ข้ามไปเนื้อหา

วาฬนาร์วาล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก นาร์วาฬ)

นาร์วาล[1]
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: ยุคควอเทอร์นารี-ปัจจุบัน[2][3]
Diagram showing a narwhal and scuba diver from the side: the body of the whale is about three times longer than a human.
เปรียบเทียบขนาดกับมนุษย์โดยเฉลี่ย
สถานะการอนุรักษ์
CITES Appendix II (CITES)[5]
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอตา
Eukaryota
อาณาจักร: สัตว์
Animalia
ไฟลัม: สัตว์มีแกนสันหลัง
Chordata
ชั้น: สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
Mammalia
อันดับ: สัตว์กีบคู่
อันดับฐาน: วาฬและโลมา
Cetacea
วงศ์: Monodontidae

Linnaeus, 1758
สกุล: Monodon

Linnaeus, 1758
สปีชีส์: Monodon monoceros
ชื่อทวินาม
Monodon monoceros
Linnaeus, 1758
บริเวณที่พบประชากรนาร์วาลประจำ (สีเข้ม) หรือไม่ค่อยพบ (แถบ)

นาร์วาล (อังกฤษ: narwhal; ชื่อวิทยาศาสตร์: Monodon monoceros) เป็นวาฬมีฟันขนาดกลาง ซึ่งใช้ชีวิตตลอดทั้งปีที่บริเวณอาร์กติก เป็นหนึ่งในสองของสปีชีส์วาฬวงศ์โมโนดอนติแด เช่นเดียวกับวาฬเบลูกา นาร์วาลเพศผู้มีลักษณะที่โดดเด่นคือ มีงาที่ยาว, ตรง, เป็นเกลียวที่ยื่นมาจากกรามบนด้านซ้ายของพวกมัน ซึ่งแท้ที่จริงแล้วคือ ฟันเพียงซี่เดียวของพวกมันที่อาจยาวได้ถึง 3 เมตร สำหรับตัวผู้บางตัวอาจมีได้ถึงสองซี่ ขณะที่ตัวเมียเองก็อาจมีได้เหมือนกันแต่ทว่าไม่ยาวและไม่โดดเด่นเท่า[6] ปัจจุบันยังไม่ทราบเป็นที่แน่ชัดว่ามีไว้สำหรับทำอะไร เพราะนาร์วาลไม่ได้ใช้งาตรงนี้ในการขุดเจาะหาอาหารหรือต่อสู้กันเอง แต่สันนิษฐานว่างาของมันน่าจะมีไว้เพื่อดึงดูดตัวเมีย[ต้องการอ้างอิง]

ในยุคกลางงาของนาร์วาลถูกขายในราคาที่สูงให้แก่เชื้อพระวงศ์ชั้นสูง และถูกมองว่าเป็นยูนิคอร์นแห่งท้องทะเล[7]

นาร์วาลส่วนใหญ่พบในบริเวณอาร์กติกของแคนาดาและเขตทะเลของกรีนแลนด์ หาได้ยากในบริเวณละติจูด 65°เหนือ นาร์วาลเป็นนักล่าที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวในเขตอาร์กติก มันกินเหยื่อบริเวณพื้นใต้น้ำเป็นอาหาร โดยเป็นปลาซีกเดียวเป็นส่วนใหญ่ ที่ระดับความลึกถึง 1,500 เมตรใต้ก้อนน้ำแข็งหนา[8] มีการล่านาร์วาลมากว่าหนึ่งพันปีโดยชาวอินูอิตในภาคเหนือของแคนาดาและกรีนแลนด์สำหรับเนื้อและงา รวมถึงล่าเพื่อการยังชีพแบบควบคุมยังคงดำเนินต่อไปจนถึงทุกวันนี้ ในขณะที่ประชากรต่างถือว่าพวกมันตกอยู่ในความเสี่ยง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมีช่วงที่แคบและอดอาหาร[9]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Mead, J. G.; Brownell, R. L. Jr. (2005). "Order Cetacea". ใน Wilson, D. E.; Reeder, D. M. (บ.ก.). Mammal Species of the World: A Taxonomic and Geographic Reference (3rd ed.). Johns Hopkins University Press. pp. 723–743. ISBN 978-0-8018-8221-0. OCLC 62265494.
  2. "E. T. Newton. 1891. The vertebrata of the Pliocene deposits of Britain. Memoirs of the Geological Survey of the United Kingdom". Memoirs of the Geological Survey, Great Britain. 1891.
  3. "Monodon monoceros Linnaeus 1758 (narhwal)". PBDB.org.
  4. Lowry, L; Laidre, K; Reeves, R (2017). "Monodon monoceros". IUCN Red List of Threatened Species. 2017. doi:10.2305/IUCN.UK.2017-3.RLTS.T13704A50367651.en.
  5. "Appendices | CITES". cites.org. สืบค้นเมื่อ 2022-01-14.
  6. WILD จุดประกาย 7, นาวาล ตำนานยูนิคอร์น. กรุงเทพธุรกิจปีที่ 29 ฉบับที่ 10409: วันพฤหัสบดีที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2560
  7. "ท่องโลกกว้าง: สัตว์ทะเลสุดแปลก". ไทยพีบีเอส. 18 June 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-07-05. สืบค้นเมื่อ 18 June 2014.
  8. K.L. Laidre , M.P. Heide-Jørgensen , O.A. Jørgensen , and M.A. Treble (2004). "Deep-ocean predation by a high Arctic cetacean". ICES J. Mar. Sci. 61 (1): 430–440. doi:10.1016/j.icesjms.2004.02.002.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  9. Laidre, K. L., I. Stirling, L. Lowry, Ø. Wiig, M. P. Heide-Jørgensen, and S. Ferguson (2008). "Quantifying the sensitivity of arctic marine mammals to climate-induced habitat change". Ecological Applications. 18 (2): S97–S125. doi:10.1890/06-0546.1. PMID 18494365.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)

อ่านเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]