ข้ามไปเนื้อหา

มัธยมกะ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก นิกายซานรอน)
นักคิดมัธยมกะในอินเดียยุคคลาสสิก ตามเข็มนาฬิกาจากบนซ้าย: นาคารชุนะ (ผู้ก่อตั้ง), ภาวิเวกะกับจันทรกีรติ (ผู้อธิบาย), Śāntarakṣita (สังเคราะห์สำนักกับโยคาจาร)

สำนักมัธยมกะ (สันสกฤต: मध्यमक, Madhyamaka; "สายกลาง"; จีน: 中觀見; พินอิน: Zhōngguān Jìan; ทิเบต: དབུ་མ་པ ; dbu ma pa) เป็นสำนักในศาสนาพุทธฝ่ายมหายานยุคแรกที่ก่อตั้งโดยท่านนาคารชุนะ คำว่ามัธยมกะมาจากคำว่ามัชฌิมาปฏิปทา บางครั้งเรียกสำนักนี้ว่าศูนยตา เพราะคำสอนของสำนักนี้เน้นที่ความว่างเปล่าของสรรพสิ่ง และเรียกผู้ที่นับถือสำนักนี้เรียกว่า มาธยมิกะ (Mādhyamika) คณาจารย์สำคัญของสำนักนี้ เช่น จันทรกีรติ

คัมภีร์

[แก้]

คัมภีร์ที่สำคัญของสำนักนี้มีหลายเล่ม ที่เขียนโดยท่านนาคารชุนะได้แก่ มาธยมิกศาสตร์ ทวาทศนิกายศาสตร์ ปรัชญาปารมิตาศาสตร์ และที่เขียนโดยลูกศิษย์ของท่าน เช่น ศตศาสตร์ของท่านเทวะ กรกาลรัตนศาสตร์ของท่านภาววิเวก

หลักธรรม

[แก้]

คำสอนของสำนักนี้เน้นที่หลักปฏิจสมุปบาทและศูนยตา โดยถือว่าสรรพสิ่งทั้งหลายไม่มีความอยู่ด้วยตัวเอง (สวภาวะ) แต่เกิดได้เพราะอาศัยเหตุปัจจัยอิงกันเกิด ปฏิเสธทั้งทิฐิข้างที่กล่าวอ้างว่าสรรพสิ่งมีอยู่จริง (สัสสตทิฐิ) และที่ถือว่าขาดศูนย์ (อุจเฉททิฐิ) คำสอนของสำนักนี้ขัดแย้งกับสำนักโยคาจารอย่างรุนแรง ในแง่ที่ว่าสำนักโยคาจารยอมรับการมีอยู่ของสวภาวะแต่สำนักมัธยมกะไม่ยอมรับ มีการโจมตีกันว่าเป็นมิจฉาทิฐิในพุทธศาสนาทั้งสองฝ่าย

การปฏิเสธคำสอน

[แก้]

สำนักมัธยมกะ เป็นคำสอนแนวปฏิเสธ และเป็นเพียงปรัชญา ที่ทำให้หลุดพ้นไปไม่ได้เป็นเพียงทฤษฎีตามสำนักอื่น ๆ ที่โจมตี[ต้องการอ้างอิง] โดยสำนักที่ต่อยอดให้มัธยมกะ คือสำนักเทนได ที่พยายามต่อความคิด

สำนักมาธยมิกในประเทศต่าง ๆ

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  • ทวีวัฒน์ ปุณฑริกวิวัฒน์. ศาสนาและปรัชญาในจีน ทิเบต ญี่ปุ่น. กทม.สุขภาพใจ. 2545
  • ประยงค์ แสนบุราณ. พระพุทธศาสนามหายาน. กทม.โอเดียนสโตร์. 2548

ข้อมูล

[แก้]

อ่านเพิ่ม

[แก้]
  • Della Santina, Peter (1986), Madhyamaka Schools in India, New Delhi: Motilal Banarsidass
  • Harris, Ian Charles (1991), The Continuity of Madhyamaka and Yogacara in Indian Mahayana Buddhism, New York: E. J.Brill
  • His Holiness the Fourteenth Dalai Lama (Tenzin Gyatso) (2009), The Middle Way: Faith Grounded in Reason, Boston: Wisdom Publications
  • Huntington, C. W., Jr. (1989). The Emptiness of Emptiness: An Introduction to Early Madhyamika. Honolulu: University of Hawaii Press
  • Jones, Richard H. (2014), Nagarjuna: Buddhism's Most Important Philosopher, New York: Jackson Square Books
  • Jones, Richard H. (2012), Indian Madhyamaka Buddhist Philosophy After Nagarjuna, 2 vols., New York: Jackson Square Books
  • Narain, Harsh. The Mādhyamika mind. Motilal Banarsidass Publishers, 1997.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]