ข้ามไปเนื้อหา

ธงชัยราชกระบี่ยุทธ ธงชัยพระครุฑพ่าห์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ธงชัยพระครุฑพ่าห์)
ธงชัยราชกระบี่ยุทธ สำรับใหญ่
ธงชัยพระครุฑพ่าห์ สำรับใหญ่

ธงชัยราชกระบี่ยุทธ ธงชัยพระครุฑพ่าห์ เป็นธงประจำพระองค์ของพระมหากษัตริย์ไทยโบราณ ใช้เป็นธงชัยสำหรับแห่นำในการเสด็จพระราชดำเนินในกองทัพ เรียกชื่ออีกอย่างหนึ่งว่า "ธงกระบี่ธุช ธงพระครุฑพ่าห์"

ลักษณะของธง

[แก้]

ธงชัยราชกระบี่ยุทธ ธงชัยพระครุฑพ่าห์ถือเป็นธง 2 อย่างแต่จัดอยู่ในสำรับเดียวกัน ธงนี้มีอยู่ 2 สำรับ คือ "ธงชัยราชกระบี่ยุทธ ธงชัยพระครุฑพ่าห์ใหญ่" และ "ธงชัยราชกระบี่ยุทธ ธงชัยพระครุฑพ่าห์น้อย"

ธงชัยราชกระบี่ยุทธ ธงชัยพระครุฑพ่าห์ สำรับใหญ่

[แก้]

ผืนธงชัยราชกระบี่ยุทธ ธงชัยพระครุฑพ่าห์ใหญ่มีลักษณะเป็นแผงมี 3 ชายอย่างธงชัยโบราณ หุ้มด้วยผ้าสักหลาดสีแดง ปักดิ้นทองลายกนก ยอดเป็นปลายหอก ตัวคันธงนั้นทำเป็นอาวุธอย่างตรีศูลหรือสามง่าม ที่คอคันธงชัยราชกระบี่ยุทธ์มีรูปหนุมานหล่อด้วยโลหะสำริด ในท่ายืนก้าวเท้าออกไปข้างหน้า เท้าอีกข้างหนึ่งติดอยู่ที่คอคันธง ส่วนธงชัยพระครุฑพ่าห์จะมีรูปพระนารายณ์ทรงครุฑหล่อด้วยโลหะสำริดเช่นกันติดอยู่ที่คอคันธง

ธงชัยราชกระบี่ยุทธ ธงชัยพระครุฑพ่าห์ สำรับน้อย

[แก้]

การใช้ธง

[แก้]
การเชิญธงชัยราชกระบี่ยุทธ ธงชัยพระครุฑพ่าห์ ในพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณตนและสวนสนามของทหารรักษาพระองค์ ประจำปี พ.ศ. 2547

แต่เดิมในสมัยโบราณ ธงชัยราชกระบี่ยุทธและธงชัยพระครุฑพ่าห์นี้จะเชิญไปใช้นำเสด็จพระราชดำเนินในกองทัพ เมื่อมีการสร้างธงชัยราชกระบี่ยุทธและธงชัยพระครุฑพ่าห์สำรับน้อยในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ราชองครักษ์เชิญธงสำรับน้อยเหล่านี้นำเสด็จฯ หากเป็นการเสด็จฯ โดยกระบวนราบ ให้ทหารบกเชิญธงชัยราชกระบี่ยุทธ ทหารเรือเชิญธงชัยพระครุฑพ่าห์ ถ้าเสด็จกระบวนรถม้า จึงให้ราชองครักษ์ทหารบกเชิญธงทั้งสองนาย โดยธงชัยราชกระบี่ยุทธอยู่ข้างขวา ธงชัยพระครุฑพ่าห์อยู่ข้างซ้าย

ต่อมาในปี พ.ศ. 2472 สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ เมื่อยังดำรงพระอิสริยยศเป็น สมเด็จกรมพระ ได้ประทานพระกระแสว่า ธงชัยราชกระบี่ยุทธควรอยู่ข้างซ้าย ส่วนธงชัยพระครุฑพ่าห์ควรอยู่ข้างขวา โดยถือหลักประเพณีเดิมจากพระราชพิธีทวาทศมาศ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงได้มีพระบรมราชโองการฯ ให้เปลี่ยนเสียให้ถูกต้อง เป็นราชประเพณีสืบมาจนทุกวันนี้

อ้างอิง

[แก้]