ข้ามไปเนื้อหา

แอร์ซอฟต์กัน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก บีบีกัน)
ปืนยาวไฟฟ้า M15A4 ผลิตโดย Classic Army
ปืนสั้นแก๊ส M1911A1 ผลิตโดย Tokyo Marui

แอร์ซอฟต์กัน (อังกฤษ: Airsoft Gun) บางประเทศเรียก ซอฟต์แอร์กัน (อังกฤษ: Softair Gun) ต่อไปนี้จะขอเรียกว่าปืนแอร์ซอฟต์ ปืนแอร์ซอฟต์คือปืนอัดลมชนิดเบา ลอกเลียนแบบปืนจริงในอัตราส่วน 1:1 ใช้กระสุนทรงกลมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 6 มม. และ 8 มม. ถูกจัดเป็นกีฬาในลักษณะเกมผจญภัย (Survival Game) เช่นเดียวกับกีฬาเพนต์บอล

ปัจจุบันได้รับความสนใจเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากเป็นกีฬาจำลองการรบ มีความสนุกสนาน มีรูปแบบการเล่นที่หลากหลาย และมีผู้เล่นที่หลากหลายวัย อาทิ เด็ก, เยาวชน, ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ ปัจจุบันในประเทศไทยมีสนามแอร์ซอฟต์กันเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้เล่นที่เพิ่มมากขึ้น

ประวัติ

[แก้]

อาวุธปืนเป็นสิ่งที่น่าสนใจอย่างกว้างขวางสำหรับประชาชน เพราะความสนใจอย่างกว้างขวาง ผู้ผลิตหลายรายจึงเริ่มผลิตปืนสปริง เป็นที่น่าสนใจต่อผู้คนที่สนใจอาวุธปืนในปี พ.ศ. 2513 ปืนดังกล่าวมีลำกล้องหลายขนาด เพื่อใช้ยิงลูกกระสุนพลาสติกและกระสุนยาง โดยกระสุนมีลักษณะเป็นวงกลมหลายขนาด แต่โดยที่สุด กระสุนพลาสติกเส้นผ่าศูนย์กลางขนาด 6 มม. และ 8 มม. ถูกบรรจุเข้าเป็นกระสุนมาตรฐาน ต่อมาปืนที่ใช้พลังงานจากสปริง ถูกบรรจุด้วยพลังงานจากแก๊ส เป็นระบบที่มีความหลากหลายมาก ของเล่นเหล่านี้ถูกเคลื่อนย้ายไปยังอเมริกาเหนือในกลาง แต่สามารถเอาตัวรอดได้อย่างหวุดหวิดจาก ทำให้ผู้ผลิตเก่าหลายรายพ่ายแพ้ทางการตลาด เศษของที่ไม่ใช้คิดค้นขึ้นเป็นและเป็นผู้ผลิตปืนยาวไฟฟ้าอัตโนมัติเป็นรายแรกสามารถช่วยเพิ่มความแม่นยำและวิถีกระสุนของอาวุธ ก่อนปี พ.ศ. 2543 Classic Army จากฮ่องกง เข้าร่วมวงการและส่งปืนของตนลงสู่ตลาด เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ ทำให้เป็นคู่แข่งและเกิดการแข่งขันกับมารูอิ ไม่กี่ปีต่อมา สินค้าจากประเทศจีนถูกส่งเข้าตลาดเป็นจำนวนมาก แต่เป็นสินค้าระดับต่ำ

รูปแบบของปืนแอร์ซอฟต์

[แก้]

ปืนแอร์ซอฟต์มีระบบการทำงานที่หลากหลาย ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์การใช้งาน และลักษณะของปืน

ปืนอัดลมระบบแอร์ค็อกกิ้ง

[แก้]

ปืนอัดลมเบาระบบแอร์ค็อกกิ้งหรือสปริงค็อกกิ้ง เป็นปืนที่มีกลไกไม่ซับซ้อนมากนัก มีน้ำหนักที่เบาใช้งานง่าย ทนทานและราคาไม่แพงราคาเริ่มต้นที่ 200-300 เท่านั้น และสามารถซื้อหามาเล่นได้ง่าย เหมาะสำหรับผู้เริ่มต้นเล่น ระบบกลไกการส่งกระสุนในปืนชนิดนี้จะใช้แรงดีดจากสปริงในการยิงกระสุน “Cocking” เป็นคำที่ใช้เรียกปฏิกิริยาการหดตัวของสปริงลูกสูบ ปืนประเภทนี้จึงถูกเรียกว่าเป็นปืนแอร์ค็อกกิ้ง ปืนที่ใช้ระบบแอร์ค็อกกิ้ง นอกจากจะมีในแบบปืนสั้นแล้ว ยังมีในรูปแบบปืนยาวด้วย ซึ่งปืนระบบแอร์ค็อกกิ้งในแบบปืนยาว ส่วนใหญ่จะเป็นปืนในแบบ Sniper อย่างเช่น ปืนอัดลมเบา Sniper ตระกูล APS II ที่ผลิตโดยบริษัท Maruzen หรือตระกูล VSR-10 ที่ผลิตโดยบริษัท Tokyo Marui ก็เรียกว่าเป็นปืนแบบแอร์ค็อกกิ้งด้วยเช่นกัน

ปืนอัดลมระบบแก๊ส

[แก้]

ปืนอัดลมระบบแก๊สแบ่งออกเป็นอีก 2 ประเภทได้แก่ ปืนแบบไม่โบลว์แบ็ค (Non BlowBack) และแบบโบลว์แบ็ค (BlowBack) คำว่า “โบลว์แบ็ค” นั้นเป็นคำที่เรียกปฏิกิริยาการสะท้อนถอยกลับของสไลด์ปืน ที่เลียนแบบของจริงทุกประการ พลังงานที่ใช้ส่งกระสุน จะใช้แรงดันที่เกิดจากการขยายตัวของแก๊ส

ปืนระบบไม่โบลว์แบ็ค มีข้อดีตรงที่ใช้แก๊สไม่เปลือง และให้ความแรงสม่ำเสมอในการยิง แต่จะมีข้อด้อยตรงที่ หากเป็นปืนอัดลมในสไตล์ปืนพก จะไม่มีการสไลด์ของปืนที่เหมือนกับปืนของจริง ระบบโบลว์แบ็คนั้น เป็นปืนที่ได้รับความนิยมจากผู้เล่นมากที่สุดเพราะความเหมือนจริงของมันนั่นเอง อีกทั้งยังได้อารมณ์ของการยิง และระบบการทำงานของปืนยังเลียนแบบมาจากปืนของจริงอีกด้วย ข้อเสียของปืนอัดลมแบบใช้แก๊สอยู่ที่ เมื่อแรงดันแก๊สอ่อนลงหรือใช้งานในอุณหภูมิที่เย็นจัด จะส่งผลถึงความแรงและความแม่นยำก็จะลดลงตามไปด้วยเช่นกัน แก๊สที่ใช้ในปืนอัดลมระบบแก๊ส นั้นก็คือน้ำยาทำความเย็นทั่ว ๆ ไป จะเป็นแก๊สในกลุ่ม HFC134a หรือเรียกกันสั้น ๆ ว่า R134a แก๊สที่มีขายทั่วไปในท้องตลาดมีหลายชนิดและยี่ห้อ เช่น Gun Power เป็นแก๊สที่ใช้ได้ทั้งอุปกรณ์ที่เป็นทั้งเหล็ก และพลาสติก และยิงได้แม้อุณหภูมิที่เย็นจัด

ปืนอัดลมระบบไฟฟ้า

[แก้]

ปืนอัดลมประเภทนี้มีชื่อเรียกในอีกชื่อหนึ่งว่า ปืน AEG ย่อมาจากคำเต็มว่า Automatic Electric Gun เป็นปืนอัดลมที่ใช้พลังงานการส่งลูก จากแบตเตอรี่ ซึงเป็นตัวจ่ายไฟฟ้าให้มอเตอร์ภายในทำงาน มอเตอร์ที่หมุนจะทำให้สปริงลูกสูบหดตัวและทำให้กระสุน ถูกยิงออกไปด้วยแรงดันของลูกสูบ ข้อดีของปืนอัดลมระบบไฟฟ้าชนิดนี้ จะสามารถปรับแต่งสปริงหรืออุปกรณ์กลไกภายในเพื่อทำให้ปืนมีความแรงเพิ่มขึ้นจากเดิมได้ และยังให้ความแรงและความแม่นยำอย่างสม่ำเสมอ จนกว่าแบตเตอรี่จะหมดไฟ เมื่อหมดไฟก็สามารถชาร์ตได้ด้วยเวลาอันสั้น ปืนระบบไฟฟ้าที่ได้รับความนิยมส่วนใหญ่จะปืนเล็กยาวต่าง ๆ เช่น ปืนเล็กยาวตระกูล M16, M4, AK, G3, G36, M14, SIG ฯลฯ นอกจากปืนอัดลมไฟฟ้าในรูปแบบปืนยาวแล้ว ยังมีปืนไฟฟ้าที่เป็นปืนสั้นอีกด้วยแต่ไม่เป็นที่นิยม เพราะขนาดของโครงสร้างที่จำกัด ทำให้ระบบกลไกภายในต้องย่อขนาดลงตามไปด้วย และความแรงในการยิงจะค่อนข้างเบากว่าปืนอัดแก๊ส

กระสุน

[แก้]

ปัจจุบันมีผู้ผลิตรายหลาย อาทิ Tokyo Marui, Guarder (Intruder Shop) , GoldenBall, Hunter, Prasert, CYMA, KSC และ G&P เป็นต้น คุณภาพของกระสุนขึ้นอยู่กับผู้ผลิตแต่ละราย ประสิทธิภาพของปืนบีบีส่วนหนึ่งขึ้นอยู่กับกระสุน โดยเฉพาะปืนที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางลำกล้องภายในต่ำกว่า 6.03 มม. (โดยมากใช้โดยผู้เล่นที่ต้องการความแม่นยำ) จะต้องพิถีพิถันในการเลือกใช้กระสุน เนื่องจากขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางลำกล้องภายในต่ำ กระสุนอาจติดขัดหรือเสียดสีกับลำกล้องภายในได้

น้ำหนักกระสุน

[แก้]

น้ำหนักกระสุน เส้นผ่าศูนย์กลาง 6 มม.

[แก้]
  • 0.11 กรัม - ผลิตโดย HFC พบเห็นได้น้อย
  • 0.12 กรัม - ถูกใช้โดยปืนบีบีสำหรับเด็ก ราคาย่อมเยา เช่นปืนพกสปริง และปืนไฟฟ้าขนาดเล็ก มีความเร็วสูงแต่มีความเสถียรภาพต่ำ
  • 0.15 กรัม - เช่นกันกับน้ำหนัก 0.12 กรัม พบเห็นได้น้อย
  • 0.16 กรัม - น้ำหนักพื้นฐานของของกระสุนน้ำหนัก 0.15 กรัม พบเห็นได้น้อยมาก
  • 0.20 กรัม - น้ำหนักมาตรฐานสำหรับปืนบีบี มีน้ำหนักที่เหมาะสมแก่การใช้งาน
  • 0.23 กรัม - วิถีกระสุนและความแม่นยำอยู่ในระดับที่ดี เป็นที่ชื่นชอบผู้เล่นต่างประเทศ
  • 0.24 กรัม - เป็นกระสุนน้ำหนักที่มีความแตกต่างจากน้ำหนักอื่น ๆ ผลิตโดย Airstrike (บริษัทสาขาคือ Daisy) และ Crosman
  • 0.25 กรัม - สำหรับปืนไฟฟ้า แก๊ส และปืนสปริง ที่ต้องการวิถีกระสุนมั่นคง
  • 0.28 กรัม - เรียกได้ว่าเป็นกระสุนที่มีความสมดุลที่สุด ผู้เล่นชาวไทยนิยมใช้กับปืนไรเฟิลซุ่มยิง (Sniper Rifles)
  • 0.29 กรัม - Maruzen Super Grandmaster BBs, designed for their Air Precision Shooting series of guns. One of the most precisely ground and accurate BBs available
  • 0.30 กรัม - กระสุนน้ำหนักมาตรฐาน ที่เหมาะสมมากที่สุดสำหรับปืนไรเฟิลซุ่มยิง (Sniper Rifles) โดยเดิม Western Arms ผลิตออกมาสำหรับใช้กันปืนสั้นแก๊สของตน พบเห็นได้น้อย
  • 0.32 กรัม - เช่นกันกับกระสุนน้ำหนัก 0.30 กรัม เป็นกระสุนน้ำหนักมาตรฐานของปืนไรเฟิลซุ่มยิง (Sniper Rifles) มีความสมดุลระหว่างความเร็วและความเสถียรภาพ เหมาะสมที่สุดสำหรับปืนสปริงและปืนไรเฟิลซุ่มยิงพลังงานแก๊ส
  • 0.36 กรัม - เป็นกระสุนที่มีน้ำหนักมาก สำหรับใช้กับปืนไรเฟิลซุ่มยิง (Sniper Rifles) กระสุนเดินทางช้ามาก แต่มีความเสถียรภาพสูง
  • 0.43 กรัม - For the highest level of upgrades in spring and gas sniper rifles. Usually graphite coated.
  • 0.88 กรัม - อาจเป็นกระสุนที่หนักที่สุด โดยมากผลิตมาจากเหล็กปัดเงา หายากและไม่นิยมนำมาใช้ เนื่องจากกระสุนชนิดนี้สามารถทำอันตรายจนถึงแก่ชีวิตได้

น้ำหนักกระสุน เส้นผ่าศูนย์กลาง 8 มม.

[แก้]
  • 0.20 กรัม
  • 0.24 กรัม
  • 0.25 กรัม (ผลิตจากวัสดุจากธรรมชาติ ย่อยสลายได้ง่าย)
  • 0.40 กรัม
  • 0.45 กรัม

ซองกระสุน

[แก้]

มีอยู่ 3 ประเภทดังนี้

  • แบบ Standard เรียกสั้น ๆ ว่า แมคสแตน มีข้อดีคือสามารถป้อนลุกกระสุนอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากจะมีสปริงคอยดันลูกขึ้นไปตลอดเวลา ส่วนข้อเสียก็คือสามารถบรรจุกระสุนได้น้อยและลำบากเวลาบรรจุกระสุน
  • แบบ Modify เรียกสั้น ๆ ว่า แมคโม มีข้อดีคือสามารถบรรจุกระสุนได้ง่ายและเยอะ แต่มีข้อเสียคือจะป้อนลูกกระสุนไม่ค่อยทัน เนื่องจากต้องคอยปั่นเฟืองที่ก้นแมคเพื่อที่จะป้อนลูกกระสุนเข้าไปยังรังเพลิง
  • แบบใช้ไฟฟ้า ระบบการทำงานจะคล้าย ๆ กับแมคโมแต่จะใช้ไฟฟ้าในการทำงานซึ่งควบคุมโดย สวิตซ์ ปิด-เปิด หรือ หางหนู ขึ้นอยู่กับรุ่น

ประสิทธิภาพ

[แก้]

ประสิทธิภาพของปืนบีบี ดูที่ความเร็วของกระสุนที่ยิงออกไป ความเร็วดังกล่าวมีหน่วยวัดเป็นฟุตต่อวินาที (Foot Per Second หรือ FPS) ในปัจจุบันยังไม่มีความเร็วของกระสุนที่เป็นมาตรฐานสำหรับใช้แข่งขันระดับสากล เนื่องจากแต่ละประเทศมีการจำกัดความเร็วสูงสุดของกระสุนแตกต่างกัน ทั้งนี้เพราะมีกติกาและลักษณะสถานที่การเล่นที่แตกต่างกัน โดยในประเทศไทยปัจจุบันจำกัดความเร็วไม่เกิน 400 ฟุตต่อวินาที (และมีแนวโน้มว่าจะลดลงในอนาคต) โดยใช้กระสุนเส้นผ่านศูนย์กลาง 6 มม. น้ำหนัก 0.20 กรัม เป็นมาตรฐานในการแข่งขัน

การบำรุงรักษาปืนแอร์ซอฟต์

[แก้]

ใช้สเปรย์ซิลิโคนฉีดพ่นชะโลมตัวปืนตามจุดที่ต้องการ คล้ายๆ กับอาวุธปืนจริง เพื่อเป็นการบำรุงรักษาและยืดอายุการใช้งานให้กับปืนแอร์ซอฟต์

ความปลอดภัย

[แก้]

เนื่องจากลูกกระสุนของปืนบีบีกันนั้นทำจากพลาสติกหรือเซรามิกแข็ง จึงอาจก่อให้เกิดการบาดเจ็บแก่ผู้ที่ถูกยิงได้ และหากโดนบริเวณสำคัญอย่างดวงตา, ฟัน, นิ้วมือ ฯลฯ ก็อาจบาดเจ็บถึงขั้นตาบอด ฟันหักได้หากไม่ได้สวมใส่อุปกรณ์ป้องกัน ดังนั้นผู้เล่นจึงควรสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันทุกครั้งที่เล่นหรืออยู่ในบริเวณที่มีการเล่น

โดยทั่วไปแล้ว ผู้ที่จะเล่นบีบีกันได้นั้นจะต้องสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันดวงตา ซึ่งถือเป็นกฎความปลอดภัยหลักของกีฬาชนิดนี้ และหากผู้เล่นคนใดไม่สวมใส่อุปกรณ์ป้องกันดวงตา หรือสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันดวงตาที่ไม่รัดกุมพอ จะไม่ได้รับอนุญาตให้ลงเล่น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของเจ้าหน้าที่ประจำสนาม

ข้อควรปฏิบัติเพื่อความปลอดภัย

[แก้]
  • ผู้เล่นควรแต่งกายให้รัดกุม เพื่อป้องกันการบาดเจ็บที่ผิวหนัง ใบหน้า และอวัยวะสำคัญต่าง ๆ เช่น ดวงตา ใบหู เป็นต้น
  • เมื่อออกนอกบริเวณสนาม ผู้เล่นต้องปลดซองกระสุนออกจากตัวปืน ยิงลูกที่ค้างในรังเพลิงออก และห้ามไกในทันที
  • ห้ามผู้เล่นหันปากประบอกปืนไปในทิศทางที่ไม่สมควร เช่น คน, สัตว์, วัสดุที่มีความแข็งแรง หรือในทิศทางที่อาจเกิดอันตรายแก่คนหรือสัตว์ได้
  • ความเร็วปืนของผู้เล่น จะต้องไม่เกินที่ทางสนามกำหนดสำหรับปืนประเภทต่าง ๆ

ข้อควรระวัง

[แก้]
  • สวมใส่แว่นตากันกระสุนทุกครั้งที่ใช้งาน หรือขณะเล่นอยู่ในสนาม
  • อ่านและศึกษาคู่มือการใช้งานให้เข้าใจ
  • ห้ามพกพาปืนโดยเปิดเผย ควรมีกระเป๋าใส่ปืนหรือผลิตภัณฑ์ที่สามารถใส่ปืนได้อย่างมิดชิด ยากต่อการพบเห็น
  • หากอยู่ในบริเวณพื้นที่ปลอดภัยของสนาม (Safe Zone) ควรถอดซองกระสุนและแบตเตอรีออก ตรวจสอบซองกระสุนและรังเพลิง ตรวจสอบให้แน่ใจว่าไม่มีกระสุนค้างอยู่ และเซฟไกปืนเพื่อความปลอดภัย
  • ห้ามหันปากกระบอกปืนเข้าหาตนเอง หากมีความจำเป็น ให้ถอดซองกระสุนและแบตเตอรี่ออก ตรวจสอบให้แน่ใจว่าไม่มีลูกค้างอยู่ในรังเพลิง
  • ห้ามถอดประกอบปืนบีบีหรือแก้ไขปืนบีบีด้วยตนเอง หากปืนอยู่ในช่วงการรับประกัน ให้ส่งไปยังศูนย์ซ่อมที่ได้รับการรับรองหรือร้านค้าที่ซื้อ หากอยู่นอกการรับประกัน ให้ศึกษาและทำความเข้าใจการถอดประกอบอย่างถี่ถ้วน หรือส่งให้ช่างผู้ชำนาญการ
  • ห้ามใช้ปืนบีบีเพื่อทำร้ายผู้อื่น ปืนบีบีไม่สามารถฆ่าชีวิตได้ แต่สามารถทำให้ผู้ใช้เป็นอาชญากรได้ หากผู้ใช้ใช้งานผิดวัตถุประสงค์
  • ใส่อุปกรณ์ปิดลำกล้องปืนบีบีทุกครั้งเมื่อเลิกใช้ เพื่อความปลอดภัย
  • นิ้วควรวางอยู่นอกโกร่งไกปืน (ควรฝึกให้เป็นนิสัย) เมื่อแน่ใจว่าใช่เป้าหมายที่ต้องการยิง จึงวางนิ้วเข้าโกร่งไกปืน

รูปแบบการเล่น

[แก้]

โดยทั่วไปแล้ว กีฬาบีบีกันนั้นมีวิธีการเล่นคล้ายกับกีฬาเพนต์บอล คือยิงกระสุนให้ถูกตัวผู้เล่นอีกฝ่าย แต่ต่างกันตรงที่กระสุนของบีบีกันนั้นไม่มีสี ไม่ทิ้งรอย ดังนั้นผู้เล่นที่รู้สึกตัวว่าถูกยิงไม่ว่าส่วนใดของร่างกาย ให้ถือว่าถูกยิง และจะต้องออกจากเกม เว้นแต่กติกากำหนดไว้เป็นอย่างอื่น

รูปแบบการเล่นกีฬาบีบียังสามารถแบ่งได้ ดังนี้

Speed Ball

[แก้]

เป็นการเล่นในแบบทั่วไปของบีบีกันซึ่งจะแบ่งเป็น 2 ฝ่าย รูปแบบการเล่นจะเน้นที่การไปยึดธงหรือกำจัดฝ่ายตรงข้ามให้หมด จึงจะถือเป็นการจบรอบนั้น ส่วนเวลาต่อ 1 รอบ จะขึ้นอยู่กับสนามว่าจะกำหนดเวลาให้เป็นเท่าไร ซึ่งโดยทั่วไปมักจะกำหนดเป็น 10, 20 หรือ 30 นาที ขึ้นอยู่กับว่ามีผู้รอเล่นรอบต่อไปมากหรือน้อย

Survival Game

[แก้]

คือการเล่นแบบสมจริง (จำลองการรบ) เนื่องด้วยต้องการความสมจริง จึงต้องใช้ความรอบคอบ การวางแผนเข้าตีจุดต่าง ๆ และความสามัคคีของทีม เพื่อให้บรรลุภารกิจตามที่ทางทีมงานกำหนดไว้

ATCS

[แก้]

TCS หรือ Tactical shoot เป็นการยิงปืนในระบบยุทธวิธีที่ถูกพัฒนามาจากลักษณะการยิงในระบบทหาร/ตำรวจ เพื่อให้ ผู้เล่นเกิดทักษะในการเคลื่อนที่ การยิงในท่าทางต่าง ๆ และการยิงในภาวะต่าง ๆ ความคุ้นเคยต่ออาวุธประจำกาย เพื่อให้เกิดการจดจำทักษะเหล่านั้น ซึ่งจะส่งผลดีในการลดความกดดันในขณะปฏิบัติงานจริง

TCS หรือ Tactical shoot เข้ามาในประเทศไทยในช่วงเวลาใดนั้นไม่เป็นที่แน่ชัด แต่สันนิษฐานว่าเข้ามาพร้อม ๆ กับการฝึกร่วมคอบร้า โกลด์ ของไทย-สหรัฐ ซึ่งต่อมาก็แพร่หลายไปตามหน่วยงานต่าง ๆ ซึ่งเล็งเห็นถึงข้อดีของการแข่งขันในลักษณะนี้ ซึ่งปัจจุบันก็มีการบบรจุลงในแทบทุกกองพล และมีการแข่งขันจนถึงระดับ ภูมิภาค TCS ไม่เพียงเป็นข้อดีต่อเจ้าหน้าผู้ปฏิบัติงานเท่านั้น ยังมีผลต่อดีผู้เล่นพลเรือนทั่วไปในการด้านการฝึกฝนทักษะการใช้อาวุธ สมาธิ ไหวพริบและร่างกาย ถือเป็นการออกกำลังกายที่ไม่เลวอย่างหนึ่งทีเดียว

แปลได้ตรงตัวเลยก็คือการจำลองการรบ ซึ่งจะมีกฎที่เข้มงวดและเน้นความสมจริงมากกว่า Survival Game เป็นอย่างมาก

ประเภทสนาม

[แก้]

สนามบีบีกันส่วนใหญ่มักจะตั้งติดอยู่กับสนามเพ้นต์บอล เนื่องจากวิธีการเล่นคล้ายคลึงกัน แต่โดยหลักแล้วจะแบ่งสนามเป็น 3 ประเภทดังต่อไปนี้

สนาม CQB (Close Quarter Battle)

[แก้]

สนาม CQB (Close Quarter Battle) หรือบางแห่งใช้ CQC (Close Quarter Combat) เน้นรูปแบบการเล่นที่เป็นการจำลองการรบในระยะประชิด (Close Quarter) เช่น การรบในตึกหรืออาคารต่าง ๆ มักเป็นสนามที่อยู่ในบริเวณตัวอาคาร สิ่งปลูกสร้าง สนามประเภทนี้มักให้ผู้เล่นอาศัยวัสดุสิ่งปลูกสร้างภายในอาคารเป็นที่กำบัง ไม่นิยมสร้างที่กำบังเพิ่มเติม หรือสร้างเพิ่มเติมน้อย ใช้พื้นที่มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับขนาดของอาคาร หรือสิ่งปลูกสร้าง ทิศทางการเล่นไม่แน่นอน

สนามป่า

[แก้]

สนามป่า เป็นการจำลองสภาพป่าซึ่งโดยทั่วไปจะมีต้นไม้ขึ้นอยู่หนาแน่น หรือบางแห่งอาจตั้งอยู่ในพื้นที่ป่า สนามประเภทนี้มักให้ผู้เล่นอาศัยสภาพภูมิประเทศเป็นที่กำบัง ไม่นิยมสร้างที่กำบังเพิ่มเติม หรือสร้างเพิ่มเติมน้อย ใช้พื้นที่ค่อนข้างมาก ทิศทางการเล่นไม่แน่นอน

สนามจำลอง

[แก้]
สนาม BPU จังหวัดอุบลราชธานี สนามจำลอง

สนามจำลอง เป็นการจำลองสนามรบขึ้นมาเองจากพื้นที่ว่างเปล่า ด้วยการสร้างที่กำบังขึ้นเป็นจุด ๆ ทั่วทั้งสนาม สนามประเภทนี้จะให้ผู้เล่นอาศัยวัตถุที่ถูกจัดวางและสภาพภูมิประเทศเป็นที่กำบังร่วมกัน ใช้พื้นที่มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับผู้ดำเนินกิจการ เนื่องจากพื้นที่มีจำกัดจึงมีทิศทางการเล่นที่แน่นอน สนามจำลองสามารถทำออกมาได้หลากหลายรูปแบบ อาจมีการผลัดเปลี่ยนที่กำบัง เพื่อความสนุกสนานในการเล่น

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

กระดานสนทนา & แหล่งข้อมูล

ผู้ผลิตปืนแอร์ซอฟต์