ทำเนียบเซนต์แอนดรูส์
ทำเนียบเซนต์แอนดรูส์ | |
---|---|
St. Andrew's House Taigh Naoimh Anndra | |
![]() ภาพมุมสูงด้านหน้าของทำเนียบเซนต์แอนดรูส์ | |
![]() | |
ข้อมูลทั่วไป | |
สถานะ | เสร็จสมบูรณ์ |
ประเภท | สถานที่ราชการ |
สถาปัตยกรรม | อลังการศิลป์ |
ที่อยู่ | 2 ถนนรีเจนต์ EH1 3DG |
เมือง | เอดินบะระ |
ประเทศ | สกอตแลนด์ |
พิกัด | 55°57′12.15″N 3°11′2.75″W / 55.9533750°N 3.1840972°W |
ผู้เช่าในปัจจุบัน | รัฐบาลสกอต |
เริ่มสร้าง | 1935 |
เปิดใช้งาน | กันยายน 1939 |
ปรับปรุง | 2001 |
ค่าก่อสร้าง | £433,200 |
เจ้าของ | รัฐบาลสกอต |
ข้อมูลทางเทคนิค | |
วัสดุ | เหล็กกล้าที่มีกำแพงกันดินสร้างโดยใช้คอนกรีตเสริมเหล็กและปิดด้วยหินทรายดาร์นีย์ |
จำนวนชั้น | 8 |
การออกแบบและการก่อสร้าง | |
สถาปนิก | โทมัส เอส. เทต |
บริษัทออกแบบ | เบอร์เน็ต เทต แอนด์ลอร์น |
ผู้พัฒนาโครงการ | สำนักสกอตติช |
ผู้ออกแบบผู้อื่น | เซอร์วิลเลียม รีด ดิก, อเล็กซานเดอร์ แคร์ริก, ฟิลลิส โบน, วอลเตอร์ กิลเบิร์ต โทมัส แฮดเดน |
อ้างอิง | |
Dictionary of Scottish Architects |
ทำเนียบเซนต์แอนดรูส์ (อังกฤษ: St Andrew's House) ตั้งอยู่ทางด้านใต้ของคอลตันฮิลล์ ในตอนกลางของเอดินบะระ อาคารนี้เป็นสถานที่ทำงานของรัฐบาลสกอต[1] อาคารนี้ตั้งอยู่บนจุดที่เคยเป็นคุกคอลตันในอดีต[2] ในปัจจุบันมีเพียงทำเนียบผู้ว่าการที่มีป้อมปืนใหญ่เท่านั้นที่เหลือจากคุกคอลตันในอดีต อาคารดังกล่าวตั้งอยู่ติดกับสุสานคอลตันเก่าและอนุสาวรีย์มรณสักขีทางการเมือง
อาคารนี้ได้รับการประกาศเป็นสิ่งก่อสร้างภายใต้การพิทักษ์ประเภท A อาคารนี้ได้รับอิทธิพลจากสถาปัตยกรรมแบบอลังการศิลป์ และตั้งอยู่ใกล้สถานีรถไฟเวเวอร์รีและสวนโฮลีรูด
การก่อสร้าง
[แก้]![](http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/5/5f/Edinburgh_from_Calton_Hill_2.jpg/220px-Edinburgh_from_Calton_Hill_2.jpg)
อาคารนี้ออกแบบโดยโทมัส เอส. เทต แห่งเบอร์เน็ต เทต แอนด์ลอร์น ซึ่งชนะการประกวดออกแบบอาคารนี้ การก่อสร้างเริ่มขึ้นในเดือนพฤศจิกายน 1935 และเสร็จสิ้นในปี 1939 ตอนแรกอาคารนี้เป็นอาคารสำนักงานของสำนักสกอตติชรวมไปถึงเสนาบดีใหญ่ฝ่ายสกอตแลนด์ ด้านหน้าอาคารมีประติมากรรมที่ออกแบบโดยจอห์น มาร์แชล[3]
อาคารนี้สร้างขึ้นเพราะนโยบายกระจายอำนาจบริหาร (แต่ไม่กระจายอำนาจนิติบัญญัติ) จากลอนดอนให้สกอตแลนด์อย่างจำกัดหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง อาคารนี้เปิดให้ใช้งานครั้งแรกวันจันทร์ ที่ 4 กันยายน 1939 (หนึ่งวันหลังการประกาศสงคราม) พระราชพิธีเปิดที่วางแผนว่าจะขึ้นในวันที่ 12 ตุลาคม ปีเดียวกัน ถูกยกเลิกเพราะสงคราม อาคารนี้มีพระราชพิธีเปิดโดยพระเจ้าจอร์จที่ 6และพระราชินีเอลิซาเบธ พระราชชนนีในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 1940
สถาปัตยกรรม
[แก้]![](http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/4/42/StAndrewsHouse-Edinburgh.jpg/200px-StAndrewsHouse-Edinburgh.jpg)
ในด้านสถาปัตยกรรมอาคารนี้เป็นอาคารเสาหินที่สมมาตรและแสดงออกยับยั้งในฉากหน้าลวงฝั่งเหนือ ส่วนในฝั่งใต้อาคารมีลักษณะไม่เป็นรูปแบบมากขึ้นและมีการแสดงออกที่โรแมนติกมากขึ้น อาคารนี้ได้รับอิทธิพลจากสถาปัตยกรรมแบบอลังการศิลป์เป็นอย่างมาก
การออกแบบของเทตมีการใช้องค์ประกอบของอลังการศิลป์และสตรีมไลน์มอเดิร์น ทำให้อาคารนี้เป็นที่จดจำว่าเป็นตัวอย่างของการออกแบบสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ที่คำนึงถึงสภาพแวดล้อมโดยรอบในเอดินบะระ[4]
อาคารนี้มีการตกแต่งโดยใช้ประติมากรรมเป็นจำนวนมาก ซึ่งประติมากรรมพวกนี้ก็อยู่รูปแบบของอลังการศิลป์ โดยมีประติมากรหลายคนร่วมในการทำได้แก่ เซอร์วิลเลียม รีด ดิก ซึ่งออกแบบรูปปั้นเชิงสัญลักษณ์ อเล็กซานเดอร์ แคร์ริกและฟิลลิส โบน ซึ่งออกแบบสิ่งที่เกี่ยวกับมุทราศาสตร์ วอลเตอร์ กิลเบิร์ต ซึ่งออกแบบประตูสัมฤทธิ์ขนาดใหญ่ และสร้างโดยเอช. เอช. มาร์ติน และโทมัส แฮดเดน ซึ่งออกแบบประตูอื่น ๆ และบันได[5]
ทำเนียบเซนต์แอนดรูส์ได้รับการประกาศเป็นสิ่งก่อสร้างภายใต้การพิทักษ์ประเภท A
การใช้ในราชการ
[แก้]![](http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/c/ce/Drawing_4_%283829672250%29.jpg/220px-Drawing_4_%283829672250%29.jpg)
ตอนแรกทำเนียบเซนต์แอนดรูส์ได้รับการออกแบบและก่อสร้างให้เป็นอาคารสำนักงานของสำนักสกอตติช แต่หลังจากการผ่าน พระราชบัญญัติสกอตแลนด์ ค.ศ. 1998 ในปี 1999 อาคารนี้ก็ใช้เป็นอาคารสำนักงานของรัฐบาลสกอตบางส่วน เช่น สำนักงานของมุขมนตรีสกอตแลนด์และรองมุขมนตรีสกอตแลนด์ รวมไปถึงสำนักงานส่วนตัวของเสนาบดีในคณะรัฐมนตรีทุกคน และของกรมต่าง ๆ อาคารได้รับการปรับปรุงขนานใหญ่ในปี 2001 แต่ถึงกระนั้นฉากหน้าลวงก็ยังมีคราบเขม่าติดอยู่ ในปัจจุบันอาคารนี้จุข้าราชการได้ 1,400 คนและมี 8 ชั้น[6]
![](http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/0/0b/St_Andrew%E2%80%99s_house_-_Main_entrance.jpg/220px-St_Andrew%E2%80%99s_house_-_Main_entrance.jpg)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "St Andrew's House". Scottish Government. สืบค้นเมื่อ 4 February 2016.
- ↑ "Locations - St Andrew's House - Calton jail". Scottish Government. สืบค้นเมื่อ 4 February 2016.
- ↑ Webmaster, Tim Gardner -. "John Marshall (1888-1952), sculptor, a biography". www.glasgowsculpture.com.
- ↑ Glancey, Jonathan (1998). C20th Architecture: The Structures that Shaped the Century. Carlton Books. ISBN 0-87951-912-6.
- ↑ "Scottish Office buildings". Dictionary of Scottish Architects. สืบค้นเมื่อ 2008-11-20.
- ↑ "REGENT ROAD, ST ANDREW'S HOUSE INCLUDING BOUNDARY WALL, LAMP STANDARDS AND GATES (LB27756)". portal.historicenvironment.scot. สืบค้นเมื่อ 2021-01-11.
Central 8-storey, 9-bay block with flanking 6-storey stair towers and 3-storey and recessed-attic wings.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]![](http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/4/4a/Commons-logo.svg/30px-Commons-logo.svg.png)