้วเสร็จสมบูรณ์และเปิดใช้งานแล้วเป็นบางส่วน เพื่อหลีกเลี่ยงเหตุการณ์อย่างโครงการอาคาร "รยูกย็อง" ของเกาหลี (330 เมตร) ดังนั้น อาคารไทเป 101 ของไต้หวัน จึงถือเป็นอาคารระฟ้าที่สูงที่สุดในโลกอย่างเป็นทางการต่อไป
  • ในเดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 บุรจญ์เคาะลีฟะฮ์สูงเลยความสูงของอาคารเซียร์ซึ่งเป็นอาคารที่มีจำนวนชั้นมากที่สุดในโลก (108 ชั้น)
  • วันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 ผู้ก่อสร้างบุรจญ์เคาะลีฟะฮ์ได้รายงานว่าการก่อสร้างได้บรรลุถึงความสูง 512.1 เมตรแล้ว มีจำนวนชั้นที่สร้างเสร็จ 141 ชั้น สูงเลยอาคารที่สูงที่สุดในโลกเมื่อวัดถึงหลังคา คือ ไทเป 101 (449.2 เมตร) ไปแล้ว
  • ในเดือน กันยายน พ.ศ. 2550 บุรจญ์เคาะลีฟะฮ์ ได้ทำลายสถิติหอคอยที่สูงที่สุดในโลก "หอคอยซีเอ็น" ที่ โทรอนโท ประเทศแคนาดา ซึ่งมีความสูง 553.3 เมตร และแซงหน้าสิ่งก่อสร้างที่สูงที่สุดที่มนุษย์เคยสร้างมา นั่นคือ เสาอากาศโทรทัศน์ KVLY-TV Mast ที่สหรัฐอเมริกา
  • 31 สิงหาคม พ.ศ. 2551 ห้างสรรพสินค้าในบุรจญ์เคาะลีฟะฮ์เปิดบริการ ทำให้บุรจญ์เคาะลีฟะฮ์ เข้ารับตำแหน่ง ตึกที่สูงที่สุดในโลก ไทเป 101 จึงตกเป็นที่สองแล้วในปัจจุบัน
  • 17 มกราคม พ.ศ. 2552 บุรจญ์เคาะลีฟะฮ์สร้างถึงจุดสูงสุดของตึก ที่ความสูง 828 เมตร (2,717 ฟุต)
  • 1 ตุลาคม พ.ศ. 2552 บริษัทเอมาร์ประกาศว่าส่วนภายนอกตึกได้ก่อสร้างเสร็จเรียบร้อยแล้ว[6] มีความสูงถึง 818 เมตร จะกลายเป็นสิ่งก่อสร้างที่มีความสูงที่สุดเท่าที่มนุษย์เคยสร้างบนโลกใบนี้

สถิติที่บุรจญ์ดูไบครองอยู่ในปัจจุบัน

[แก้]
บุรจญ์เคาะลีฟะฮ์เมื่อเปรียบเทียบกับสิ่งก่อสร้างอื่น ๆ ที่รู้จักกันดี
  • อาคารที่มีจำนวนชั้นมากที่สุด: 162 (เดิมอาคารเซียร์ -108 ชั้น)
  • ตึกระฟ้าสูงที่สุดในโลกนับถึงชั้นหลังคา: 546 เมตร วันที่ 27 สิงหาคม 2550 (เดิมอาคารไทเป 101 -449.2 เมตร)
  • ปั๊มคอนกรีตทางดิ่งที่สูงที่สุดในโลก (สำหรับการสร้างอาคาร) 512.1 เมตร (เดิมอาคารไทเป 101 -439.2 เมตร)
  • ปล่องลิฟต์ที่ยาวที่สุดในโลก 514 เมตร

ศูนย์กลางดูไบ

[แก้]

บุรจญ์เคาะลีฟะฮ์เป็นหนึ่งในโครงการก่อสร้างที่สำคัญของดูไบ ซึ่งประกอบด้วย บุรญุลอะร็อบ โรงแรมที่หรูที่สุดในโลก และ หมู่เกาะต้นปาล์ม รวมไปถึง ดูไบมารีนา ดูไบมอลล์ โดยมีก่อสร้างเสร็จทั้งหมดจะเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของประเทศ โดยโครงการทั้งหมดรับรองโดยทางรัฐบาลของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ โดยทางการท่องเที่ยวของประเทศต้องการให้ประเทศเป็นจุดสนใจที่สำคัญจุดหนึ่งของโลก

นอกจากนี้ ในฉากสำคัญของภาพยนตร์ มิชชั่น:อิมพอสซิเบิ้ล ปฏิบัติการไร้เงา ซึ่งเป็นภาคสี่ของซีรีส์ภาพยนตร์ มิชชั่น:อิมพอสซิเบิ้ล ยังได้ถ่ายทำฉาก และสถานที่โดยรอบบุรจญ์เคาะลีฟะฮ์นี้ด้วย ซึ่งรวมไปจนถึงการแสดงฉากผาดโผน ณ ด้านนอกของอาคาร[7]

แผนผัง

[แก้]

ตารางด้านล่างคือแผนผังในอาคาร[8][9]

Floors Use
164–209 ยอดตึก
160–163 ห้องเครื่องยนต์
156–159 เสาโทรคมนาคมและโทรทัศน์
155 ห้องเครื่องยนต์
148 ชั้นชมทัศนียภาพ "เดอะ นิว เดค"
139–154 ห้องคอร์ปอเรทสวีท
136–138 ห้องเครื่องยนต์
125–135 ห้องคอร์ปอเรทสวีท
124 ชั้นชมทัศนียภาพ "แอท เดอะ ท็อป"
123 สกายล็อบบี้
122 ภัตตาคาร "แอท.มอสเฟียร์"
111–121 ห้องคอร์ปอเรทสวีท
109–110 ห้องเครื่องยนต์
77–108 ห้องชุดเพื่อการพักอาศัย อาร์มานี
76 สกายล็อบบี้
73–75 ห้องเครื่องยนต์
44–72 ห้องชุดเพื่อการพักอาศัย อาร์มานี
43 สกายล็อบบี้
40–42 ห้องเครื่องยนต์
38–39 ห้องสวีทของโรงแรมอาร์มานี
19–37 ห้องชุดเพื่อการพักอาศัย อาร์มานี
17–18 ห้องเครื่องยนต์
9–16 ห้องชุดเพื่อการพักอาศัย อาร์มานี
1–8 โรงแรมอาร์มานี
กราวด์ โรงแรมอาร์มานี
คองคอร์ส โรงแรมอาร์มานี
B1–B2 ลานจอดรถ, ห้องเครื่องยนต์

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "บุรจญ์เคาะลีฟะฮ์". CTBUH Skyscraper Center.แก้ไขสิ่งนี้ที่วิกิสนเทศ
  2. ปรากฏการใช้ชื่อนี้ในแหล่งข้อมูลภาษาไทย ทั้ง ไทยพีบีเอส, ไทยรัฐ, กรุงเทพธุรกิจ, บีบีซีไทย, อิศรา
  3. Engineer Bill Baker Is the King of Superstable 150-Story Structures
  4. Bianchi, Stefania; Andrew Critchlow (4 January 2010). "World's Tallest Skyscraper Opens in Dubai". The Wall Street Journal. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 February 2021. สืบค้นเมื่อ 4 January 2010.
  5. "828-metre Burj Dubai renamed Burj Khalifa". Maktoob Group. 4 January 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 February 2010. สืบค้นเมื่อ 10 February 2010.
  6. "Burj Dubai exterior done, to open this year". Maktoob. 2009-10-01. สืบค้นเมื่อ 2009-10-01.
  7. "Sitting on top of the world! Is that Tom Cruise performing a death-defying stunt on the planet's highest skyscraper?". dailymail. 2010-11-25. สืบค้นเมื่อ 2011-10-27.
  8. "Structural Elements – Elevator, Spire, and More". BurjDubai.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 December 2009. สืบค้นเมื่อ 31 December 2009.
  9. "Inside the Burj Dubai". Maktoob News. 28 December 2009. สืบค้นเมื่อ 10 January 2010.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

25°11′50″N 55°16′27″E / 25.19722°N 55.27417°E / 25.19722; 55.27417