นิคมญี่ปุ่นในประเทศไมโครนีเชีย
ประชากรทั้งหมด | |
---|---|
114 (2007)[1][fn 1] | |
ภูมิภาคที่มีประชากรอย่างมีนัยสำคัญ | |
โปนเปย์ (โกโลเนียและปาลีกีร์), ชุก (ดุบลนและโตล)[2] | |
ภาษา | |
ตระกูลภาษาไมโครนีเชีย (ได้แก่ ชุก, โปนเปย์, แยป, โกชาเอ), อังกฤษ, ญี่ปุ่น[3] | |
ศาสนา | |
โรมันคาทอลิกและโปรเตสแตนต์;[4] ชินโต, มหายาน, วิญญาณนิยม | |
กลุ่มชาติพันธุ์ที่เกี่ยวข้อง | |
ชาวไมโครนีเชีย, ชาวญี่ปุ่น, ชาวโอกินาวะ |
นิคมญี่ปุ่นในดินแดนที่ปัจจุบันนี้เป็นประเทศไมโครนีเชีย[fn 2] สามารถย้อนไปได้ถึงช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 เมื่อพ่อค้าและนักสำรวจชาวญี่ปุ่นเข้ามาตั้งถิ่นฐานบริเวณตอนกลางและตะวันออกของหมู่เกาะแคโรไลน์ หลังจากที่จักรวรรดิญี่ปุ่นเข้าครอบครองหมู่เกาะใน ค.ศ. 1914 ชาวญี่ปุ่นได้ย่ายถิ่นฐานมาแคโรไลน์เป็นจำนวนมากในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1920–1930 รัฐบาลญี่ปุ่นกระตุ้นให้มีการย้ายถิ่นมาสู่หมู่เกาะที่เป็นส่วนหนึ่งของแปซิฟิกใต้ในอาณัติ
ผู้อพยพยุคแรก ๆ เป็นพ่อค้า แม้ว่าในระยะต่อมาผู้เข้ามาตั้งถิ่นฐานจะทำงานเป็นชาวประมง เกษตรกร หรือแรงงานเกณฑ์[6] ผู้อพยพส่วนใหญ่ตั้งถิ่นฐานที่โปนเปย์และชุก ส่วนเกาะอื่น ๆ มีจำนวนชาวญี่ปุ่นเพียงจำนวนน้อยเท่านั้น ใน ค.ศ. 1945 มีประชากรชาวญี่ปุ่นรวมกันกว่า 100,000 คน ผู้อพยพญี่ปุ่นในหมู่เกาะแคโรไลน์กลางและตะวันออก ประกอบด้วย ชาวญี่ปุ่น ชาวโอกินาวะ และชาวเกาหลีจำนวนหนึ่ง[7] ผู้ตั้งถิ่นฐานนำศาสนาชินโตและพุทธเข้ามาสู่หมู่เกาะแห่งนี้ แม้ว่าการนับถือศาสนาดังกล่าวจะไม่เป็นที่นิยมสำหรับชาวพื้นเมือง ใน ค.ศ. 1945 ภาษาญี่ปุ่นได้เข้ามาแทนที่ภาษาในตระกูลไมโครนีเชียในฐานะภาษาที่ใช้สนทนาในชีวิตประจำวัน
ความสัมพันธ์ระหว่างเชื้อชาติของชาวญี่ปุ่น (ผู้ตั้งถิ่นฐานและเจ้าหน้าที่รัฐ) กับชาวไมโครนีเชียเป็นไปอย่างเป็นมิตรและการสมรสต่างพวกระหว่างชาวญี่ปุ่นกับชาวไมโครนีเชียได้รับการสนับสนุน แม้ว่าความสัมพันธ์จะเริ่มแย่ลงเมื่อรัฐบาลอาณานิคมญี่ปุ่นออกนโยบายที่ให้ประโยชน์แก่ชาวญี่ปุ่นมากกว่า รวมถึงแสดงการไม่ให้ความสำคัญต่อบรรทัดฐานแบบไมโครนีเชีย หลังจากการยอมจำนนของญี่ปุ่นใน ค.ศ. 1945 ชาวญี่ปุ่นทุกคนถูกส่งกลับญี่ปุ่น ขณะที่ประชากรเชื้อสายญี่ปุ่น-ไมโครนีเชียได้รับอนุญาตให้อยู่ต่อไป ซึ่งโดยส่วนมากเลือกอยู่ต่อ พวกเขาเหล่านั้นจำนวนมากได้รับตำแหน่งสำคัญทางการเมือง ภาครัฐ และภาคธุรกิจหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ประชากรกลุ่มนี้นับได้ว่าเป็นประชากรกลุ่มน้อยที่มีจำนวนมากในสหพันธรัฐไมโครนีเชีย[8] ประเทศไมโครนีเชียเริ่มมีความสัมพันธ์กับญี่ปุ่นด้านการค้าและวัฒนธรรมนับตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1970 และได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตใน ค.ศ. 1988 อันเป็นระยะเวลาสองปีหลังจากที่ประเทศไมโครนีเชียได้รับเอกราช
เชิงอรรถ
[แก้]- ↑ จำนวนนี้ไม่รวมพลเมืองไมโครนีเชียเชื้อสายญี่ปุ่น-ไมโครนีเชีย
- ↑ สหพันธรัฐไมโครนีเชียก่อตั้งขึ้นใน ค.ศ. 1979 และได้รับเอกราชใน ค.ศ. 1986 บทความนี้จะกล่าวถึงนิคมญี่ปุ่นในรัฐแยป, ชุก, โปนเปย์ และโกชาเอ ซึ่งประกอบกันเป็นประเทศไมโครนีเชียในปัจจุบันเท่านั้น โดยแหล่งอ้างอิงอย่างน้อยหนึ่งแหล่งโดยพีตตีได้อ้างถึงแยปและชุกในภูมิภาคกลางของหมู่เกาะแคโรไลน์ ขณะที่โปนเปย์และโกชาเอถูกจัดเป็นหมู่เกาะแคโรไลน์ตะวันออก[5]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 第5回 太平洋・島サミット開催![ลิงก์เสีย], Plaza for International Cooperation, Official Development Assistance, Office of the Ministry of Foreign Affairs, Japan, retrieved October 17, 2009
- ↑ Price (1935), p. 542
- ↑ Crocombe (2007), p. 402
- ↑ Federated States of Micronesia, CIA World Factbook, retrieved October 2, 2009
- ↑ Peattie (1988), p. 158
- ↑ Myers (1987), p. 198
- ↑ Chuuk State: 1989 Census of Population and Housing (p. 24/223) เก็บถาวร 2015-09-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน PacificWeb, retrieved October 10, 2009
- ↑ Peattie (1988), p. 317
บรรณานุกรม
[แก้]- Baker, Byron; Wenkam, Robert, Micronesia: The Breadfruit Revolution, East-West Center Press, 1971, ISBN 0-8248-0102-4
- Crocombe, R. G., Asia in the Pacific Islands: Replacing the West, 2007, ISBN 982-02-0388-0
- Davidson, James Wightman, Pacific Island: Geographical Handbook Series, Volume 4 of Pacific Islands, Naval Intelligence Division, 1945
- Edmonds, I. G., Micronesia: America's Outpost in the Pacific, Bobbs-Merrill, 1974, ISBN 0-672-51815-5
- Hezel, Francis X., Strangers in Their Own Land: A Century of Colonial Rule in the Caroline and Marshall Islands (Issue 13 of Pacific Islands Monograph Ser. 13), University of Hawaii Press, 2003, ISBN 0-8248-2804-6
- Hiery, Hermann, The Neglected War: The German South Pacific and The Influence of World War I, University of Hawaii Press, 1995, ISBN 0-8248-1668-4
- Myers, Ramon H.; Peattie, Mark R., The Japanese Colonial Empire, 1895–1945, Princeton University Press, 1987, ISBN 0-691-10222-8
- National Research Council (U.S.). Pacific Science Board, CIMA report, Issue 5, 1950
- Oliver, Douglas L., The Pacific Islands, University of Hawaii Press, 1989, ISBN 0-8248-1233-6
- Pacific Magazine Corp, "Special Report on Japanese Investment in the Pacific Islands", Pacific Magazine, Volume 10, pp. 34–37, 1985
- Peattie, Mark R., Nanʻyō: The rise and fall of the Japanese in Micronesia, 1885–1945, University of Hawaii Press, 1988, ISBN 0-8248-1480-0
- Poyer, Lin; Falgout, Suzanne; Carucci, Laurence Marshall, The Typhoon of War: Micronesian Experiences of the Pacific War, University of Hawaii Press, 2001, ISBN 0-8248-2168-8
- Price, Willard, The South Sea Adventure: Through Japan's Equatorial Empire, The Hokuseido Press, 1936
- Price, Willard, Japan's new outposts, Harper's Magazine, Volume 171, pp. 537–546, 1935
- Rainbird, Paul, The Archaeology of Micronesia: Cambridge World Archaeology, Cambridge University Press, 2004, ISBN 0-521-65630-3
- Shuster, Donald R., State Shinto in Micronesia during Japanese Rule, 1914–1945, Brigham Young University—Hawaii Campus, Pacific Studies, Volumes 5 (2), pp. 20–43, 1981
- The Statesman's Year-book, St. Martin's Press, 1923
- United States. Office of the Chief of Naval Operations, East Caroline Islands: Civil Affairs Handbook, Office of the Chief of Naval Operations, Navy Dept., 1946