บันยัน
บันยัน | |
---|---|
ใบของนิโครธ (Ficus benghalensis) | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Plantae |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Angiosperms |
หมวด: | Magnoliophyta |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Eudicots |
ชั้น: | Magnoliopsida |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Rosids |
อันดับ: | Rosales |
วงศ์: | Moraceae |
สกุล: | Ficus |
สกุลย่อย: | Urostigma |
ชนิด | |
มากมาย พบในประเทศไทยประมาณ 45 ชนิด |
บันยัน (อังกฤษ: banyan, banyan tree, banian) เป็นสกุลย่อยของไม้ในสกุล Ficus โดยจัดอยู่ในสกุลย่อย Urostigma ในวงศ์ Moraceae (โดยปกติแล้วจะหมายถึง นิโครธ (F. benghalensis)) ซึ่งเป็นต้นไม้ประจำชาติอินเดีย[1]
ลักษณะส่วนใหญ่ของไม้ในสกุลย่อยนี้ คือ ส่วนใหญ่เป็นแบบกึ่งอิงอาศัย มีรากอากาศ ไม่มีรากตามข้อ ดอกแยกเพศร่วมต้น แผ่นใบด้านล่างมีต่อมไขที่โคนเส้นกลางใบ 1 ต่อมฟิกส์เกลี้ยง ออกเป็นคู่หรือออกเดี่ยว ๆ ตามซอกใบหรือตามกิ่ง พบน้อยออกตามลำต้น ใบประดับที่โคน 2-3 ใบ ไม่มีใบประดับด้านข้าง ช่องเปิดมีใบประดับ 2-5 ใบ ปิดด้านบน ดอกเพศผู้เรียงกระจัดกระจายระหว่างดอกเพศเมีย หรืออยู่ใกล้ช่องเปิด กลีบรวม 3-5 กลีบ เกสรเพศผู้ 1 อัน ยอดเกสรเพศเมียส่วนมากมี 1 อัน มีหลากหลายชนิด พบในประเทศไทยประมาณ 45 ชนิด นอกจากนิโครธแล้ว เช่น ไทรย้อยใบแหลม (Ficus benjamin), โพ (F. religiosa), ไทรย้อยใบทู่ (F. microcarpa) เป็นต้น[2]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ National Tree". Government of India Official website.
- ↑ "ไทร, สกุล". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-08-06. สืบค้นเมื่อ 2012-11-15.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- รูปถ่าย 360° เก็บถาวร 2023-01-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน