ข้ามไปเนื้อหา

เสรีนครดันท์ซิช

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก นครเสรีดันซิก)
เสรีนครดันท์ซิช

Freie Stadt Danzig (เยอรมัน)
Wolne Miasto Gdańsk (โปแลนด์)
1920–1939
ธงชาติดันท์ซิช
ธงชาติ
ตราแผ่นดินของดันท์ซิช
ตราแผ่นดิน
ดันท์ซิช ถูกล้อมรอบด้วยเยอรมนีและโปแลนด์
ดันท์ซิช ถูกล้อมรอบด้วยเยอรมนีและโปแลนด์
ที่ตั้งของเสรีนครดันท์ซิชในยุโรป ค.ศ. 1930
ที่ตั้งของเสรีนครดันท์ซิชในยุโรป ค.ศ. 1930
สถานะเสรีนครภายใต้การดูแลของสันนิบาตชาติ
เมืองหลวงดันท์ซิช
ภาษาทั่วไป
ศาสนา
การปกครองRepublic
High Commissioner 
• 1919–1920
Reginald Tower
• 1937–1939
Carl Jacob Burckhardt
Senate President 
• 1920–1931
Heinrich Sahm
• 1934–1939
Arthur Greiser
สภานิติบัญญัติVolkstag
ยุคประวัติศาสตร์สมัยระหว่างสงคราม
• ก่อตั้ง
15 พฤศจิกายน 1920
1 กันยายน 1939
• ถูกเยอรมนียึดครอง
2 กันยายน 1939
พื้นที่
19231,966 ตารางกิโลเมตร (759 ตารางไมล์)
สกุลเงิน
ก่อนหน้า
ถัดไป
ปรัสเซียตะวันตก
ไรซ์เกาดันท์ซิช-ปรัสเซียตะวันตก
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ โปแลนด์

เสรีนครดันท์ซิช (เยอรมัน: Freie Stadt Danzig; โปแลนด์: Wolne Miasto Gdańsk) เป็นเมืองของรัฐกึ่งอิสระที่มีอยู่ระหว่างปี 1920 และ 1939 ประกอบด้วยท่าเรือบนทะเลบอลติกของเมืองดันท์ซิชและเมืองเกือบ 200 เมืองในพื้นที่โดยรอบ ถูกสร้างขึ้นเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 1920 ตามเงื่อนไขของมาตรา 100 (มาตรา 10 ของหน้า 3) ของสนธิสัญญาแวร์ซาย หลังจากการสิ้นสุดของสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง

นครเสรีรวมเมืองดันท์ซิชและเมือง หมู่บ้าน และถิ่นฐานใกล้เคียงอื่น ๆ ที่ได้ตั้งที่อยู่อาศัยเป็นหลักโดยชาวเยอรมัน ตามสนธิสัญญาได้ระบุเอาไว้ ภูมิภาคจะยังคงแยกออกมาจากหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง (สาธารณรัฐไวมาร์) และประเทศที่ได้รับเอกราชใหม่ของสาธารณรัฐโปแลนด์ที่สอง ("โปแลนด์ในช่วงสมัยระหว่างสงคราม") แต่ก็ไม่ได้เป็นรัฐเอกราช เมืองเสรีนครอยู่ภายใต้การคุ้มครองของสันนิบาตชาติและถูกบรรจุลงในความผูกพันทางด้านสหภาพศุลกากรกับโปแแลนด์

ประเทศโปแลนด์ได้รับสิทธิในการพัฒนาและดูแลในด้านการขนส่ง การสื่อสาร และความอำนวยความสะดวกบนท่าเรือในเมือง เสรีนครได้รับการจัดตั้งขึ้นเพื่อให้โปแลนด์สามารถเข้าถึงท่าเรือขนาดพอดี ในขณะที่ประชากรของเมืองส่วนใหญ่เป็นชาวเยอรมัน มีชนกลุ่มน้อยชาติพันธุ์โปแลนด์อย่างมีนัยสำคัญเช่นกัน ประชาชนชาวเยอรมันไม่พอใจอย่างมากที่ถูกแยกออกจากเยอรมนี ถูกรังแกข่มเหงจากชนกลุ่มน้อยชาวโปแลนด์ นี่คือความจริงโดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากที่พรรคนาซีได้เข้ามาควบคุมทางการเมืองในปี 1935-1936

ตั้งแต่โปแลนด์ยังไม่ได้อยู่ในการควบคุมที่สมบูรณ์แบบของท่าเรือ,โดยเฉพาะเฉพาะอย่างยิ่งเกี่ยวกับอุปกรณ์ทางทหาร ท่าเรือใหม่ถูกสร้างขึ้นในบริเวณใกล้เคียงที่ Gdynia เริ่มขึ้นเมื่อปี 1921

ในปี 1933 รัฐบาลของเมืองถูกพรรคนาซีในท้องถิ่นยึดครอง พรรคได้ทำการปราบปรามฝ่ายค้านประชาธิปไตย เนื่องจากการต่อต้านยิวการกดขี่และข่มเหง ชาวยิวจำนวนมากได้หลบหนีออกไปหลังจากเยอรมันบุกโปแลนด์ในปี 1939 นาซีได้ยกเลิกเสรีนครและรวมพื้นที่เข้ามาอยู่ในรูปแบบขึ้นมาใหม่คือ ไรซ์เกาของดันท์ซิชและปรัสเซียตะวันตก นาซีได้จำแนกชาวโปแลนด์และชาวยิวที่อาศัยอยู่ในเมืองให้เป็นพวกต่ำกว่ามนุษย์ ขึ้นอยู่กับว่าพวกเขาจะถูกพิจารณา การบังคับใช้แรงงาน และการสังหารหมู่ หลายคนถูกส่งไปตายที่ค่ายกักกันนาซี รวมทั้งบริเวณใกล้เคียง Stutthof (ปัจจุบันคือ Sztutowo, Poland)

ในะหว่างการพิชิตเมืองโดยกองทัพแดงแห่งสหภาพโซเวียตในช่วงต้นเดือนปี 1945 ประชาชนจำนวนมากได้หลบหนีหรือถูกฆ่าตาย หลังสงคราม ชาวเยอรมันหลายคนที่รอดชีวิตได้ถูกขับไล่ไปยังตะวันตกหรือตะวันออกของเยอรมนีด้วยฐานะเป็นสมาชิกก่อนสงคราม ชนกลุ่มน้อยชาวโปแลนด์ได้เริ่มกลับมาและชาวโปแลนด์ใหม่ได้เข้ามาตั้งถิ่นฐานใหม่ เมืองได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของประเทศโปแลนด์เป็นผลมาจากการประชุมพ็อทซ์ดัม