ข้ามไปเนื้อหา

โรคน้ำกัดเท้า

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก น้ำกัดเท้า)
น้ำกัดเท้า หรือ ฮ่องกงฟุต
(athlete's foot or tinea pedis)
ลักษณะผิวสีซีด แตกเป็นแผ่นที่ง่ามนิ้วเท้าที่เป็นโรคน้ำกัดเท้า
บัญชีจำแนกและลิงก์ไปภายนอก
ICD-10B35.3
ICD-9110.4
DiseasesDB13122
MedlinePlus000875
eMedicinederm/470

โรคน้ำกัดเท้า หรือ ฮ่องกงฟุต คือ โรคที่มีอาการคันซึ่งเกิดจากเชื้อราที่เท้า เมื่ออากาศร้อน ๆ และเท้าชื้นมาก ๆ ประกอบกับมีเหงื่อออกมากด้วยจึงเป็นบ่อเกิดของเชื้อราที่เรียกว่า Dermatophytes เนื่องจากเชื้อราจะเจริญเติบโตและแพร่พันธุ์ได้ดีมากในอากาศร้อนชื้น tinea คือชื่อสามัญของการติดเชื้อที่ผิวหนัง tinea pedis คือเชื้อราที่เท้า หรือ jock itch or tinea cruis คือการติดเชื้อที่ผิวหนังบริเวณขาหนีบ ต้นขา ข้อพับต้นขามีอีกชื่อหนึ่งว่า สังคัง และ Ringworm or tinea capitis คือ กลากที่ศีรษะ

การติดเชื้อ

[แก้]

การติดเชื้อส่วนใหญ่มักมาจากการใช้ของร่วมกับผู้อื่น เช่น ผ้าเช็ดตัว รองเท้า หรือว่ายน้ำในสระสาธารณะ

อาการ

[แก้]

อาการของโรคเชื้อราที่เท้า คือ คันตามซอกนิ้วเท้าและผิวหนังลอกออกเป็นขุย ๆ เป็นผื่นที่เท้า ผิวหนังที่เท้าเกิดพุพอง นิ้วเท้าหนาและแตกที่เป็นมากและพบบ่อยจะเกิดตรงซอกนิ้ว แต่ก็สามารถเกิดที่ส้นเท้าได้เช่นกัน

การรักษา

[แก้]

การรักษาโรคราที่เท้า ควรล้างเท้าให้สะอาดด้วยสบู่และเช็ดให้แห้ง ใส่ถุงเท้าที่สะอาดและไม่เปียกชื้นใช้ครีมกันเชื้อราหรือโรยแป้งฝุ่นที่เท้า

การป้องกัน

[แก้]

ควรใส่ถุงเท้าและรองเท้าที่แห้ง เช็ดเท้าให้แห้งโดยเฉพาะซอกเท้าหลังอาบน้ำ ใส่ถุงเท้าที่ทำด้วยขนสัตว์ดีกว่าผ้าฝ้ายเพราะผ้าขนสัตว์ช่วยซับความชื้นจากเท้า ถ้าเป็นเท้าเปียกควรเปลี่ยนรองเท้า ควรมีรองเท้า 2 คู่ ใส่สลับกัน ไม่ควรใส่รองเท้าคู่เดิมทุกวัน

โรคแทรกซ้อน

[แก้]

โรคแทรกซ้อนคือการที่ผิวหนังอักเสบ เกิดในรายที่รุนแรงและสามารถรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ