ข้ามไปเนื้อหา

พิพิธภัณฑ์บริติช

พิกัด: 51°31′10″N 0°07′37″W / 51.5195°N 0.1269°W / 51.5195; -0.1269
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก บริติชมิวเซียม)
British Museum
พิพิธภัณฑ์บริติชตั้งอยู่ในใจกลางลอนดอน
พิพิธภัณฑ์บริติช
Location within central London
ก่อตั้ง7 มิถุนายน 1753; 271 ปีก่อน (1753-06-07)
ที่ตั้งถนนเกรทรัสเซิล, ลอนดอน WC1B 3DG, ประเทศอังกฤษ, สหราชอาณาจักร
พิกัดภูมิศาสตร์51°31′10″N 0°07′37″W / 51.5195°N 0.1269°W / 51.5195; -0.1269
ขนาดผลงานapprox. 8 million objects[1]
จำนวนผู้เยี่ยมชม6,239,983 (2019) [2]
ประธานกรรมการริเชิร์ด ลามเบิร์ท
ผู้อำนวยการฮาร์ทวิก ฟิสเชอร์
ขนส่งมวลชนรถไฟใต้ดินลอนดอน แม่แบบ:Lus; แม่แบบ:Lus; แม่แบบ:Lus; แม่แบบ:Lus;
เว็บไซต์britishmuseum.org แก้ไขสิ่งนี้ที่วิกิสนเทศ
พื้นที่807,000 sq ft (75,000 m2) ใน
แกลเลอรี 94 ส่วน
เกรทคอร์ทเป็นพื้นที่ที่พัฒนาในปี 2001 ล้อมรอบรีดดิงรูม

บริทิชมิวเซียม (อังกฤษ: British Museum) ในย่านบลูมส์บรีของลอนดอน ประเทศอังกฤษ เป็นสถาบันสาธารณะที่ตั้งขึ้นเพื่ออุทิศให้แก่ประวัติศาสตร์มุนษย์, ศิลปะ และ วัฒนธรรม ของสะสมถาวรของพิพิธภัณฑ์มีจำนวนราวแปดล้านชิ้นและเป็นหนึ่งในพิพิธภัณฑ์ที่มีของสะสมมากที่สุดในโลก และครอบคลุมมากที่สุดในประวัติศาสตร์[3] ซึ่งได้มาจากการเก็บรวบรวมนับตั้งแต่สมัยของจักรวรรดิอังกฤษ เป็นต้นมา ทำให้พิพิธภัณฑ์สามารถบอกเล่าความเป็นมาของมนุษยชาติได้ตั้งแต่อดีต[a] บริทิชมิวเซียมเป็นพิพิธภัณฑ์ที่เปิดแก่สาธารณะแห่งแรกของโลก[4]

พิพิธภัณฑ์ก่อตั้งขึ้นในปี 1753 โดยส่วนใหญ่ได้มาจากของสะสมของแพทย์และนักวิทยาศาสตร์ชาวไอริช เซอร์ฮานส์ สโลน[5] และเปิดสู่สาธารณะเป็นครั้งแรกในปี 1759 ในมอนทากูเฮาส์ ที่ตั้งของอาคารพิพิธภัณฑ์ในปัจจุบัน ในปัจจุบันมีสถาบันสาขาของพิพิธภัณฑ์มากมาย โดยสถาบันแรกที่แยกสาขาออกมาคือ พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติ ในปี 1881.

ความเป็นเจ้าของของพิพิธภัณฑ์เหนือโบราณวัตถุที่มีชื่อเสียงที่สุดบางชิ้นที่ได้มาจากประเทศอื่นยังคงเป็นที่ถกเถียงในระดับสากล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กรณีของงานสลักหินอ่อนเอลกิน[6] จากกรีซ, ศิลารอเซตตา[7] จากอียิปต์ และทองสัมฤทธิ์เบนิน จากราชวงศ์เบนิน

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Collection size". British Museum.
  2. Art Newspaper annual museum survey, 9 April 2020
  3. "About us". British Museum. สืบค้นเมื่อ 26 March 2013.
  4. "History of the British Museum". The British Museum (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 12 July 2018.
  5. "The Life and Curiosity of Hans Sloane". The British Library (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-11-19. สืบค้นเมื่อ 21 October 2017.
  6. Tharoor, Kanishk (29 June 2015). "Museums and looted art: the ethical dilemma of preserving world cultures". The Guardian (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 18 April 2018.
  7. "The Big Question: What is the Rosetta Stone, and should Britain return". The Independent (ภาษาอังกฤษ). 9 December 2009. สืบค้นเมื่อ 2 April 2020.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]


อ้างอิงผิดพลาด: มีป้ายระบุ <ref> สำหรับกลุ่มชื่อ "lower-alpha" แต่ไม่พบป้ายระบุ <references group="lower-alpha"/> ที่สอดคล้องกัน