แผนการโคลัมโบ
แผนการโคลัมโบ (for Cooperative Economic and Social Development in Asia and the Pacific) | |
---|---|
Flag of the Colombo Plan | |
Current (blue) and former (yellow) members of the Colombo Plan. | |
Headquarters | กรุงโคลัมโบ ประเทศศรีลังกา |
Official languages | English |
ประเภท | Economic forum |
Member countries | สมาชิกปัจจุบัน (27) อดีตสมาชิก (4) |
ผู้นำ | |
• Secretary-General | Ambassador Phan Kieu Thu, PhD |
ก่อตั้ง | |
• Establishmenta | 28 November 1950 |
• Commencement | 1 July 1951 |
เว็บไซต์ www.colombo-plan.org | |
|
แผนการโคลัมโบ (อังกฤษ: Colombo Plan) เป็นองค์การระดับภูมิภาคที่รัฐบาลในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกร่วมมือกันพัฒนาความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจและสังคม เป้าหมายหลักของแผนการโคลอมโบคือการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
ประวัติ
[แก้]ในฤดูใบไม้ผลิ ค.ศ. 1949 ทูตอินเดียประจำสาธารณรัฐประชาชนจีน Kavalam Madhava Panikkar เสนอโครงการกับทูตอังกฤษและออสเตรเลียให้สนับสนุนทุนแบบพหุภาคีให้แก่ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพื่อต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์ที่กำลังแผ่ขยายในภูมิภาค สหรัฐอเมริกาจึงเป็นผู้บริจาคความช่วยเหลือที่ใหญ่ที่สุดให้กับองค์กรดังกล่าว[1]
แต่เดิมนั้น องค์กรนี้เกิดจากการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศของชาติเครือจักรภพ ณ กรุงโคลัมโบ ประเทศศรีลังกา ในเดือนมกราคม ค.ศ. 1950 ซึ่งมีแผนที่จะตั้งกรอบความร่วมมือระหว่างประเทศที่จะยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในภูมิภาค ซึ่งแรกทีเดียวมีกำหนดหกปี และต่ออายุมาอีกหลายครั้ง จนกระทั่ง ค.ศ. 1980 จึง ต่ออายุไปอย่างไม่มีกำหนด ชื่อโครงการตอนก่อตั้งคือ แผนโคลอมโบเพื่อความร่วมมือในการพัฒนาเศรษฐกิจในเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีชาติเครือจักรภพเจ็ดชาติได้แก่ ออสเตรเลีย อังกฤษ แคนาดา ซีลอน อินเดีย นิวซีแลนด์ และปากีสถาน ซึ่งต่อมาได้ขยายเป็น 26 ชาติ ซึ่งมีชาติที่ไม่อยู่ในเครือจักรภพเข้าร่วมด้วย เมื่อได้มีธรรมนูญใหม่ใน ค.ศ. 1977 จึงเปลี่ยนชื่อเป็น "The Colombo Plan for Cooperative Economic and Social Development in Asia and the Pacific" เพื่อสะท้อนถึงการเปลี่ยนแปลงชาติสมาชิกและขอบเขตของกิจกรรม
ในช่วงเริ่มโครงการความช่วยเหลือจากแผนการโคลัมโบเป็นการถ่ายโอนทุนและเทคโนโลยีทางกายภาพและการพัฒนาทักษะ จึงเป็นทั้งการสร้างโครงสร้างพื้นฐานอย่างสนามบิน ถนน ทางรถไฟ เขื่อน โรงพยาบาล โรงงานปุ๋ย โรงงานซีเมนต์ มหาวิทยาลัย และโรงถลุงเหล็ก ไปพร้อมกับการฝึกอบรมคนจำนวนมากเพื่อให้สามารถจัดการโครงสร้างพื้นฐานและเศรษฐกิจที่เติบโตขึ้นได้
เป้าหมาย
[แก้]แผนการโคลัมโบมิใช่แผนแม่บทที่แผนระดับชาติต้องโอนอ่อนตาม แผนการโคลัมโบเป็นกรอบความร่วมมือระดับทวิภาคีซึ่งนำเอาความช่วยเหลือจากต่างประเทศและความช่วยเหลือทางเทคนิคเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมเข้ามาสู่ในภูมิภาค
โครงสร้างองค์กร
[แก้]องค์ประกอบหลักของแผนการโคลัมโบคือ กรรมการที่ปรึกษา สภา และเลขานุการ ค่าบริหารจัดการจะแบ่งรับผิดชอบกันใน 25 ชาติ ชาติละเท่าๆ กัน
- กรรมการที่ปรึกษา (The Consultative Committee: CCM) ประกอบด้วยรัฐบาลชาติสมาชิกทั้งหมด เป็นองค์กรสูงสุดในเชิงนโยบาย มีการประชุมทุกสองปี
- สภา (The Colombo Plan Council) ประกอบด้วยหัวหน้าทูตานุทูตของชาติสมาชิก ณ กรุงโคลัมโบ ประชุมกันสี่ครั้งต่อปีเพื่อสนองตอบนโยบายของกรรมการที่ปรึกษา
- เลขานุการ (The Colombo Plan Secretariat) นำโดยเลขาธิการใหญ่ซึ่งตั้งอยู่ในกรุงโคลัมโบ มีหน้าที่ในการบริการจัดการแผนให้เป็นไปตามนโยบาย
โครงการ
[แก้]แผนการโคลัมโบมีโครงการถาวรหลักสี่ด้านได้แก่
- Programme for Public Administration & Environment (PPA & ENV)
- Programme for Private Sector Development (PPSD)
- Drug Advisory Programme (DAP)
- Long-Term Scholarships Programme (LTSP)
แผนในปัจจุบัน
[แก้]ในอดีตแผนการโคลัมโบเน้นการพัฒนาสังคมระยะยาวและโครงสร้างพื้นฐานเป็นสำคัญ แต่ในปัจจุบันได้ปรับแผนให้สอดรับกับความต้องการของประเทศสมาชิกที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว โดยมุ่งเน้นไปที่การพัฒนาทักษะขั้นสูงและการถ่ายทอดประสบการณ์เพื่อนโยบายสาธารณะที่ดี รวมถึงการพัฒนาภาคเอกชนเพื่อผลักดันการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ รวมถึงการต่อต้านยาเสพติด
ด้วยการสนับสนุนของสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่นและชาติสมาชิกอื่นอีก 12 ชาติ แผนการโคลัมโบมีโครงการ DAP ที่เป็นส่วนสำคัญยิ่งในการลดการใช้ยาเสพติดในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก โดยปัจจุบันมีโครงการพิเศษในอัฟกานิสถาน[2][3]
ผู้รับทุนแผนการโคลัมโบ
[แก้]- ปริญญา จินดาประเสริฐ อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น 2 สมัย และนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ
- Dr. Baburam Bhattarai (Nepal), current Prime Minister of Nepal.
- Khaw Boon Wan (Singapore), current Minister for National Development in Singapore.
- Raymond Lim (Singapore), former Cabinet Minister in Singapore.
- Yeo Cheow Tong (Singapore), former Cabinet Minister in Singapore.
- Dato' Hajji Abdul Ghani Bin Othman (Malaysia), current Chief Minister of Johor state in Malaysia.
- Tan Sri Datuk Seri Panglima Joseph Pairin Kitingan (Malaysia), Deputy Chief Minister and Minister of Rural Development of Sabah.
- Dr. K.V. Thiruvengadam (India), Indian physician and medical teacher.
- Mapatunage James "M. J." Perera (Sri Lanka), he made broadcasting history by being the first Ceylonese Director General of Radio Ceylon, the oldest radio station in South Asia, taking over the helm from John Lampson of the BBC.
- Livy Wijemanne (Sri Lanka), pioneer of Radio Ceylon.
ข้อวิพากษ์วิจารณ์ในระยะแรก
[แก้]ชาวเอเชียบางกลุ่มมองว่าแผนการนี้เป็นเงื้อมือของจักรวรรดินิยมอังกฤษซึ่งไม่ได้มีจุดประสงค์เพื่อให้ชาติพัฒนาการพึ่งพาตนเอง แผนการโคลัมโบเสนอคำตอบทางเศรษฐกิจให้กับปัญหาซึ่งมีองค์ประกอบทางการเมืองและสังคมอยู่ด้วย ปัญหาที่ร้ายแรงอย่างนายทุนที่ดินและโครงสร้างองค์การแรงงานซึ่งถูกใช้โดยคอมมิวนิสต์กลับไม่ได้รับการเหลียวแล เพราะเป็นปัญหาที่อ่อนไหวทางการเมืองเกินกว่าที่จะจับต้องได้[4]
สมาชิกในปัจจุบัน
[แก้]แผนการโคลัมโบมีสมาชิก 27 ประเทศ อยู่ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ประเทศในกลุ่มอาเซียน และประเทศ SAARC (South Asian Association for Regional Cooperation).
ประเทศสมาชิก | ปีที่เริ่มสมาชิกภาพ |
---|---|
อัฟกานิสถาน | 1963 |
ออสเตรเลีย | 1950 |
บังกลาเทศ | 1972 |
ภูฏาน | 1962 |
บรูไน | 2008 |
ฟีจี | 1972 |
อินเดีย | 1950 |
อินโดนีเซีย | 1953 |
อิหร่าน | 1966 |
ญี่ปุ่น | 1954 |
เกาหลีใต้ | 1962 |
ลาว | 1951 |
มาเลเซีย | 1957 |
มัลดีฟส์ | 1963 |
มองโกเลีย | 2004 |
พม่า | 1952 |
เนปาล | 1952 |
นิวซีแลนด์ | 1950 |
ปากีสถาน | 1950 |
ปาปัวนิวกินี | 1973 |
ฟิลิปปินส์ | 1954 |
ซาอุดีอาระเบีย | 2012[5] |
สิงคโปร์ | 1966 |
ศรีลังกา | 1950 |
ไทย | 1954 |
สหรัฐอเมริกา | 1951 |
เวียดนาม | 2004 |
อดีตสมาชิก
[แก้]มีอดีตสมาชิกสี่ราย ในจำนวนนี้มีสองรายที่เป็นสมาชิกก่อตั้ง คือ แคนาดา และสหราชอาณาจักร เวียดนามใต้เข้าร่วมใน ค.ศ. 1951 และเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม ค.ศ. 1976 ได้รวมเข้าเป็นเวียดนามเดียว ซึ่งถอนตัวออกจากแผนการโคลัมโบ เวียดนามกลับเข้ามาเป็นสมาชิกอีกครั้งหนึ่งในภายหลัง
สมาชิก | ปีที่เข้าร่วม | ปีที่สิ้นสมาชิกภาพ |
---|---|---|
แคนาดา | 1950 | 1992 |
สหราชอาณาจักร | 1950 | 1991 |
กัมพูชา | 1951 | 2004 |
เวียดนามใต้ | 1951 | 1975 |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Fischer, Charles A (September 1971). "Containing China? II. Concepts and Applications of Containment". 137 (3). The Geographical Journal: 301.
{{cite journal}}
: Cite journal ต้องการ|journal=
(help) - ↑ Welcome speech by Dato' Patricia Yoon-Moi เก็บถาวร 2013-11-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Colombo, 5 July 2010.
- ↑ http://www.himalmag.com/component/content/article/2660-A-New-Plan-for-the-Colombo-Plan.html[ลิงก์เสีย]
- ↑ Blackton, Charles S., The Colombo Plan, Far Eastern Survey, 7 February 1951.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-08-23. สืบค้นเมื่อ 2013-02-07.