ข้ามไปเนื้อหา

ท่าอากาศยานฮัมบวร์คฟิงเคินแวร์เดอร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ท่าอากาศยานฮัมบวร์คฟิงเคินแวร์เดอร์

Flugplatz Hamburg-Finkenwerder
ข้อมูลสำคัญ
การใช้งานส่วนตัว
พื้นที่บริการฐานการผลิตอากาศยานของแอร์บัสในฮัมบวร์ค
ที่ตั้งฮัมบวร์ค เยอรมนี
เหนือระดับน้ำทะเล23 ฟุต / 7 เมตร
พิกัด53°32′09″N 09°50′13″E / 53.53583°N 9.83694°E / 53.53583; 9.83694
แผนที่
ท่าอากาศยานฮัมบวร์คฟิงเคินแวร์เดอร์ตั้งอยู่ในฮัมบวร์ค
ท่าอากาศยานฮัมบวร์คฟิงเคินแวร์เดอร์
ท่าอากาศยานฮัมบวร์คฟิงเคินแวร์เดอร์
ตำแหน่งของท่าอากาศยานในฮัมบวร์ค
ท่าอากาศยานฮัมบวร์คฟิงเคินแวร์เดอร์ตั้งอยู่ในเยอรมนี
ท่าอากาศยานฮัมบวร์คฟิงเคินแวร์เดอร์
ท่าอากาศยานฮัมบวร์คฟิงเคินแวร์เดอร์
ท่าอากาศยานฮัมบวร์คฟิงเคินแวร์เดอร์ (เยอรมนี)
ทางวิ่ง
ทิศทาง ความยาว พื้นผิว
ฟุต เมตร
05/23 10,443 3,183 คอนกรีต/แอสฟอลต์

แอร์บุส-แวร์คฮัมบวร์ค-ฟิงเคินแวร์เดอร์ (เยอรมัน: Airbus-Werk Hamburg-Finkenwerder) หรือรู้จักกันในชื่อ ท่าอากาศยานฮัมบวร์คฟิงเคินแวร์เดอร์ (เยอรมัน: Flugplatz Hamburg-Finkenwerder) (IATA: XFWICAO: EDHI) เป็นท่าอากาศยานและเป็นฐานการผลิตอากาศยานสำหรับแอร์บัส ที่ตั้งอยู่ในเขตฟิงเคินแวร์เดอร์ ท่าอากาศยานเป็นส่วนสำคัญของฐานการผลิตอากาศยานของแอร์บัสและเอทีอาร์ โดยมีการใช้งานเฉพาะเที่ยวบินองค์กร เที่ยวบินขนส่ง การทดสอบ และการส่งมอบ รวมถึงของแอร์บัส เอ380 ในอดีต

ประวัติ[แก้]

ใน ค.ศ. 1933 บริษัทผู้ผลิตเรือโบลมอุนท์ฟ็อส ในฮัมบวร์คได้เริ่มการผลิตเรือบิน โดยเชื่อว่ามีความต้องการเรือบินโลหะพิสัยไกล โดยเฉพาะจากสายการบินแห่งชาติด็อยท์เชอลุฟท์ฮันซา จึงมีการก่อตั้งฮัมบัวร์เกอร์ฟลูคท์ซ็อยค์เบา (ฮาเอ็ฟเบ) เป็นบริษัทลูก โดยเดิมมีแผนที่จะทำการผลิตในโรงงานต่อเรือของโบลมอุนท์ฟ็อส พร้อมกับลานบินและสายการผลิตขึ้นสุดท้ายสำหรับเครื่องบินบกในฐานการผลิตอากาศยานเว็นท์เซินดอร์ฟ[2][3][4][5]

ใน ค.ศ.1937 ฮาเอ็ฟเบถูกควบรวมกิจการเข้ามาเป็นหน่วยงานย่อยในโบลมอุนท์ฟ็อส ซึ่งฐานการผลิตฟิงเคินแวร์เดอร์ที่ก่อสร้างสำเร็จใน ค.ศ. 1939 จะดำเนินงานโดยหน่วยงานย่อยนี้ การดำเนินงานได้รับผลกระทบอย่างมากจนต้องระงับไปในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง โดยได้กลับมาดำเนินงานต่อภายหลังสงครามภายใต้บริษัทฮาเอ็ฟเบเดิม[6]

ใน ค.ศ.1964 ได้มีการทำการบินครั้งแรกของฮาเอ็ฟเบ 320 ฮันซาเจ็ท และเครื่องต้นแบบทรันส์อัล เซ-160 จากท่าอากาศยาน โดยจากการควบรวมกิจการครั้งใหญ่ ฮาเอ็ฟเบและฐานการผลิตฟิงเคินแวร์เดอร์ได้มาเป็นส่วนหนึ่งของแอร์บัส

ระหว่างเดือนเมษายน ค.ศ. 2006 และเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2007 ได้มีการขยายทางวิ่งทางฝั่งใต้ โดยเพิ่มความยาวจาก 2,684 เมตรเป็น 3,183 เมตร เพื่อรองรับแผนการผลิตรุ่นขนส่งสินค้าของแอร์บัส เอ380[7]

การผลิตอากาศยาน[แก้]

แอร์บัส เอ321 ในสายการผลิตขั้นสุดท้ายในฟิงเคินแวร์เดอร์

ฐานการผลิตของแอร์บัสในฟิงเคินแวร์เดอร์เป็นฐานหลักของแอร์บัสในประเทศเยอรมนีและมีพนักงานประจำประมาณ 15,000 คน โดยฐานนี้เป็นสถานที่ผลิตและประกอบชิ้นส่วนลำตัวส่วนหัวและส่วนท้ายของเอ330 และเอ350 และยังเป็นสายการผลิตขั้นสุดท้าย โรงทำสี และสถานที่ส่งมอบสำหรับเครื่องบินตระกูลเอ320ส่วนใหญ่ ที่นี่ยังเป็นศูนย์ชิ้นส่วนอะไหล่อากาศยาน ซึ่งมีการเก็บชิ้นส่วนไว้มากกว่า 120,000 ชิ้น และยังมีศูนย์บำรุงรักษาและศูนย์ฝึกการบินเครื่อตระกูลเอ320

เที่ยวบิน[แก้]

ปัจจุบันไม่มีสายการบินที่ให้บริการเที่ยวบินสู่ท่าอากาศยานฟิงเคินแวร์เดอร์ ท่าอากาศยานมีอัตราการเคลื่อนอากาศยานประมาณ 10 ถึง 15 ลำต่อวัน โดยส่วนมากเป็นเที่ยวบินที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการผลิตอากาศยาน แอร์บัสจะมีการจัดเที่ยวบินองค์กรสำหรับผู้บริหารสู่ฐานการผลิตในตูลูซสองเที่ยวต่อวันให้บริการโดยสายการบินโบโลเตอาสัญชาติสเปนตั้งแต่วันที่ 4 พฤศจิกายน ค.ศ. 2019 ในสัญญาห้าปี โดยก่อนหน้าจะให้บริการโดยเจอร์เมเนีย[ต้องการอ้างอิง]

อุบัติเหตุและอุบัติการณ์สำคัญ[แก้]

  • ค.ศ. 1967: นักบินบนเครื่องบินคอนแวร์ 990 คอรอนาโดของสปันตักซ์ได้สับสนทางวิ่งความยาว 1360 เมตรของท่าอากาศยานฟิงเคินแวร์เดอร์ เป็นทางวิ่ง 3000 เมตรของท่าอากาศยานฮัมบวร์คในฟูลส์บึทเทิล และได้ลงจอดบนทางวิ่งที่สั้นกว่านั้น เครื่องบินสามารถลงจอดได้อย่างปลอดภัย[8]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

รายการอ้างอิง[แก้]

  1. "AIP VFR online". dfs.de (ภาษาอังกฤษ). DFS Deutsche Flugsicherung GmbH. สืบค้นเมื่อ 2023-02-21.
  2. Amtmann, Hans; "Blohm und Voss Remembered" (Part 1), Aeroplane Monthly, February 1998, pp. 22–27
  3. Pohlmann, Hermann; 'Chronik Eines Flugzeugwerkes 1932-1945. B&V - Blohm & Voss Hamburg - HFB Hamburger Flugzeugbau (in German). Motor Buch Verlag, 1979 ISBN 3-87943-624-X
  4. Gunston, Bill; World Encyclopedia of Aero manufacturers, 2nd edition, Sutton, 2005.
  5. Walden, Hans; Wie Geschmiert: Rüstungsproduktion und Waffenhandel im Raum Hamburg ("Well Oiled: Armament Production and Arms Trading in the Hamburg Area"), Loeper, 1997. B+V Geschichte v. 1933-1938 (retrieved 1 May 2017)
  6. Pohlmann, Hermann; Chronik Eines Flugzeugwerkes (Story of an aircraft manufacturer), 2nd impression, Motorbuch Verlag, 1982.
  7. ReGe Hamburg Projekt-Realisierungsgesellschaft: Start- und Landebahn an Airbus übergeben เก็บถาวร 16 มกราคม 2014 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน In German, 15 January 2014.
  8. Bonsen, Götz (30 May 2017). "Irrflug einer Pannen-Airline: Gabelflug mit Spantax: Wie vor 50 Jahren ein Flugzeug in Hamburg kurz verschwand | shz.de". shz. สืบค้นเมื่อ 29 September 2020.

บรรณานุกรม[แก้]

  • Jefford, C.G. (1988). RAF Squadrons. A comprehensive record of the movement and equipment of all RAF squadrons and their antecedents since 1912. Shrewsbury, UK: Airlife. ISBN 1-85310-053-6.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]