ชนก
ชนก (สันสกฤต: जनक) เป็นกษัตริย์แห่งรัฐวิเทหะซึ่งตั้งอยู่ระหว่างฝั่งตะวันออกของแม่น้ำคัณฑกี ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำมหานันทา และฝั่งเหนือของแม่น้ำคงคา[1][2]
พระองค์ทรงได้รับยกย่องว่า เป็นแบบอย่างของกษัตริย์ที่ไม่ยึดติดกับลาภยศศฤงคาร แม้จะทรงครองความมั่งคั่งและสุขสบายมากยิ่งก็ตาม พระองค์ยังสนพระทัยในปรัชญาทางจิตวิญญาณ และไม่ผูกพันพระองค์กับมายาคติทางโลก เอกสารโบราณระบุว่า พระองค์ทรงมีปฏิสัมพันธ์กับนักพรตนักบวชมากมาย เช่น อัษฏาวกระ และสุลาภะ วรรณกรรมระบุว่า พระองค์มีพระธิดาบุญธรรมนามว่า สีดา นอกจากนี้ เมืองชนกปุระในประเทศเนปาลปัจจุบันตั้งชื่อตามพระนามของพระองค์[3]
ในวรรณกรรมสมัยพระเวท
[แก้]วรรณกรรมสมัยพระเวทตอนปลาย เช่น ศตปถพราหมณะ และ พฤหทารัณยกอุปนิษัท ระบุว่า มีกษัตริย์นักปราชญ์พระองค์หนึ่งครองรัฐวิเทหะในราวศตวรรษที่ 7 ก่อนคริสตกาล มีพระนามว่า ชนก มีพระเกียรติยศเลื่องลือเพราะเหตุที่ได้ทรงอุปถัมภ์วัฒนธรรมและปรัชญาพระเวท ราชสำนักของพระองค์เป็นศูนย์กลางแห่งภูมิปัญญาเพราะอุดมด้วยฤษี ที่มีชื่อเสียงเช่น ฤษียาชญวัลกยะ[4] ในรัชกาลของพระองค์ รัฐวิเทหะได้เป็นศูนย์กลางหลักทางการเมืองและวัฒนธรรมแห่งอนุทวีปอินเดีย[5]
ในวรรณกรรม
[แก้]ในวรรณกรรมเรื่อง รามายณะ สีดา เจ้าหญิงแห่งรัฐวิเทหะ และมเหสีของพระรามแห่งรัฐโกศล มีพระบิดานามว่า ชนก ส่วน อัษฏาวกรคีตา ระบุถึงปฏิสัมพันธ์ของพระองค์กับนักพรตอัษฎาวกระ[6][7]
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]เชิงอรรถ
[แก้]- ↑ Jha, M. (1997). "Hindu Kingdoms at contextual level". Anthropology of Ancient Hindu Kingdoms: A Study in Civilizational Perspective. New Delhi: M.D. Publications Pvt. Ltd. pp. 27–42.
- ↑ Mishra, V. (1979). Cultural Heritage of Mithila. Allahabad: Mithila Prakasana. p. 13. สืบค้นเมื่อ 28 December 2016.
- ↑ Raychaudhuri 2006, p. 44.
- ↑ Raychaudhuri 2006, pp. 41–52.
- ↑ Michael Witzel (1989), Tracing the Vedic dialects in Dialectes dans les litteratures Indo-Aryennes ed. Caillat, Paris, 97–265.
- ↑ Vanita, Ruth (2009). "Full of God:Ashtavakra and ideas of Justice in Hindu Text". Religions of South Asia. 3 (2). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-03-02. สืบค้นเมื่อ 22 February 2017.
- ↑ Mukerjee, Radhakamal (1971). The song of the self supreme (Aṣṭāvakragītā): the classical text of Ātmādvaita by Aṣṭāvakra. Motilal Banarsidass Publ. ISBN 978-81-208-1367-0.
บรรณานุกรม
[แก้]- Dictionary of Hindu Lord and Legend (ISBN 0-500-51088-1) by Anna Dhallapiccola
- Raychaudhuri, Hemchandra (2006), Political History of Ancient India, Cosmo Publications, ISBN 81-307-0291-6