ข้ามไปเนื้อหา

คันทรี (แนวดนตรี)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ดนตรีคันทรี)

ดนตรีคันทรี (อังกฤษ: country music) เป็นแนวเพลงที่มีต้นกำเนิดจากภาคใต้และตะวันตกเฉียงใต้ของสหรัฐอเมริกา เริ่มมีการผลิตขึ้นครั้งแรกในช่วงทศวรรษ 1920 โดยดนตรีคันทรีมุ่งเน้นไปที่การขับร้องเรื่องราวเกี่ยวกับชีวิตของชนชั้นแรงงานและผู้ใช้แรงงานในอเมริกาเป็นหลัก[1]

ดนตรีคันทรีเป็นที่รู้จักในด้านเพลงบัลลาดและเพลงเต้นรำ (เช่น "ฮองกีทองก์มิวสิก") ซึ่งมีรูปแบบที่เรียบง่าย เนื้อเพลงแนวพื้นบ้าน และการประสานเสียง มักมาพร้อมกับเครื่องดนตรี เช่น แบนโจ ฟิดเดิล หีบเพลงปาก และกีตาร์หลากหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็นกีตาร์โปร่ง กีตาร์ไฟฟ้า กีตาร์เหล็ก และกีตาร์เรโซเนเตอร์[2][3][4] แม้ว่าดนตรีคันทรีจะมีรากฐานหลักมาจากดนตรีโฟล์กของอเมริกาหลายรูปแบบ เช่น ดนตรีโอลด์ไทม์ และดนตรีแอปพาเลเชียน[5][6] แต่แนวเพลงนี้ก็ได้รับอิทธิพลสำคัญจากประเพณีดนตรีอื่น ๆ เช่น ดนตรีเม็กซิกัน ไอริช และฮาวาย[7] นอกจากนี้ โหมดบลูส์จากดนตรีบลูส์ยังถูกนำมาใช้ตลอดประวัติศาสตร์ของดนตรีคันทรีอีกด้วย[8]

ดนตรีคันทรีเคยถูกเรียกว่า "ดนตรีฮิลบิลลี" ก่อนที่คำว่า "คันทรีมิวสิก" จะได้รับความนิยมในช่วงทศวรรษ 1940 แนวเพลงนี้ได้รวมดนตรีเวสเทิร์นเข้าไปด้วย ซึ่งพัฒนาเคียงข้างกับดนตรีฮิลบิลลีจากรากฐานที่คล้ายกันในช่วงกลางศตวรรษที่ 20 แนวดนตรีเวสเทิร์นร่วมสมัย ได้แก่ เท็กซัสคันทรี เรดเดิร์ต และดนตรีที่ได้รับอิทธิพลจากชาวสเปนและเม็กซิกัน-อเมริกัน เช่น เทฆาโน (Tejano) และดนตรีนิวเม็กซิโก ซึ่งยังคงดำรงอยู่ควบคู่ไปกับวัฒนธรรมดั้งเดิมของชนพื้นเมือง[9][10]

ในปี 2009 ดนตรีคันทรีเป็นแนวเพลงที่มีผู้ฟังมากที่สุดในช่วงเวลาเร่งด่วนยามเย็นทางสถานีวิทยุของสหรัฐอเมริกา และเป็นแนวเพลงที่ได้รับความนิยมเป็นอันดับสองในช่วงเวลาเร่งด่วนยามเช้า[11]

ต้นกำเนิด

[แก้]

องค์ประกอบหลักของดนตรีคันทรีสมัยใหม่มีรากฐานมาจากประเพณีดนตรีในภาคใต้และตะวันตกเฉียงใต้ของสหรัฐอเมริกา โดยดนตรีคันทรีเริ่มเป็นที่ยอมรับในวงการเพลงป็อปของอเมริกาในช่วงปี 1920 ซึ่งเป็นยุคแรกของการบันทึกเสียง[12] ตามที่นักประวัติศาสตร์ดนตรีคันทรี บิล ซี. มาโลน กล่าวไว้ว่า ดนตรีคันทรีถูก "แนะนำให้โลกได้รู้จักในฐานะปรากฏการณ์ของภาคใต้"[13]

การอพยพเข้าสู่เทือกเขาแอปพาเลเชียนทางตอนใต้ของสหรัฐอเมริกาตะวันออกเฉียงใต้ได้นำเอาดนตรีโฟล์กและเครื่องดนตรีจากยุโรปและบริเวณเมดิเตอร์เรเนียนมาด้วยเป็นเวลากว่า 300 ปี และพัฒนากลายเป็นดนตรีแอปพาเลเชียน เมื่อประเทศขยายตัวไปทางตะวันตก แม่น้ำมิสซิสซิปปีและรัฐลุยเซียนากลายเป็นจุดเชื่อมโยงของดนตรีคันทรี ก่อให้เกิดดนตรีเคจุน (Cajun music) ในภาคตะวันตกเฉียงใต้ของสหรัฐอเมริกา เทือกเขาร็อกกี ดินแดนชายแดนอเมริกัน และแม่น้ำรีโอแกรนด์ได้เป็นฉากหลังของบทเพลงของชนพื้นเมืองอเมริกัน เพลงเม็กซิกัน และเพลงคาวบอย ซึ่งนำไปสู่การพัฒนาดนตรีนิวเม็กซิโก และดนตรีเวสเทิร์น ซึ่งมีความเชื่อมโยงโดยตรงกับแนวดนตรี เรดเดิร์ต เท็กซัสคันทรี และเทฆาโน ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เสียงกีตาร์เหล็กที่เป็นเอกลักษณ์ของดนตรีคันทรีมีต้นกำเนิดจากดนตรีฮาวาย[14][15]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Fox, A.A. (2004). Real Country: Music and Language in Working-Class Culture. Duke University Press. ISBN 978-0-8223-3348-7. สืบค้นเมื่อ December 3, 2022.
  2. "Country music – Definition". Dictionary.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 7, 2020. สืบค้นเมื่อ October 30, 2011.
  3. "Country music – Definition". Oxford Dictionaries. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 9, 2011. สืบค้นเมื่อ October 30, 2011.
  4. "WordWeb: Free English dictionary and thesaurus download". Wordweb.info. สืบค้นเมื่อ December 6, 2023.
  5. Duncan, Dayton; Burns, Ken; Steisel, Susanna; Shumaker, Susan; Baucom, Pam Tubridy; Mosher, Emily; Hinders, Maggie (2019). Country music. New York. ISBN 978-0-525-52054-2. OCLC 1057241126.
  6. Anderson, K. (2020). Traditional Country & Western Music. Images of America. Arcadia Publishing Incorporated. ISBN 978-1-4396-7153-5. สืบค้นเมื่อ December 3, 2022.
  7. Egge, Sara (March 19, 2017). "The Origins of Country Music". Centre College's Norton Center For The Arts. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 3, 2022. สืบค้นเมื่อ December 3, 2022.
  8. Ripani, Richard J. (August 1, 2006). The New Blue Music: Changes in Rhythm & Blues, 1950–1999. Wm. B. Eerdmans Publishing. p. 22. ISBN 978-1-57806-861-6.
  9. Trevino, G. (2002). Dance Halls and Last Calls: A History of Texas Country Music. Taylor Trade Publishing. ISBN 978-1-4616-6184-9. สืบค้นเมื่อ December 3, 2022.
  10. Stefano, Michelle (June 8, 2020). "Live! In the Archive: an Interview with Lone Piñon - Folklife Today". Library of Congress Blogs. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 24, 2022. สืบค้นเมื่อ December 3, 2022.
  11. AARP Bulletin. Vol. 53 No. 1. "50 Minutes on the Road." Betsy Tower. Page 50, citing Commuting in America III and Arbitron.
  12. Peterson, Richard A. (December 15, 1999). Creating Country Music: Fabricating Authenticity. University of Chicago Press. p. 9. ISBN 978-0-226-66285-5.
  13. Malone, Bill. Country Music U.S.A. Austin: University of Texas Press, 2002. Print.
  14. "How Hawaiian Music Influenced Country Music". Tiki with Ray. February 22, 2018. สืบค้นเมื่อ November 29, 2022.
  15. Shah, Haleema (April 25, 2019). "How the Hawaiian Steel Guitar Changed American Music". Smithsonian Magazine. สืบค้นเมื่อ December 3, 2022.