ข้ามไปเนื้อหา

รัฐทือริงเงิน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ทือริงเงิน)
เสรีรัฐทือริงเงิน

Freistaat Thüringen
ธงของเสรีรัฐทือริงเงิน
ธง
ตราแห่งรัฐ
ตราอาร์ม
พิกัด: 50°51′40″N 11°3′7″E / 50.86111°N 11.05194°E / 50.86111; 11.05194
ประเทศเยอรมนี
เมืองหลวงแอร์ฟวร์ท
การปกครอง
 • มุขมนตรีBodo Ramelow (Die Linke)
 • พรรคการเมืองLeft / SPD / Greens
 • จำนวนผู้แทนรัฐ4 (จาก 69)
พื้นที่
 • ทั้งหมด16,172.50 ตร.กม. (6,244.24 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2020-12-31)[1]
 • ทั้งหมด2,120,237 คน
 • ความหนาแน่น130 คน/ตร.กม. (340 คน/ตร.ไมล์)
เขตเวลาUTC+1 (CET)
 • ฤดูร้อน (เวลาออมแสง)UTC+2 (CEST)
รหัส ISO 3166DE-TH
จีดีพี (ตัวเงิน)€ 64 พันล้าน (2019) [2]
จีดีพีต่อหัว€ 30,000 (2019)
NUTS RegionDEG
เว็บไซต์thueringen.de

เสรีรัฐทือริงเงิน[3] (เยอรมัน: Freistaat Thüringen) หรือ เสรีรัฐทูรินเจีย[3] (อังกฤษ: Free State of Thuringia) เป็นหนึ่งในสิบหกรัฐของประเทศเยอรมนี ตั้งอยู่ทางตอนกลางของประเทศ มีเนื้อที่ 16,171 ตารางกิโลเมตร ซึ่งเล็กเป็นอันดับ 6 ของประเทศ มีประชากรประมาณ 2.14 ล้านคน ซึ่งน้อยเป็นอันดับ 5 ของประเทศ[4] รัฐทือริงเงินมีเมืองแอร์ฟวร์ทเป็นเมืองหลวง เมืองสำคัญอื่นๆ ของรัฐ เช่น ไวมาร์ เกรา เยนา ซูล เป็นต้น

รัฐทือริงเงินมีฉายาว่า "หัวใจสีเขียวแห่งเยอรมนี" (เยอรมัน: das grüne Herz Deutschlands) ตั้งแต่ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19[5] เนื่องจากมีพื้นที่ป่าไม้เหลืออยู่มาก

ภูมิศาสตร์

[แก้]
ป่าทือริงเงินในฤดูหนาว

รัฐทือริงเงินมีอาณาเขตติดต่อนับจากทิศตะวันตกเฉียงเหนือเรียงตามเข็มนาฬิกาดังนี้ รัฐนีเดอร์ซัคเซิน ซัคเซิน-อันฮัลท์ ซัคเซิน บาวาเรีย และเฮ็สเซิน โดยรัฐนีเดอร์ซัคเซินมีแนวเขาฮาร์ซ ฝั่งตะวันตกแบ่ง รัฐซัลเซิน-อันฮัลท์ก็ถูกแบ่งโดยแนวเขาฮาร์ซฝั่งตะวันออก เขตติดต่อรัฐบาวาเรียที่อยู่ตอนใต้มีป่าทือริงเงินกั้น โดยแนวเขาฮาร์ซนี้ทอดยาวไปทางใต้จนถึงป่าทือริงเงิน ส่วนฝั่งตะวันออกของรัฐเป็นที่ราบ แม่น้ำที่สำคัญของรัฐได้แก่ แม่น้ำแวร์รา (Werra) ที่เป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำเวเซอร์ และแม่น้ำซาเลอ (Saale) ที่ไหลจากทิศใต้สู่เหนือผ่านที่ราบฝั่งตะวันออก

จุดกึ่งกลางของเยอรมนีตั้งอยู่ในรัฐทือริงเงิน ซึ่งอยู่บริเวณเทศบาลนีเดอร์ดอร์ลา

อาณาเขต

[แก้]

ภูมิอากาศ

[แก้]

รัฐทือริงเงินมีภูมิอากาศแบบอบอุ่นจากอิทธิพลของลมตะวันตกที่พัดนำความชื้นปกคลุม โดยเฉพาะลมจากทิศตะวันตกเฉียงเหนือไปยังทิศตะวันออกเฉียงใต้ สภาพภูมิอากาศแสดงลักษณะภาคพื้นทวีป ฤดูหนาวมีความหนาวเย็นเป็นเวลานาน และฤดูร้อนอบอุ่นขึ้น ช่วงเวลาที่แห้งแล้งได้รับการบันทึกบ่อยครั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแอ่งทือริงเงิน ซึ่งอับลมจากการมีภูเขาล้อมรอบในทุกทิศทาง เป็นพื้นที่ที่แห้งแล้งที่สุดของประเทศเยอรมนี โดยมีปริมาณน้ำฝนรายปีเพียง 400 ถึง 500 มิลลิเมตร

เมืองอาร์เทิร์นทางตะวันออกเฉียงเหนือมีอากาศอบอุ่นและแห้ง โดยมีอุณหภูมิเฉลี่ยต่อปี 8.5 °C และมีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 450 มม. แตกต่างกับเมืองโอแบร์โฮฟ ซึ่งอยู่ในป่าทือริงเงิน ที่เปียกชื้นและมีอากาศเย็นซึ่งมีอุณหภูมิเฉลี่ยเพียง 4.4 °C และปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยต่อปีสูงถึง 1,300 มม.

ข้อมูลภูมิอากาศของแอร์ฟวร์ท (ค.ศ. 1971–2000)
เดือน ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ทั้งปี
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) 2.2
(36)
3.2
(37.8)
7.8
(46)
12.2
(54)
17.5
(63.5)
20.1
(68.2)
22.5
(72.5)
22.7
(72.9)
18.3
(64.9)
12.7
(54.9)
6.4
(43.5)
3.4
(38.1)
12.4
(54.3)
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) -3.1
(26.4)
-2.9
(26.8)
0.3
(32.5)
2.8
(37)
7.1
(44.8)
10.2
(50.4)
12.1
(53.8)
12.0
(53.6)
9.1
(48.4)
5.1
(41.2)
0.9
(33.6)
-1.5
(29.3)
4.3
(39.7)
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว) 24.7
(0.972)
23.8
(0.937)
35.5
(1.398)
40.3
(1.587)
54.8
(2.157)
60.8
(2.394)
62.5
(2.461)
52.8
(2.079)
40.5
(1.594)
36.8
(1.449)
37.5
(1.476)
31.5
(1.24)
501.5
(19.744)
วันที่มีหยาดน้ำฟ้าโดยเฉลี่ย (≥ 1.0 mm) 7.0 6.7 8.3 7.9 8.5 10.0 8.7 8.3 7.4 6.9 7.8 7.6 95.1
แหล่งที่มา: องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก[6]

เขตปกครอง

[แก้]
แผนที่การแบ่งเขตปกครองของรัฐทือริงเงิน

รัฐทือริงเงินแบ่งเขตปกครองชนิดอำเภอ (Landkreis) จำนวน 17 อำเภอ ได้แก่

หมายเลข อำเภอ ที่ตั้งศูนย์กลางบริหาร พื้นที่
(ตร.กม.)
ประชากร
(2015)[4]
ความหนาแน่น
(คน/ตร.กม.)
1 ไอชส์เฟลด์
(Eichsfeld)
ไฮล์บาดไฮลิเกนชตัดท์
(Heilbad Heiligenstadt)
940.06 101,325 108
2 นอร์ดเฮาเซิน
(Nordhausen)
นอร์ดเฮาเซิน
(Nordhausen)
711.00 85,355 120
3 อุนชตรูท-ไฮนิช-ไครส์
(Unstrut-Hainich-Kreis)
มึลเฮาเซิน
(Mühlhausen)
975.53 105,273 108
4 คึฟฮอยเซอร์ไครส์
(Kyffhäuserkreis)
ซอนเดอร์สเฮาเซิน
(Sondershausen)
1,035.16 77,110 74
5 เซิมแมร์ดา
(Sömmerda)
เซิมแมร์ดา
(Sömmerda)
804.20 70,600 88
7 วาร์ทบวร์คไครส์
(Wartburgkreis)
บาดซัลซุงเงิน
(Bad Salzungen)
1,304.86 125,655 96
8 โกทา
(Gotha)
โกทา
(Gotha)
935.61 136,831 146
11 ไวมาเรอร์ลันด์
(Weimarer Land)
อะโพลดา
(Apolda)
803.04 82,127 102
13 ซาเลอ-โฮลส์ลันด์-ไครส์
(Saale-Holzland-Kreis)
ไอเซนแบร์ก
(Eisenberg)
816.97 86,184 105
14 ไกรซ์
(Greiz)
ไกรซ์
(Greiz)
843.52 101,114 120
16 อัลเทนบูร์เกอร์ลันด์
(Altenburger Land)
อัลเทินบวร์ค
(Altenburg)
569.08 92,344 162
17 ชมาลคัลเดิน-ไมนิงเงิน
(Schmalkalden-Meiningen)
ไมนิงเงิน
(Meiningen)
1,210.14 124,623 103
19 อิลม์-ไครส์
(Ilm-Kreis)
อาร์นชตัดท์
(Arnstadt)
843.14 109,620 130
20 ซาลเฟลด์-รูดอลชตัดท์
(Saalfeld-Rudolstadt)
ซาลเฟลด์
(Saalfeld)
1,034.58 109,278 106
21 ซาเลอ-ออร์ลา-ไครส์
(Saale-Orla-Kreis)
ชไลซ์
(Schleiz)
1,148.47 82,951 72
22 (เขียว) ฮิลด์บวร์คเฮาเซิน
(Hildburghausen)
ฮิลด์บวร์คเฮาเซิน
(Hildburghausen)
937.37 64,524 69
22 (แดง) ซอนเนแบร์ก
(Sonneberg)
ซอนเนแบร์ก
(Sonneberg)
433.49 56,818 131

และมีเขตปกครองชนิดเมือง (kreisfreie Stadt) จำนวน 6 เมือง ได้แก่

หมายเลข เมือง พื้นที่
(ตร.กม.)
ประชากร
(2015)[4]
ความหนาแน่น
(คน/ตร.กม.)
6 ไอเซนัค (Eisenach) 103.84 42,417 408
9 แอร์ฟวร์ท (Erfurt) 269.17 210,118 781
10 ไวมาร์ (Weimar) 84.26 64,131 761
12 เยนา (Jena) 114.29 109,527 958
15 เกรา (Gera) 151.93 96,011 632
18 ซูล (Suhl) 102.70 36,778 358

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Bevölkerung der Gemeinden, erfüllenden Gemeinden und Verwaltungsgemeinschaften in Thüringen Gebietsstand: 31.12.2020". Thüringer Landesamt für Statistik (ภาษาเยอรมัน). June 2021.
  2. "Bruttoinlandsprodukt – in jeweiligen Preisen – 1991 bis 2019". statistik-bw.de (ภาษาเยอรมัน).
  3. 3.0 3.1 "ประกาศสำนักงานราชบัณฑิตยสภา เรื่อง กำหนดชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครอง และเมืองหลวง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 139 (พิเศษ 205 ง). 1 กันยายน 2565.
  4. 4.0 4.1 4.2 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Population2017
  5. Verein Fur Naturkunde, Kassel (2009-07-30). A. Trinius (1898). สืบค้นเมื่อ 2014-02-21.
  6. "World Weather Information Service - Erfurt". World Meteorological Organization. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-01-23. สืบค้นเมื่อ 22 January 2013.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]