ข้ามไปเนื้อหา

บริษัทสาขา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก บริษัทในเครือ)

บริษัทสาขา หรือ บริษัทย่อย (อังกฤษ: subsidiary, subsidiary company) หรือ บริษัทลูก (daughter company)[1][2] คือ บริษัทที่มีเจ้าของหรือควบคุมโดยบริษัทอื่น ซึ่งเรียกว่า บริษัทแม่ หรือ บริษัทผู้ถือหุ้น ซึ่งมีอำนาจควบคุมทางกฎหมายและทางการเงินเหนือบริษัท[3][4] บริษัทสาขาสองแห่งหรือมากกว่านั้นที่อยู่ในเครือบริษัทแม่เดียวกันหรือมีฝ่ายบริหารชุดเดียวกันและควบคุมโดยนิติบุคคลหรือกลุ่มเดียวกันเป็นหลัก เรียกว่า บริษัทในเครือ บริษัทสาขาจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายของประเทศที่ตนมีสำนักงานใหญ่และจดทะเบียนอยู่ และยังคงรักษาความเป็นผู้นำฝ่ายบริหารของตนเองไว้ด้วย

บริษัทสาขาอาจเป็นบริษัท (โดยปกติมีความจำกัดในการรับผิด) และอาจเป็นของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจ ก็ได้ บริษัทในลักษณะนี้เป็นคุณลักษณะทั่วไปในธุรกิจสมัยใหม่ และบริษัทข้ามชาติส่วนใหญ่จัดระเบียบการดำเนินงานของตนในลักษณะนี้[5] ตัวอย่างของบริษัทผู้ถือหุ้นได้แก่ เบิร์กเชียร์แฮทาเวย์[6] เจฟเฟอรีส์ไฟแนนเชียลกรุป, เดอะวอลต์ดิสนีย์, วอร์เนอร์บราเธอส์ดิสคัฟเวอรี หรือ ซิตีกรุป ตลอดจนบริษัทที่มุ่งเน้นด้านหนึ่ง เช่น ไอบีเอ็ม, ซีร็อกซ์ และไมโครซอฟท์ บริษัทเหล่านี้และบริษัทอื่น ๆ จัดระเบียบธุรกิจของตนให้เป็นบริษัทสาขาในระดับประเทศและระดับปฏิบัติงาน โดยมักมีบริษัทสาขาอยู่หลายระดับ

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Subsidiary vs. Sister Company: What's the Difference?". Investopedia. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-12-20. A subsidiary functions as a separate legal entity rather than a division of the parent company. It is sometimes referred to as a daughter company.
  2. "Daughter Company Definition". Financial Times Lexicon. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-06-25. สืบค้นเมื่อ 2013-09-29.
  3. Burke, Alex (October 26, 2018). "What Is the Difference Between a Subsidiary & a Sister Company?". Small Business - Chron. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-12-21. สืบค้นเมื่อ 2015-05-20.
  4. "Subsidiary Definition & Meaning". Merriam-Webster Dictionary. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-08-20. สืบค้นเมื่อ 2015-01-15.
  5. Drucker, Peter F. (September–October 1997). "The Global Economy and the Nation-State". Foreign Affairs. Council on Foreign Relations. 76 (5): 159–171. doi:10.2307/20048206. JSTOR 20048206. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-10-31. สืบค้นเมื่อ 2016-10-14.
  6. "Links To Berkshire Hathaway Sub. Companies". Berkshire Hathaway Inc. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-04-15. สืบค้นเมื่อ 2013-09-29.