วิกิพีเดีย:ทดลองเขียน
![]() | ยินดีต้อนรับสู่หน้าทดลองเขียน! พื้นที่เพื่อทดลองเขียนหรือแก้ไขวิกิพีเดีย
ในการแก้ไขหน้าทดลองเขียนนี้ คุณสามารถแก้ไขรหัสต้นฉบับ (แถบ "แก้ไขต้นฉบับ" ด้านบน) แล้วทำการเปลี่ยนแปลง และคลิกปุ่ม "เผยแพร่การเปลี่ยนแปลง" เมื่อเสร็จสิ้น คุณสามารถคลิก "แสดงตัวอย่าง" เพื่อดูตัวอย่างของหน้าที่คุณกำลังบันทึก หรือ "แสดงการเปลี่ยนแปลง" เพื่อดูการเปลี่ยนแปลงจากรุ่นเดิม ไม่ว่าผู้ใช้ใดก็สามารถแก้ไขหน้านี้และมีการเก็บกวาดอัตโนมัติเป็นประจำ (สิ่งที่คุณเขียนจะไม่อยู่ถาวร) หากคุณล็อกอิน คุณสามารถเข้าถึงหน้าทดลองเขียนส่วนตัวของคุณ (ลิงก์ "ทดลองเขียน" ที่อยู่บนสุดของทุกหน้า อยู่ถัดจากชื่อผู้ใช้ของคุณ) กรุณาอย่าใส่เนื้อหาซึ่งละเมิดลิขสิทธิ์ ก้าวร้าวหรือหมิ่นประมาทในหน้าทดลองเขียนนี้ สำหรับสารสนเทศและทรัพยากรพื้นฐานที่จำเป็นต่อการเข้าใจ ออกความเห็นและแก้ไขวิกิพีเดีย ดู การเข้ามีส่วนร่วมในวิกิพีเดีย |
![]() | นี่คือบทความฉบับร่างซึ่งเปิดโอกาสให้ทุกคนสามารถแก้ไขได้ โปรดตรวจสอบว่าเนื้อหามีลักษณะเป็นสารานุกรมและมีความโดดเด่นควรแก่การรู้จักก่อนที่จะเผยแพร่เป็นบทความลงในวิกิพีเดีย กรุณาอดทนรอผู้เขียนคนอื่นมาช่วยตรวจให้ อย่าย้ายหน้าไปเป็นบทความเองโดยพลการ ค้นหาข้อมูล: Google (books · news · newspapers · scholar · free images · WP refs) · FENS · JSTOR · NYT · TWL สำคัญ: ถ้าลบป้ายนี้ออกจะทำให้บันทึกหน้าไม่ได้ ผู้แก้ไขหน้านี้คนล่าสุด คือ 2001:FB1:C9:FDC5:FD4F:B7A:F010:E4EC (พูดคุย | เรื่องที่เขียน) เมื่อ 3 วันก่อน (ล้างแคช) |
เมดอินไชนา 2025 (Made in China 2025; ย่อ: MIC25,[1] MIC 2025,[2] หรือ MIC2025; จีน: 中国制造2025; พินอิน: Zhōngguózhìzào èrlíng'èrwǔ)[3][4] เป็นแผนงานเชิงกลยุทธ์และนโยบายทางอุตสาหกรรมระดับชาติ[5] เพื่อมุ่งพัฒนาภาคการผลิตของจีน แผนงานดังกล่าวได้รับการลงนามโดยหลี่ เค่อเฉียง นายกรัฐมนตรีจีนในเดือนพฤษภาคม 2558[6] แผนพัฒนานี้เป็นส่วนหนึ่งของแผนงานห้าปีฉบับที่สิบสามและสิบสี่ เพื่อให้จีนมุ่งเน้นจากการหลุดจากการเป็น "โรงงานแห่งโลก" ซึ่งหมายถึงผู้ผลิตสินค้าเทคโนโลยีต่ำโดยอาศัยค่าแรงงานที่ถูกกว่าและความได้เปรียบในระบบห่วงโซ่อุปทาน นโยบายทางอุตสาหกรรมนี้มุ่งเน้นการเพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการผลิตในอุตสาหกรรมจีนจากโรงผลิตที่เน้นการผลิตโดยแรงงาน ไปเป็นผู้นำการผลิตที่มุ่งเน้นทางเทคโนโลยีและการเพิ่มมูลค่าเพิ่ม[7]
เป้าหมายของเมดอินไชนา 2025 รวมถึงการเพิ่มจำนวนการผลิตสิ่งที่นำมาเป็นวัสดุสำคัญในประเทศจีนให้เป็นร้อยละ 40 ในปี 2563 และให้ถึงร้อยละ 70 ในปี 2568[8] เพื่อให้จีนมีความเป็นอิสระจากผู้จัดส่งสินค้าจากต่างประเทศ นโยบายดังกล่าวมุ่งส่งเสริมให้มีการผลิตในภาคผลิตภัณฑ์และบริการทางเทคโนโลยีขั้นสูง โดยมีศูนย์กลางของแผนงานอุตสาหกรรมอยู่ที่อุตสาหกรรมสารกึ่งตัวนำ ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นเพราะความก้าวหน้าในเทคโนโลยีชิปอาจทำให้ "เกิดการค้นพบใหม่ ๆ ในเทคโนโลยีแขนงอื่น ๆ ทำให้ผู้ที่มีชิปที่ดีที่สุดมีความได้เปรียบ ซึ่งเป็นความได้เปรียบที่ปักกิ่งยังไม่สามารถเอื้อมถึงได้ในปัจจุบัน"[4][9][10][11]
ตั้งแต่ปี 2561 จากการที่สหรัฐอเมริกา ยุโรปและประเทศอื่น ๆ มีข้อวิพากย์วิจารณ์แผนงานดังกล่าว วลี "MIC 2025" ได้มีการลดทอนความสำคัญลงในระดับรัฐบาลและการสื่อสารอย่างเป็นทางการอื่น ๆ[12][13] แต่นโยบายดังกล่าวยังคงดำเนินอยู่ต่อไป รัฐบาลจีนยังคงมุ่งเน้นการลงทุนในเทคโนโลยีที่ระบุว่าเป็นส่วนสำคัญอยู่[12] โดยในปี 2561 เอง รัฐบาลจีนให้คำมั่นว่าจะลงทุนเป็นจำนวนเงินกว่า 300,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐเพื่อให้บรรลุแผนงานทางเศรษฐกิจนี้ [11] ผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโคโรนาไวรัส 2019 ทำให้มีการลงทุนเพิ่มลงไปในแผนงาน MIC 2025 อีกไม่น้อยกว่า 1.4 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ[14] ความที่ประเทศจีนยังคงมีสถานะประเทศที่มีรายได้ปานกลางอยู่ จึงมีการวิพากษ์วิจารณ์ถึงการลงทุนเพื่อให้เกิดการพัฒนาทางเทคโนโลยีใหม่ ๆ ในลักษณะที่ไม่อาจสมเหตุผลและไม่อาจปฏิบัติได้จริง[15]
ในเดือนตุลาคม 2567 สำนักข่าวบลูมเบิร์กได้เผยแพร่บทความหัวข้อ "ความพยายามของสหรัฐในการต้านทานแรงขับเคลื่อนของสี จิ้นผิงในการเป็นผู้นำทางเทคโนโลยีกำลังเสื่อมถอยลง" โดยบทความชี้ให้เห็นว่าแผนงาน "เมดอินไชนา 2025" ประสบความสำเร็จเป็นส่วนมาก เนื่องจากจีนสามารถกลายมาเป็นผู้นำในเทคโนโลยี 5 ประการจาก 13 ประการสำคัญ ซึ่งรวมถึงรถไฟความเร็วสูง แกรฟีน อากาศยานไร้คนขับ แผงพลังงานแสงอาทิตย์ และรถยนต์ไฟฟ้าและแบตเตอรี่ลิเธียม รวมถึงยังมีความก้าวหน้าอย่างรวดเร็วในอีกเจ็ดสาขาอื่น ๆ บทความดังกล่าวชี้ให้เห็นว่าจีนกำลังมีอิทธิพลเพิ่มสูงขึ้นในอุตสาหกรรมที่จำเป็นอย่างยิ่งต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ[16]
- ↑ "What is the 2019 biggest tech trend in China?". Red Digital. July 16, 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-02-06. สืบค้นเมื่อ November 12, 2020.
- ↑ "Made in China 2025: The Industrial Plan that China Doesn't Want Anyone Talking About". PBS. May 7, 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-11-07. สืบค้นเมื่อ November 12, 2020.
- ↑ Made in China 2025 เก็บถาวร ธันวาคม 29, 2018 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. CSIS, June 1, 2015.
- ↑ 4.0 4.1 Chan, Elaine (September 24, 2020). "'Made in China 2025': how new technologies could help Beijing achieve its dream of becoming a semiconductor giant". South China Morning Post. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-11-11. สืบค้นเมื่อ November 11, 2020.
- ↑ "Made in China 2025: Global Ambitions Built on Local Protections" (PDF). United States Chamber of Commerce. March 16, 2017. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ November 1, 2020. สืบค้นเมื่อ June 30, 2021.
- ↑ "Made in China 2025" plan unveiled to boost manufacturing เก็บถาวร กรกฎาคม 25, 2018 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. China News Service, May 2015.
- ↑ "China to invest big in 'Made in China 2025' strategy". english.gov.cn. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-01-11. สืบค้นเมื่อ 2019-01-10.
- ↑ Curran, Enda (February 15, 2017). "From 'Made in China' to 'Made by China for China'". Bloomberg News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 11, 2020. สืบค้นเมื่อ May 27, 2024.
- ↑ "China memory chip output zooms from zero to 5% of world total". Nikkei Asia. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-03-29. สืบค้นเมื่อ 2020-04-13.
- ↑ "Taiwan loses 3,000 chip engineers to 'Made in China 2025'". Nikkei Asia. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-03-28. สืบค้นเมื่อ 2020-04-13.
- ↑ 11.0 11.1 Fang, Jason; Walsh, Michael (April 29, 2018). "What is Made in China 2025 and why is the world concerned about it?". ABC News (ภาษาอังกฤษแบบออสเตรเลีย). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-01-10. สืบค้นเมื่อ 2019-01-10.
- ↑ 12.0 12.1 Doshi, Rush (July 31, 2020). "The United States, China, and the contest for the Fourth Industrial Revolution". Brookings Institution (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-11-02. สืบค้นเมื่อ 2020-10-31.
- ↑ "Beijing eases back on 'Made in China 2025' amid trade talks with U.S." Reuters (ภาษาอังกฤษ). December 13, 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-11-05. สืบค้นเมื่อ 2020-10-31.
- ↑ "Analysis | China Is Winning the Trillion-Dollar 5G War". Washington Post (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0190-8286. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-11-09. สืบค้นเมื่อ 2023-05-03.
- ↑ Magnier, Mark (March 7, 2017). "China's Latest Industrial Policy Is a Waste and a Challenge, Business Group Says". The Wall Street Journal. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 14, 2021. สืบค้นเมื่อ March 18, 2021.
- ↑ "US Efforts to Contain Xi's Push for Tech Supremacy Are Faltering". Bloomberg.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2024-10-31.